วันพฤหัสบดีที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2551

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงใช้ชีวิตส่วนใหญ่บนหลังม้า ชูดาบนำนักรบออกแนวหน้าปะทะข้าศึก ด้วยเลือด ด้วยเนื้อ และชีวิต เพื่อทำสงครามกอบกู้เอกราชให้แก่ชาติไทย ปลดปล่อยลูกหลานไทยหลุดพ้นจากการย้ำยีของพม่า จนบ้านเมืองเป็นปึกแผ่นสงบสุขมาถึงทุกวันนี้และยังสามารถขยายอาณาเขตไปประเทศราชที่ราชอาณาจักรอยุธยาตอนปลายไม่สามารถทำได้ มีอำนาจในหัวเมืองล้านนา หลวงพระบาง เวียงจันทน์ จำปาศักดิ์ และพื้นที่ครึ่งหนึ่งของกัมพูชา พระองค์ไม่เคยปริปากถึงความเหนื่อยยาก ไม่เคยโอ้อวด แต่ลงมือปฏิบัติจริง พระองค์เสียสละทุกสิ่งทุกอย่างให้แก่ประชาชนและแผ่นดินอันเป็นที่รักยิ่งของพระองค์จวบจนวาระสุดท้ายของชีวิต

พระราชประวัติ
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวในสมัยกรุงธนบุรี เสด็จพระราช สมภพ ณ วันที่ 17 เมษายน พุทธศักราช 2277 ตรงกับปีขาล ขึ้น 15 คํ่าเดือน 5 จุลศักราช 1096 ในแผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาที่ 3 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว บรมโกศ
มีหลักฐานว่าทรงเป็นสามัญชน กำเนิดในตระกูลแต้ มีพระนามเดิมว่า นายหยง แซ่แต้ (ระหว่างที่จำพรรษาอยู่ พระภิกษุด้วงได้มีโอกาสรู้จักเป็นมิตรกับพระภิกษุหยง)เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2277 ในแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา มีครอบครัวธรรมดาสามัญชนคู่หนึ่งคือ นายไหฮองและนางนกเอี้ยงผู้ภรรยา ฝ่ายสามีนั้นรับราชการในตำแหน่งนายอากรบ่อนเบี้ยเป็นครอบครัวที่มั่งคั่งครอบครัวหนึ่ง เป็นคนไทยที่มีเชื้อสายจากบรรพบุรุษฝ่ายบิดาเป็นชาวจีน ส่วนมารดาเป็นคนไทย ทั้งสองสามีภรรยาครองเรือนอยู่กินกันมาด้วยดี จนกระทั่งนางนกเอี้ยงตังครรภ์ใกล้กำหนดวันคลอด
วันนั้นตรงกับวันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน 2277 นางนกเอี้ยงผู้ภรรยามีอาการปวดครรภ์ใกล้จะคลอด ทุกคนบนเรือนต่างพากันตื่นเต้นนับตั้งแต่ข้าทาสบริวารตลอดจนเพื่อนบ้านใกล้เคียง โดยเฉพาะนายไหฮองหรือขุนพัฒน์นั้น จิตใจจดจ่อรอคอยการคลอดลูกในท้องของผู้เป็นภรรยาอย่างกระวนกระวายใจ ท่ามกลางใจจดใจจ่อรอคอยของทุกคน เบื้องบนท้องฟ้าแจ่มใสกลับมีหมู่เมฆม้วนตัวลอยลิ่วหลากสีแลดูแปลกตากว่าทุกครั้ง ใคร ๆ ในที่นั้นนั่งมองตากันด้วยความอัศจรรย์ใจที่สุด และแล้วเมื่อเวลาล่วงเลยมาชั่วครู่ เมฆฟ้าที่อึมครึมก็ปรากฎสายฟ้าผ่าลงมาที่เสาตั้งของบ้านหลังนั้น ฉับพลันทารกน้อยก็คลอดออกมาจากท้องของนางนกเอี้ยง ส่งเสียงร้องแข่งกับเสียงฟ้าที่ผ่ามาเมื่อสักครู่ ขณะนั้นตรงกับเวลา 5 โมงเช้า เดือน 7 ปีขาล ตรงกับจุลศักราช 1069 (พ.ศ. 2277) ฟ้าที่ฟ้าผ่าลงมากลางเรือนของขุนพัฒน์เป็นที่น่าสังเกตว่า ทำให้เกิดแสดงว่างวาบมีรัศมีแผ่กระจายไปทั่ว แต่ไม่มีใครได้รับอันตราย ลูกที่เกิดจากมารดานางนกเอี้ยงเป็นบุตรชาย มีลักษณะน่าประหลาด คือระหว่างสะดือถึงปลายเท้ามีความยาวเท่ากับจากสะดือถึงเชิงผมตรงหน้าผาก อันลักษณะเช่นนี้ตามตำราพรหมชาติของจีนกล่าวว่า ผู้ใดมีรูปร่างลักษณะเช่นนี้มีบุญวาสนามีอัจริยะที่สำคัญ จะได้เป็นใหญ่ในภายหน้า ซึ่งสร้างความภาคภูมิใจให้กับบิดาและมารดายิ่งนัก ตามธรรมเนียมเก่าแก่โบราณ ทารกที่เกิดใหม่จะถูกนำไปวางนอนอยู่ในกระด้ง ทั้งขุนพัฒน์และภรรยาก็ถือย่างนั้น นำบุตรชายวางไว้ในกระด้ง ตกวันที่ 3 ขณะที่ขุนพัฒน์หรือนายไหฮองกำลังนั่งใส่ฟืนหน้าตาไฟอยู่นั้น สายตาก็เหลือบเห็นงูใหญ่ตัวหนึ่ง มันเป็นงูเหลือมใหญ่ ไม่มีใครทราบว่าเข้ามาตอนไหน กำลังขดตัวชูคออยู่รอบกระด้งที่วางบุตรชายไว้ ขุนพัฒน์ถึงกับตกใจ นึกในใจว่าลูกคนนี้มีอะไรที่น่ากลัวเกินกำลังที่คนธรรมดาสามัญอย่างตนจะเลี้ยงไว้ได้เสียแล้ว จึงตัดสินใจนำบุตรชายมอบให้เจ้าพระยาจักรีนำเลี้ยงดูแทน
เจ้าพระยาจักรีขุนนางของกรุงศรีอยุธยาซึ่งมีบ้านพักอยู่ใกล้บ้านนายไหฮอง จึงได้ตั้งชื่อบุตรบุญธรรมว่า สิน เพราะตั้งแต่ได้บุตรบุญธรรมมา เจ้าพระยาจักรีมีความเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่ราชการและมีทรัพย์สินสมบัติเพิ่มพูนเป็นอันมาก เมื่ออายุได้ 4 ปี เจ้าพระยาจักรีนำบุตรบุญธรรม ไปเรียนหนังสือกับพระอาจารย์ทองดี ที่วัดโกษาวาส

เด็กชายสิน เป็นเด็กที่มีความเฉลียวฉลาดตั้งใจศึกษาเล่าเรียนเขียนอ่านกับพระอาจารย์ทองดี มีความขยันหมั่นเพียร ช่วยเหลือทำงานต่าง ๆ ในวัดได้ดี มีความคล่องแคล่วรวดเร็วกว่าเด็กทั่วไป ความเฉลียวฉลาดของเด็กชายสินที่มีมาแต่เล็ก เมื่อมีเวลาว่างก็ชักชวนศิษย์วัดไปเปิดบ่อนเล่นถั่วขึ้นในวัด ครั้นพระอาจารย์ทองดีเดินมาพบเข้าก็จับตัวมาสั่งสอนอบรม การฝึกอบรมสมัยโบราณนั้นนับว่าเคร่งครัดมาก เมื่อไต่สวนสืบความได้กระจ่างว่าเด็กชาย”สิน”เป็นตัวการชวนเพื่อนเล่นการพนันจึงลงโทษสถานหนักโดยนำไปมัดมือไว้ที่บันได ปล่อยให้แช่อยู่ในน้ำไว้สักพักใหญ่เพื่อให้เข็ดหลาบ พระอาจารย์ทองดีทำโทษแก่ลูกศิษย์สินเช่นนั้นแล้ว ก็มีเหตุติดพันให้ทำกิจอย่างอื่นจนมืดค่ำ ลืมเสียสนิทว่าได้มัดมือลูกศิษย์สินแช่น้ำอยู่นานโขแล้ว ครั้นนึกขึ้นมาได้ก็ตกใจ มองไปในแม่น้ำก็เห็นว่าน้ำกำลังเอ่อล้นสูงขึ้นมาก เมื่อรีบเดินไปดูที่หัวบันได ใจของอาจารย์ก็หายวูบขึ้นมา มองหาบันไดไม่พบเสียแล้ว พระอาจารย์ทองดีมีความตกใจและห่วงใยลูกศิษย์สินเป็นอันมาก จึงสั่งให้พระเณรในวัดจุดคบไฟส่งหาดูและพบว่าบันไดที่ผูกเด็กชายสินติดไว้ลอยไปติดอยู่ริมตลิ่งแห่งหนึ่ง ตัวของเด็กชายสินนอนพิงทาบอยู่บนช่วงขึ้นบันไดหน้าตาเฉย ไม่รู้สึกสะทกสะท้านแต่อย่างใด พระอาจารย์ทองดีเห็นเหตุที่เกิดขึ้นด้วยความอัศจรรย์ จึงนำเด็กชายสินเข้าไปในทำขวัญที่ในโบสถ์ ต่อหน้าพระประธานและพระภิกษุสงฆ์สวดชัยมงคลเรียกขวัญกลับคืนมา ด้วยเป็นห่วงว่าจิตใจของลูกศิษย์สินจะขวัญเสียผิดปรกติไปนั่นเอง การทำพิธีรับขวัญเช่นนี้มีมาแต่เก่าก่อน
เมื่อ “สิน” อายุครบ 21 ปี เจ้าพระยาจักรีก็จัดให้เข้าสู่พิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดโกษาวาส จากพงศาวดารกล่าวไว้ว่า ในขณะที่พระภิกษุสินบวชอยู่นั้น นายทองด้วง (สมเด็จพระพุทธยอดฟ้า) ก็กำลังบวชอยู่ที่วัดมหาทะลาย ที่ต้องยกขึ้นมากล่าวคั่นไว้เช่นนี้ เนื่องจากว่าทั้งสองท่านมีความรักใคร่สนิทคุ้นเคยกันมาตั้งแต่บวชเป็นสามเณร แม้ขณะที่บวชเป็นพระภิกษุแล้วก็ยังออกบิณฑบาตรและพบปะกันและกันเสมอ
ชีวิตของพระภิกษุสิน ในช่วงที่เป็นเด็กวันนั้น นอกจากจะมีความซุกซนและเรียนเก่งแล้ว ยังเป็นคนที่ชอบเชิงมวย การต่อสู้ตามแบบฉบับของลูกผู้ชายในสมัยนั้น มีเวลาว่างก็แอบไปเรียนเพลงดาบ กระบี่กระบอง วิชามวยซึ่งเป็นศิลปการป้องกันตัวของคนไทยแต่โบราณกาล เพื่อให้เป็นวิชาติดตัว เมื่อถึงวัยอันคึกคะนอง เจ้าพระยาจักรี บิดาบุญธรรมก็เห็นว่าขืนปล่อยไว้จะออกนอกลู่นอกทาง จึงให้โกนหัวบวชเรียนศึกษาพระธรรมในบวรพระพุทธศาสนาตามประเพณีและช่วยขจัดขัดเกลานิสัยให้สุขุมเยือกเย็นขึ้นด้วย
ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วว่า พระภิกษุสินและพระภิกษุทองด้วงมักจะพบปะกันบ่อย ๆ วันหนึ่งขณะที่เดินบิณฑบาตรมาด้วยกัน ผ่านบ้านเรือนจีนไทยซึ่งอยู่ในละแวกนั้น มีซินแสชาวจีนผู้หนึ่งเดินผ่านมาพบพระภิกษุทั้งสองรูป ซินแสผู้นั้นมองดูพระภิกษุสินและพระภิกษุทองด้วงอยู่ครู่หนึ่งแล้วก็หัวเราะร่อน ดูเหมือนว่าซินแสผู้นี้จะสนใจพระภิกษุทั้งสองรูปเป็นพิเศษ มองดูแล้วก็มองดูอีกพร้อมกับหัวเราะอย่างเดิมถึงห้าครั้ง สร้างความประหลาดใจให้กับพระภิกษุทั้งสองยิ่งนัก นึกในใจว่าชาวจีนผู้นี้คงจะเป็นคนที่สติไม่ค่อยจะเป็นปรกตินัก นึกในในว่านี่ถ้าหากเป็นเพศฆราวาสอาจเจอดีไปนานแล้ว แต่วินัยแห่งสงฆ์ห่มผ้าเหลืองทำให้อดกลั้นสำรวมสติไว้ได้ แล้วเดินเข้าไปใกล้ซินแสผู้นั้นออกปากถามไปว่า
“ท่านหัวเราะอะไรหรือโยม”
ซินแสผู้นั้นหยุดยืนยิ้มแล้วจ้องมองพระภิกษุสินและพระภิกษุทองด้วงอย่างพินิจพิจารณา พร้อมกับตอบไปว่า เขาเป็นหมอดู และรู้สึกอัศจรรย์ใจมากที่ได้เห็นพระภิกษุทั้งสองเดินมาด้วยกัน พระภิกษุสินจึงย้อนถามอีกว่า
“ซินแสนึกอะไรอยู่หรือจึงเกิดความขบขันจนกระทั่งกลั้นหัวเราะไว้ไม่ไหว”
ซินแสจึงตอบกลับไปว่า
ตนนึกขำจริง ๆ ไม่น่าเชื่อเลยที่ได้เห็นกษัตริย์ไทยสององค์มาเดินบิณฑบาตรด้วยกันอย่างนี้
ซินแสผู้นั้นยังได้ขอทำนายทายทักลักษณะอันพิเศษของพระภิกษุสินและพระภิกษุทองด้วง เพราะความรู้สึกตื่นเต้นและดีใจที่ได้พบเห็นเป็นบุญตา พร้อมทั้งกับย้ำเป็นครั้งสุดท้ายว่า
“ต่อไปในภายภาคหน้าพระคุณเจ้าทั้งสองจะต้องได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์อย่างแน่นอน ขอให้คำทำนายนี้จงเป็นมงคลสืบไปเถิดพระคุณเจ้า”
ซินแสถวายคำทำนายแล้วก็อำลาจากไป ปล่อยให้พระภิกษุสินและพระภิกษุทองด้วงมองตากันด้วยความรู้สึกขบขัน แล้วก็เดินบิณฑบาตโดยไม่ได้ซักอะไรอีกพระภิกษุสินบวชเรียนจำพรรษา และปฏิบัติธรรมตามหลักพุทธศาสนามาได้ 3 พรรษา ระหว่างนี้จึงได้มีโอกาสศึกษาทางธรรมะ จนมีความรู้แตกฉาน บิดาบุญธรรมเจ้าพระยาจักรีเห็นว่าพอสมควรแล้ว ซึ่งความดีงามและความเฉลียวฉลาดในวิชาความรู้จึงให้ทำการลาสิกขาบท แล้วนำเข้ารับราชการในแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา
ต่อเมื่อลาสิกขาบทแล้ว นายหยงและนายด้วงก็ได้มีโอกาสเข้ารับราชการ ต่อมาในตอนปลายแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา โดยนายหยงได้เป็นตำแหน่งหลวงยกกระบัตรเมืองตากและได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น"นายสิน" ส่วนนายด้วงก็รับราชการด้วยดีจนได้เป็นหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี
บันทึกว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงเคยเป็นพ่อค้าเกวียนผู้ทรงปัญญาเฉลียวฉลาด และมีความสามารถด้าน กฎหมายเป็นพิเศษ ได้ช่วยกรมการเมืองชำระถ้อยความของราษฎรทางภาคเหนืออยู่เนืองๆ เนื่องจากได้ทำ ความดีมีความชอบต่อแผ่นดิน จึงได้รับแต่งตั้งให้เป็น เจ้าเมืองตากในเวลาต่อมา การรับราชการ ตำแหน่งราชการที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงไว้วางพระทัยโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิบัติมีอยู่หัวมากมาย อาทิ ตำแหน่งมหาดเล็กรายงาน ซึ่งเป็นข้าหลวงเชิญท้องตราพระราชสีห์ขึ้น ไปชำระความตามหัวเมืองเหนือ เพราะทรงมีความรู้ด้านกฏหมายเป็นอย่างดี และได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองตาก ตามลำดับ ในสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งพระยาวชิรปราการ เจ้าเมืองกำแพงเพชร อันเป็นตำแหน่งสูงสุดฝ่ายพลเรือนแต่บ้านเมืองเกิดศึกสงครามเสียก่อน จึงต้องอยู่ช่วยราชการไม่ทันได้เดินทางไปรับตำแหน่ง ฝ่าวงล้อมทหารพม่า ในวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2309 ซึ่งตรงกับวัยเสาร์ ขึ้น 4 คํ่าเดือนยี่ จุลศักราช 1128 ปีจอ อัฐศก พระยาวชิรปราการ ( ยศในขณะนั้น ) เห็นว่ากรุงศรีอยุธยาคงต้องเสียทีแก่พม่า จึงตัดสินใจ รวบรวมทหารกล้าราว 500 คน ตีฝ่าวงล้อมทหารพม่า โดยตั้งใจว่า จะกลับมากู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนให้ได้โดยเร็ว พระยาวชิรปราการ ต้องการยึดเมืองจันทบุรีไว้เป็นที่มั่น เพื่อรวบรวมพลังกลับมาตีพม่า จึงสั่งทหารทุกคนว่า "เมื่อกินข้าวปลาอาหารอิ่มแล้ว ให้ทุบหม้อข้าวหม้อแกงทิ้งเสีย คืนนี้เราจะตีเมืองจันทบุรีให้ได้ แล้วพรุ่งนี้เราจะกินข้าวเช้ากัน ในเมืองจันท์ " กู้ชาติ กรุงศรีอยุธยาแตกเมื่อวันอังคาร ขึ้น 9 คํ่าเดือน 8 ปีกุน นพศก จุลศักราช 1129 ตรงกับ พ.ศ. 2310 และสมเด็จพระเจ้าตากสิน สามารถกู้กลับคืนมาได้ เมื่อวันศุกร์ ขึ้น 15 คํ่าเดือน 12 จุลศักราช 1129 ปีกุน นพศก ซึ่งตรง กับวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2310 รวมใช้เวลารวบรวมผู้คน จนเป็นทัพใหญ่กลับมากู้ชาติ ด้วยระยะเวลาเพียง 5 เดือนเท่านั้น ตั้งราชธานีใหม่ พระเจ้าตากสินทรงเห็นว่า กรุงศรีอยุธยาเสียหายมากมายยากที่จะปฏิสังขรณ์ จึงให้ย้ายมาสร้างเมืองหลวงใหม่ ที่กรุงธนบุรี เพราะเห็นว่าไม่ใหญ่โตเกินกำลัง มีป้อมปราการที่แข็งแรงสามารถ ป้องกันข้าศึกศัตรูได้ เนื่องจากมีป้อมกันข้าศึกถึง 3 ป้อม อีกทั้งมีความอุดมสมบูรณ์ ด้วยพืชพันธ์ธํญญาหาร และเป็นเมืองใก้ลทะเล สามารถติดต่อค้าขายกับต่างประเทศได้สะดวก ปราบดาภิเษก หลังจากสร้างพระราชวัง บนฝั่งตะวันตกของแม่นํ้าเจ้าพระยาแล้ว เมื่อทรงจัดการบ้านเมืองเรียบร้อยพอสมควร บรรดาแม่ทัพ นายกอง ขุนนาง ข้าราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน ตลอดทั้งสมณะพราหมณาจารย์ และอาณาประชาราษฎร์ ทั้งหลาย จึงพร้อมกันกราบบังคมทูลอัญเชิญขึ้นทรงปราบดาภิเษก เป็นพระมหากษัตริย์ ณ วันพุธ เดือนอ้าย แรม 4 คํ่า จุลศักราช 1130 ปีชวด สัมฤทธิศก ตรงกับวันที่ 4 แต่เรียกขานพระนามของพระองค์ติดปากว่า พระศรีสรรเพชญ์ หรือ สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 แต่เรียกขานพระนามของพระองค์ติดปากว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินหรือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

พระราชกรณียกิจ
ที่สำคัญๆ นอกจากพระราชกรณียกิจในด้านกู้ชาติแล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสิน ยังได้ปราบอริราชศัตรู ที่มักจะล่วงลํ้าเขตแดน เข้ามาซํ้าเติมไทยยามศึกสงครามอยู่เสมอ จนในสมัยของพระองค์ ได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างไพศาล กล่าวคือทิศเหนือ ได้ดินแดนหลวงพระบาง และเวียงจันทน์
ทิศใต้ ได้ดินแดนกะลันตัน ตรังกานู และไทรบุรี
ทิศตะวันออก ได้ดินแดนลาว เขมร ทางฝั่งแม่นํ้าโขงจดอาณาเขตญวน
ทิศตะวันตก ได้ดินแดนเมาะตะมะ ได้ดินแดน เมืองทวาย มะริด ตะนาวศรี
พระองค์ยังโปรดเกล้าฯ ให้มีการฟื้นฟู และสร้างวรรณกรรม นาฏศิลป์ และการละครขึ้นใหม่ แม้ว่าจะมีศึกสงคราม ตลอดรัชกาล กระนั้นก็ยังทรงพระราชนิพนธ์ เรื่องรามเกียรติ์ถึง 4 เล่มสมุดไทย ในปี พ.ศ. 2312 นับว่าทรงมีอัจฉริยภาพสูงส่ง เป็นอย่างมาก ในรัชสมัยของพระองค์ มีกวีที่สมควรได้รับการยกย่อง 2 ท่าน คือ นายสวน มหาดเล็ก ซึ่งแต่งโครงสี่สุภาพ แต่งขึ้นเพื่อยอพระเกียรติ และสรรเสริญสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี มี 45 บท เป็นสำนวนที่เรียบง่าย แต่ทรงคุณค่าด้วยเป็นหลักฐานที่คนรุ่นต่อมา ได้ทราบถึงสภาพบ้านเมือง และความเป็นไปในยุคนั้น หลวงสรวิชติ (หน) ซึ่งต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ มีบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาพระคลัง (หน) งานประพันธ์ของท่าน เป็นที่รู้จักและแพร่หลาย จนถึงปัจจุบัน เช่น สามก๊ก เป็นต้น

พระเจ้าตากสิน ยังโปรดให้มีการทำนุบำรุงการพระพุทธศาสนา การติดต่อการค้ากับต่างประเทศ ในด้านการปกครอง หลังจากสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีแล้ว ทรงจัดวางตำแหน่งหน้าที่ข้าราชการ ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน ทรงสอดส่องทุกข์สุขของราษฎร์ และหลังจากกอบกู้แผ่นดินได้แล้ว พระองค์ได้ทรงอัญเชิญ พระบรมศพสมเด็จเอกทัด มาจัดถวายพระเพลิงอย่างสมเกียรติ และยังทรงรับอุปการะบรรดา เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า พระราชโอรส ตลอดทั้งพระเจ้าหลานเธอ ของพระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยาทุกพระองค์ ด้วยความกตัญญูกตเวที เหตุการณ์ช่วงปลายรัชกาล ในปี พ.ศ. 2324 เกิดศึกทางกัมพูชา สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ถืออาญาสิทธิ์เป็นแม่ทัพไปปราบ พร้อมกันนั้น ยังได้ทรงทอดฉลองพระองค์พระราชทานให้ด้วย เหมือนกับจะเป็นบุพนิมิตว่า สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินต่อไปในภายหน้า และการก็เป็นจริงดังนั้น ด้วยเพราะเกิดการจลาจลขึ้นมนกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีพระสติฟั่นเฟือน เมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกกลับสู่พระนคร บรรดาเหล่าข้าราชการ และราษฎรทั้งปวง จึงอัญเชิญให้ขึ้นเป็น พระเจ้าแผ่นดิน องค์ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 เพื่อปกครองไพร่ฟ้าประชาราษฎร์สืบต่อไป ถวายพระนามมหาราชและการสร้างพระราชอนุสาวรีย์ ด้วยพระปรีชาสามารถของพระองค์ตามที่กล่าวมาแล้ว ประชาชนทุกหมู่เหล่าจึงพร้อมใจกันถวายพระนาม " มหาราช " "สมเด็จพระเจ้าตากสิน " และรัฐบาลอันมี ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี พร้อมทั้งเหล่าพสกนิกรชาวไทย ได้พร้อมใจกันสร้างอนุสาวรีย์ประดิษฐาน ณ วงเวียนใหญ่ ฝั่งธนบุรี ซึ่งศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี คณบดีประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากรคณะนั้น เป็นผู้ออกแบบ ทางราชการได้ประกอบพระราชพิธีเปิด และถวายบังคมพระบรมราชอนุสาวรีย์ ครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2497 และในวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2497 จึงมีรัฐพิธีเปิด เป็นทางการอีกครั้งหนึ่ง โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินทรงวาง พวงมาลา ถวายราชสักการะ ต่อมาทางราชการจึงกำหนดให้วันที่ 28 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันคล้ายวัน เสวยราชย์ปราบภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ไทย เป็นวันถวายบังคมพระบรมราชอนุสาวรีย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

พระราชปณิธาน
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

อันตัวพ่อ ชื่อว่า พระยาตาก
ทนทุกข์ยาก กู้ชาติ พระศาสนา
ถวายแผ่นดิน ให้เป็น พุทธบูชา
แด่พระศาสดา สมณะ พระพุทธโคดม

ให้ยืนยง คงถ้วน ห้าพันปี
สมณะพราหมณ์ชี ปฏิบัติ ให้พอสม
เจริญสมถะ วิปัสสนา พ่อชื่นชม
ถวายบังคม รอยบาท พระศาสดา

คิดถึงพ่อ พ่ออยู่ คู่กับเจ้า
ชาติของเรา คงอยู่ คู่พระศาสนา
พุทธศาสนา อยู่ยง คู่องค์กษัตรา
พระศาสดา ฝากไว้ ให้คู่กัน

เมื่อประมาณปี พ.ศ.2539 ผมนำวงดนตรีคาราบาว ไปแสดงที่ราชบุรี เวทีตั้งอยู่ใกล้กับพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ความจริง ผมไม่ทราบมาก่อนว่า ที่นี่มีพระบรมราชานุสาวรีย์พระองค์ท่าน ประดิษฐานอยู่ ขณะผมกำลังเตรียมตัว จะขึ้นเวทีคอนเสิร์ตอยู่นั้น ปรากฏว่า ร.ต.ท.เชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ ส.ว. (ขณะยังเป็น ส.ส.) ได้มาพบผมที่หลังเวที แล้วพูดกับผมอย่างเป็นกันเองว่า จะพาคุณแอ๊ดไปข้างนอก ใช้เวลาสัก 10 นาทีก็เสร็จแล้ว เดี๋ยวจะพามาส่ง เพื่อแสดงดนตรีต่อไป
ตอนแรก ผมว่าจะไม่ออกไปกับท่าน เพราะตามปกติแล้วเมื่อใกล้เวลาแสดงนั้น นักดนตรีทุกคน ต้องตั้งสมาธิอยู่กับงาน และต้องอยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตา เพื่อความมั่นใจในระบบทีมเวิร์ค แต่ท่านก็คะยั้นคะยอจนผมต้องยอมเดินตามต้อยๆ ออกไปข้างนอก ซึ่งก็ไม่ไกลอย่างที่ท่านพูดไว้
ท่านให้ผมจุดธูปเทียนพร้อมทั้งดอกไม้บูชาพระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 1 โดยมีท่านยืนอยู่ข้างๆ ผมนั้นไม่เคยรู้จักท่านเชาวรินเป็นการส่วนตัวมาก่อน รู้เห็นก็แต่เพียงว่า ท่านเป็นผู้หนึ่งที่มีสไตล์ในการอภิปรายในสภาตามแบบฉบับของตัวเอง ที่ชาวบ้านร้านถิ่นมักชอบอกชอบใจ จนได้รับฉายา "ส.ส.สากกระเบือ" เพิ่งได้พบหน้าค่าตากันและกันก็วันนั้น และท่านยังมาในชุดเครื่องแบบข้าราชการเช่นเคย
เมื่อผมบูชารัชกาลที่ 1 เสร็จ ท่านเชาวรินก็เริ่มเล่าถึงเรื่องราวที่ท่านรู้มาให้ผมฟัง...
""...พระเจ้าตากสินมหาราชไม่ได้มีสติฟั่นเฟือน และถูก:-)ด้วยการจับใส่กระสอบแล้วทุบด้วยท่อนจันทน์ตามที่ร่ำเรียนกันมา อันความจริงนั้น ในสมัยกรุงธนบุรีกำลังก่อร่างสร้างตัว พระองค์ได้ฟันฝ่าอุปสรรคมานานัปการ กว่าจะรวมพลังกอบกู้บ้านเมืองได้ เมื่อถึงคราวต้องบูรณะบ้านเมือง ก็มีอยู่ทางเดียวที่จะทำได้ คือ ต้องไปกู้เงินจากเมืองจีน เนื่องด้วยพระองค์มีเชื้อจีน และมีสายสัมพันธ์ที่แนบแน่นกับเมืองจีนมาโดยตลอด จึงทำให้จีนไว้ใจ และยอมให้กู้มาเป็นจำนวนมาก เพื่อใช้ทำนุบำรุงบ้านเมืองที่บอบช้ำจากศึกสงครามอันยาวนาน ให้กลับคืนสู่สภาพดี และพัฒนาให้รุ่งเรืองยิ่งขึ้น... ""ภายหลังเสร็จสิ้นภารกิจทั้งปวง พระเจ้าตากฯ กลับมิสามารถนำเงินไปใช้หนี้ประเทศจีนได้ จึงได้ร่วมกับรัชกาลที่ 1 วางแผนกันเบี้ยวหนี้จีน โดยสร้างเรื่องขึ้นมาว่า พระองค์ทรงกรำจากศึกสงคราม ฆ่าคนมามาก หลังจากบ้านเมืองเข้าสู่ความสงบ กลับทรงมีสติฟั่นเฟือน จนไม่สามารถปกครองประเทศได้ แม้กระทั่งอยู่ไปก็จะเป็นอันตรายต่อแผ่นดิน จึงต้องโดนประหารชีวิตในที่สุด...
""เมื่อสิ้นพระองค์แล้ว หนี้สินที่พระองค์สร้างไว้ก็ย่อมหมดสิ้นไปด้วย ขณะที่บ้านเมืองก็สถาปนาให้พระสหายของพระองค์ คือ รัชกาลที่ 1 ขึ้นครองราชย์แทน แต่สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นเมืองหลวงแทนกรุงธนบุรี ส่วนพระเจ้าตากสินก็เสด็จไปพำนักอยู่ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช...""
เรื่องราวทั้งหมดที่ท่านเชาวรินเล่าให้ผมฟังตอนนั้น นับเป็นเรื่องใหม่มากสำหรับนักเรียนผู้ศึกษาวิชาประวัติศาสตร์จากตำราของกระทรวงศึกษาธิการอย่างผม ถ้าพิจารณากันในแง่ของความเป็นไปได้ ก็น่าจะเป็นจริงเช่นกัน แต่มีข้อคิดที่ผมเฉลียวใจ คือ การกู้เงินเพื่อทำนุบำรุงบ้านเมือง น่าจะเป็นการตกลงกันในระดับประเทศต่อประเทศ ไม่น่าจะใช่เรื่องส่วนตัวแบบที่เรายืมเงินเพื่อนหรือพ่อแม่ การรับรู้หรือการทำสัญญาตกลงกัน จะต้องรัดกุมมากกว่าระดับบุคคลต่อบุคคลอย่างแน่นอน เพราะฉะนั้น ต่อให้พระเจ้าตากจะสิ้นพระชนม์หรือหายตัวไปด้วยวิธีใดก็ตาม ผู้นำคนใหม่ของชาติสยาม ย่อมจะต้องรับผิดชอบหนี้สินต่อไปอย่างไม่มีข้อยกเว้น นี่คือสิ่งที่ผมเห็นขัดแย้งกับเรื่องเล่าเรื่องนี้ ผมยังได้นำความรู้สึกนี้ ขึ้นพูดบนเวทีคอนเสิร์ตคืนนั้นว่า ผมไม่เห็นด้วยที่จะให้ศักดิ์ศรีของพระเจ้าตาก วีรบุรุษของคนไทย ต้องมาเสื่อมเสีย เป็นแค่คนหนีหนี้ ซึ่งตามประวัติศาสตร์ที่บ่มเพาะกันมา จะเป็นจริงตามนั้นหรือไม่ พวกเราก็ยังรู้สึกภูมิใจ และเห็นใจที่ท่านต้องตรากตรำจนพระสติเพี้ยนแล้วถูกทุบด้วยท่อนจันทน์ โดยมีทหารคู่ใจ คือ พระยาพิชัยดาบหัก ยอมตายตามไปด้วย ประวัติศาสตร์แบบนี้ทำให้ท่านดูเป็นชายชาติอาชาไนยดีกว่าเป็นแค่คนหนีหนี้ เกียรติยศที่สั่งสมมาคงถูกลดลงไปด้วยอย่างช่วยไม่ได้ เพราะฉะนั้นผมถึงไม่ยอม จึงต้องขึ้นพูดปาวๆ ๆ อยู่หลายครั้งถึงเรื่องนี้บนเวทีคอนเสิร์ต และที่ผมยังจำได้ไม่ลืม คือ เมื่อผมพูดจบ อาจารย์ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี มือขลุ่ยประจำวงคาราบาว จะต่อด้วยว่า ""ประวัติศาสตร์คือประวัติศาสตร์ แต่ความเป็นจริง อาจจะไม่เห็นต้องเหมือนที่เขาเขียนกัน เพราะนั้นเขาเอาไว้สอนกันในโรงเรียน ในชีวิตจริงอาจจะแตกต่างออกไปบ้างพอสมควร
คุณละเชื่อใหม?

ไม่มีความคิดเห็น: