สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงใช้ชีวิตส่วนใหญ่บนหลังม้า ชูดาบนำนักรบออกแนวหน้าปะทะข้าศึก ด้วยเลือด ด้วยเนื้อ และชีวิต เพื่อทำสงครามกอบกู้เอกราชให้แก่ชาติไทย ปลดปล่อยลูกหลานไทยหลุดพ้นจากการย้ำยีของพม่า จนบ้านเมืองเป็นปึกแผ่นสงบสุขมาถึงทุกวันนี้และยังสามารถขยายอาณาเขตไปประเทศราชที่ราชอาณาจักรอยุธยาตอนปลายไม่สามารถทำได้ มีอำนาจในหัวเมืองล้านนา หลวงพระบาง เวียงจันทน์ จำปาศักดิ์ และพื้นที่ครึ่งหนึ่งของกัมพูชา พระองค์ไม่เคยปริปากถึงความเหนื่อยยาก ไม่เคยโอ้อวด แต่ลงมือปฏิบัติจริง พระองค์เสียสละทุกสิ่งทุกอย่างให้แก่ประชาชนและแผ่นดินอันเป็นที่รักยิ่งของพระองค์จวบจนวาระสุดท้ายของชีวิต
พระราชประวัติ
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวในสมัยกรุงธนบุรี เสด็จพระราช สมภพ ณ วันที่ 17 เมษายน พุทธศักราช 2277 ตรงกับปีขาล ขึ้น 15 คํ่าเดือน 5 จุลศักราช 1096 ในแผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาที่ 3 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว บรมโกศ
มีหลักฐานว่าทรงเป็นสามัญชน กำเนิดในตระกูลแต้ มีพระนามเดิมว่า นายหยง แซ่แต้ (ระหว่างที่จำพรรษาอยู่ พระภิกษุด้วงได้มีโอกาสรู้จักเป็นมิตรกับพระภิกษุหยง)เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2277 ในแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา มีครอบครัวธรรมดาสามัญชนคู่หนึ่งคือ นายไหฮองและนางนกเอี้ยงผู้ภรรยา ฝ่ายสามีนั้นรับราชการในตำแหน่งนายอากรบ่อนเบี้ยเป็นครอบครัวที่มั่งคั่งครอบครัวหนึ่ง เป็นคนไทยที่มีเชื้อสายจากบรรพบุรุษฝ่ายบิดาเป็นชาวจีน ส่วนมารดาเป็นคนไทย ทั้งสองสามีภรรยาครองเรือนอยู่กินกันมาด้วยดี จนกระทั่งนางนกเอี้ยงตังครรภ์ใกล้กำหนดวันคลอด
วันนั้นตรงกับวันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน 2277 นางนกเอี้ยงผู้ภรรยามีอาการปวดครรภ์ใกล้จะคลอด ทุกคนบนเรือนต่างพากันตื่นเต้นนับตั้งแต่ข้าทาสบริวารตลอดจนเพื่อนบ้านใกล้เคียง โดยเฉพาะนายไหฮองหรือขุนพัฒน์นั้น จิตใจจดจ่อรอคอยการคลอดลูกในท้องของผู้เป็นภรรยาอย่างกระวนกระวายใจ ท่ามกลางใจจดใจจ่อรอคอยของทุกคน เบื้องบนท้องฟ้าแจ่มใสกลับมีหมู่เมฆม้วนตัวลอยลิ่วหลากสีแลดูแปลกตากว่าทุกครั้ง ใคร ๆ ในที่นั้นนั่งมองตากันด้วยความอัศจรรย์ใจที่สุด และแล้วเมื่อเวลาล่วงเลยมาชั่วครู่ เมฆฟ้าที่อึมครึมก็ปรากฎสายฟ้าผ่าลงมาที่เสาตั้งของบ้านหลังนั้น ฉับพลันทารกน้อยก็คลอดออกมาจากท้องของนางนกเอี้ยง ส่งเสียงร้องแข่งกับเสียงฟ้าที่ผ่ามาเมื่อสักครู่ ขณะนั้นตรงกับเวลา 5 โมงเช้า เดือน 7 ปีขาล ตรงกับจุลศักราช 1069 (พ.ศ. 2277) ฟ้าที่ฟ้าผ่าลงมากลางเรือนของขุนพัฒน์เป็นที่น่าสังเกตว่า ทำให้เกิดแสดงว่างวาบมีรัศมีแผ่กระจายไปทั่ว แต่ไม่มีใครได้รับอันตราย ลูกที่เกิดจากมารดานางนกเอี้ยงเป็นบุตรชาย มีลักษณะน่าประหลาด คือระหว่างสะดือถึงปลายเท้ามีความยาวเท่ากับจากสะดือถึงเชิงผมตรงหน้าผาก อันลักษณะเช่นนี้ตามตำราพรหมชาติของจีนกล่าวว่า ผู้ใดมีรูปร่างลักษณะเช่นนี้มีบุญวาสนามีอัจริยะที่สำคัญ จะได้เป็นใหญ่ในภายหน้า ซึ่งสร้างความภาคภูมิใจให้กับบิดาและมารดายิ่งนัก ตามธรรมเนียมเก่าแก่โบราณ ทารกที่เกิดใหม่จะถูกนำไปวางนอนอยู่ในกระด้ง ทั้งขุนพัฒน์และภรรยาก็ถือย่างนั้น นำบุตรชายวางไว้ในกระด้ง ตกวันที่ 3 ขณะที่ขุนพัฒน์หรือนายไหฮองกำลังนั่งใส่ฟืนหน้าตาไฟอยู่นั้น สายตาก็เหลือบเห็นงูใหญ่ตัวหนึ่ง มันเป็นงูเหลือมใหญ่ ไม่มีใครทราบว่าเข้ามาตอนไหน กำลังขดตัวชูคออยู่รอบกระด้งที่วางบุตรชายไว้ ขุนพัฒน์ถึงกับตกใจ นึกในใจว่าลูกคนนี้มีอะไรที่น่ากลัวเกินกำลังที่คนธรรมดาสามัญอย่างตนจะเลี้ยงไว้ได้เสียแล้ว จึงตัดสินใจนำบุตรชายมอบให้เจ้าพระยาจักรีนำเลี้ยงดูแทน
เจ้าพระยาจักรีขุนนางของกรุงศรีอยุธยาซึ่งมีบ้านพักอยู่ใกล้บ้านนายไหฮอง จึงได้ตั้งชื่อบุตรบุญธรรมว่า สิน เพราะตั้งแต่ได้บุตรบุญธรรมมา เจ้าพระยาจักรีมีความเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่ราชการและมีทรัพย์สินสมบัติเพิ่มพูนเป็นอันมาก เมื่ออายุได้ 4 ปี เจ้าพระยาจักรีนำบุตรบุญธรรม ไปเรียนหนังสือกับพระอาจารย์ทองดี ที่วัดโกษาวาส
เด็กชายสิน เป็นเด็กที่มีความเฉลียวฉลาดตั้งใจศึกษาเล่าเรียนเขียนอ่านกับพระอาจารย์ทองดี มีความขยันหมั่นเพียร ช่วยเหลือทำงานต่าง ๆ ในวัดได้ดี มีความคล่องแคล่วรวดเร็วกว่าเด็กทั่วไป ความเฉลียวฉลาดของเด็กชายสินที่มีมาแต่เล็ก เมื่อมีเวลาว่างก็ชักชวนศิษย์วัดไปเปิดบ่อนเล่นถั่วขึ้นในวัด ครั้นพระอาจารย์ทองดีเดินมาพบเข้าก็จับตัวมาสั่งสอนอบรม การฝึกอบรมสมัยโบราณนั้นนับว่าเคร่งครัดมาก เมื่อไต่สวนสืบความได้กระจ่างว่าเด็กชาย”สิน”เป็นตัวการชวนเพื่อนเล่นการพนันจึงลงโทษสถานหนักโดยนำไปมัดมือไว้ที่บันได ปล่อยให้แช่อยู่ในน้ำไว้สักพักใหญ่เพื่อให้เข็ดหลาบ พระอาจารย์ทองดีทำโทษแก่ลูกศิษย์สินเช่นนั้นแล้ว ก็มีเหตุติดพันให้ทำกิจอย่างอื่นจนมืดค่ำ ลืมเสียสนิทว่าได้มัดมือลูกศิษย์สินแช่น้ำอยู่นานโขแล้ว ครั้นนึกขึ้นมาได้ก็ตกใจ มองไปในแม่น้ำก็เห็นว่าน้ำกำลังเอ่อล้นสูงขึ้นมาก เมื่อรีบเดินไปดูที่หัวบันได ใจของอาจารย์ก็หายวูบขึ้นมา มองหาบันไดไม่พบเสียแล้ว พระอาจารย์ทองดีมีความตกใจและห่วงใยลูกศิษย์สินเป็นอันมาก จึงสั่งให้พระเณรในวัดจุดคบไฟส่งหาดูและพบว่าบันไดที่ผูกเด็กชายสินติดไว้ลอยไปติดอยู่ริมตลิ่งแห่งหนึ่ง ตัวของเด็กชายสินนอนพิงทาบอยู่บนช่วงขึ้นบันไดหน้าตาเฉย ไม่รู้สึกสะทกสะท้านแต่อย่างใด พระอาจารย์ทองดีเห็นเหตุที่เกิดขึ้นด้วยความอัศจรรย์ จึงนำเด็กชายสินเข้าไปในทำขวัญที่ในโบสถ์ ต่อหน้าพระประธานและพระภิกษุสงฆ์สวดชัยมงคลเรียกขวัญกลับคืนมา ด้วยเป็นห่วงว่าจิตใจของลูกศิษย์สินจะขวัญเสียผิดปรกติไปนั่นเอง การทำพิธีรับขวัญเช่นนี้มีมาแต่เก่าก่อน
เมื่อ “สิน” อายุครบ 21 ปี เจ้าพระยาจักรีก็จัดให้เข้าสู่พิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดโกษาวาส จากพงศาวดารกล่าวไว้ว่า ในขณะที่พระภิกษุสินบวชอยู่นั้น นายทองด้วง (สมเด็จพระพุทธยอดฟ้า) ก็กำลังบวชอยู่ที่วัดมหาทะลาย ที่ต้องยกขึ้นมากล่าวคั่นไว้เช่นนี้ เนื่องจากว่าทั้งสองท่านมีความรักใคร่สนิทคุ้นเคยกันมาตั้งแต่บวชเป็นสามเณร แม้ขณะที่บวชเป็นพระภิกษุแล้วก็ยังออกบิณฑบาตรและพบปะกันและกันเสมอ
ชีวิตของพระภิกษุสิน ในช่วงที่เป็นเด็กวันนั้น นอกจากจะมีความซุกซนและเรียนเก่งแล้ว ยังเป็นคนที่ชอบเชิงมวย การต่อสู้ตามแบบฉบับของลูกผู้ชายในสมัยนั้น มีเวลาว่างก็แอบไปเรียนเพลงดาบ กระบี่กระบอง วิชามวยซึ่งเป็นศิลปการป้องกันตัวของคนไทยแต่โบราณกาล เพื่อให้เป็นวิชาติดตัว เมื่อถึงวัยอันคึกคะนอง เจ้าพระยาจักรี บิดาบุญธรรมก็เห็นว่าขืนปล่อยไว้จะออกนอกลู่นอกทาง จึงให้โกนหัวบวชเรียนศึกษาพระธรรมในบวรพระพุทธศาสนาตามประเพณีและช่วยขจัดขัดเกลานิสัยให้สุขุมเยือกเย็นขึ้นด้วย
ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วว่า พระภิกษุสินและพระภิกษุทองด้วงมักจะพบปะกันบ่อย ๆ วันหนึ่งขณะที่เดินบิณฑบาตรมาด้วยกัน ผ่านบ้านเรือนจีนไทยซึ่งอยู่ในละแวกนั้น มีซินแสชาวจีนผู้หนึ่งเดินผ่านมาพบพระภิกษุทั้งสองรูป ซินแสผู้นั้นมองดูพระภิกษุสินและพระภิกษุทองด้วงอยู่ครู่หนึ่งแล้วก็หัวเราะร่อน ดูเหมือนว่าซินแสผู้นี้จะสนใจพระภิกษุทั้งสองรูปเป็นพิเศษ มองดูแล้วก็มองดูอีกพร้อมกับหัวเราะอย่างเดิมถึงห้าครั้ง สร้างความประหลาดใจให้กับพระภิกษุทั้งสองยิ่งนัก นึกในใจว่าชาวจีนผู้นี้คงจะเป็นคนที่สติไม่ค่อยจะเป็นปรกตินัก นึกในในว่านี่ถ้าหากเป็นเพศฆราวาสอาจเจอดีไปนานแล้ว แต่วินัยแห่งสงฆ์ห่มผ้าเหลืองทำให้อดกลั้นสำรวมสติไว้ได้ แล้วเดินเข้าไปใกล้ซินแสผู้นั้นออกปากถามไปว่า
“ท่านหัวเราะอะไรหรือโยม”
ซินแสผู้นั้นหยุดยืนยิ้มแล้วจ้องมองพระภิกษุสินและพระภิกษุทองด้วงอย่างพินิจพิจารณา พร้อมกับตอบไปว่า เขาเป็นหมอดู และรู้สึกอัศจรรย์ใจมากที่ได้เห็นพระภิกษุทั้งสองเดินมาด้วยกัน พระภิกษุสินจึงย้อนถามอีกว่า
“ซินแสนึกอะไรอยู่หรือจึงเกิดความขบขันจนกระทั่งกลั้นหัวเราะไว้ไม่ไหว”
ซินแสจึงตอบกลับไปว่า
ตนนึกขำจริง ๆ ไม่น่าเชื่อเลยที่ได้เห็นกษัตริย์ไทยสององค์มาเดินบิณฑบาตรด้วยกันอย่างนี้
ซินแสผู้นั้นยังได้ขอทำนายทายทักลักษณะอันพิเศษของพระภิกษุสินและพระภิกษุทองด้วง เพราะความรู้สึกตื่นเต้นและดีใจที่ได้พบเห็นเป็นบุญตา พร้อมทั้งกับย้ำเป็นครั้งสุดท้ายว่า
“ต่อไปในภายภาคหน้าพระคุณเจ้าทั้งสองจะต้องได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์อย่างแน่นอน ขอให้คำทำนายนี้จงเป็นมงคลสืบไปเถิดพระคุณเจ้า”
ซินแสถวายคำทำนายแล้วก็อำลาจากไป ปล่อยให้พระภิกษุสินและพระภิกษุทองด้วงมองตากันด้วยความรู้สึกขบขัน แล้วก็เดินบิณฑบาตโดยไม่ได้ซักอะไรอีกพระภิกษุสินบวชเรียนจำพรรษา และปฏิบัติธรรมตามหลักพุทธศาสนามาได้ 3 พรรษา ระหว่างนี้จึงได้มีโอกาสศึกษาทางธรรมะ จนมีความรู้แตกฉาน บิดาบุญธรรมเจ้าพระยาจักรีเห็นว่าพอสมควรแล้ว ซึ่งความดีงามและความเฉลียวฉลาดในวิชาความรู้จึงให้ทำการลาสิกขาบท แล้วนำเข้ารับราชการในแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา
ต่อเมื่อลาสิกขาบทแล้ว นายหยงและนายด้วงก็ได้มีโอกาสเข้ารับราชการ ต่อมาในตอนปลายแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา โดยนายหยงได้เป็นตำแหน่งหลวงยกกระบัตรเมืองตากและได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น"นายสิน" ส่วนนายด้วงก็รับราชการด้วยดีจนได้เป็นหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี
บันทึกว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงเคยเป็นพ่อค้าเกวียนผู้ทรงปัญญาเฉลียวฉลาด และมีความสามารถด้าน กฎหมายเป็นพิเศษ ได้ช่วยกรมการเมืองชำระถ้อยความของราษฎรทางภาคเหนืออยู่เนืองๆ เนื่องจากได้ทำ ความดีมีความชอบต่อแผ่นดิน จึงได้รับแต่งตั้งให้เป็น เจ้าเมืองตากในเวลาต่อมา การรับราชการ ตำแหน่งราชการที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงไว้วางพระทัยโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิบัติมีอยู่หัวมากมาย อาทิ ตำแหน่งมหาดเล็กรายงาน ซึ่งเป็นข้าหลวงเชิญท้องตราพระราชสีห์ขึ้น ไปชำระความตามหัวเมืองเหนือ เพราะทรงมีความรู้ด้านกฏหมายเป็นอย่างดี และได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองตาก ตามลำดับ ในสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งพระยาวชิรปราการ เจ้าเมืองกำแพงเพชร อันเป็นตำแหน่งสูงสุดฝ่ายพลเรือนแต่บ้านเมืองเกิดศึกสงครามเสียก่อน จึงต้องอยู่ช่วยราชการไม่ทันได้เดินทางไปรับตำแหน่ง ฝ่าวงล้อมทหารพม่า ในวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2309 ซึ่งตรงกับวัยเสาร์ ขึ้น 4 คํ่าเดือนยี่ จุลศักราช 1128 ปีจอ อัฐศก พระยาวชิรปราการ ( ยศในขณะนั้น ) เห็นว่ากรุงศรีอยุธยาคงต้องเสียทีแก่พม่า จึงตัดสินใจ รวบรวมทหารกล้าราว 500 คน ตีฝ่าวงล้อมทหารพม่า โดยตั้งใจว่า จะกลับมากู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนให้ได้โดยเร็ว พระยาวชิรปราการ ต้องการยึดเมืองจันทบุรีไว้เป็นที่มั่น เพื่อรวบรวมพลังกลับมาตีพม่า จึงสั่งทหารทุกคนว่า "เมื่อกินข้าวปลาอาหารอิ่มแล้ว ให้ทุบหม้อข้าวหม้อแกงทิ้งเสีย คืนนี้เราจะตีเมืองจันทบุรีให้ได้ แล้วพรุ่งนี้เราจะกินข้าวเช้ากัน ในเมืองจันท์ " กู้ชาติ กรุงศรีอยุธยาแตกเมื่อวันอังคาร ขึ้น 9 คํ่าเดือน 8 ปีกุน นพศก จุลศักราช 1129 ตรงกับ พ.ศ. 2310 และสมเด็จพระเจ้าตากสิน สามารถกู้กลับคืนมาได้ เมื่อวันศุกร์ ขึ้น 15 คํ่าเดือน 12 จุลศักราช 1129 ปีกุน นพศก ซึ่งตรง กับวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2310 รวมใช้เวลารวบรวมผู้คน จนเป็นทัพใหญ่กลับมากู้ชาติ ด้วยระยะเวลาเพียง 5 เดือนเท่านั้น ตั้งราชธานีใหม่ พระเจ้าตากสินทรงเห็นว่า กรุงศรีอยุธยาเสียหายมากมายยากที่จะปฏิสังขรณ์ จึงให้ย้ายมาสร้างเมืองหลวงใหม่ ที่กรุงธนบุรี เพราะเห็นว่าไม่ใหญ่โตเกินกำลัง มีป้อมปราการที่แข็งแรงสามารถ ป้องกันข้าศึกศัตรูได้ เนื่องจากมีป้อมกันข้าศึกถึง 3 ป้อม อีกทั้งมีความอุดมสมบูรณ์ ด้วยพืชพันธ์ธํญญาหาร และเป็นเมืองใก้ลทะเล สามารถติดต่อค้าขายกับต่างประเทศได้สะดวก ปราบดาภิเษก หลังจากสร้างพระราชวัง บนฝั่งตะวันตกของแม่นํ้าเจ้าพระยาแล้ว เมื่อทรงจัดการบ้านเมืองเรียบร้อยพอสมควร บรรดาแม่ทัพ นายกอง ขุนนาง ข้าราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน ตลอดทั้งสมณะพราหมณาจารย์ และอาณาประชาราษฎร์ ทั้งหลาย จึงพร้อมกันกราบบังคมทูลอัญเชิญขึ้นทรงปราบดาภิเษก เป็นพระมหากษัตริย์ ณ วันพุธ เดือนอ้าย แรม 4 คํ่า จุลศักราช 1130 ปีชวด สัมฤทธิศก ตรงกับวันที่ 4 แต่เรียกขานพระนามของพระองค์ติดปากว่า พระศรีสรรเพชญ์ หรือ สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 แต่เรียกขานพระนามของพระองค์ติดปากว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินหรือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
พระราชกรณียกิจ
ที่สำคัญๆ นอกจากพระราชกรณียกิจในด้านกู้ชาติแล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสิน ยังได้ปราบอริราชศัตรู ที่มักจะล่วงลํ้าเขตแดน เข้ามาซํ้าเติมไทยยามศึกสงครามอยู่เสมอ จนในสมัยของพระองค์ ได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างไพศาล กล่าวคือทิศเหนือ ได้ดินแดนหลวงพระบาง และเวียงจันทน์
ทิศใต้ ได้ดินแดนกะลันตัน ตรังกานู และไทรบุรี
ทิศตะวันออก ได้ดินแดนลาว เขมร ทางฝั่งแม่นํ้าโขงจดอาณาเขตญวน
ทิศตะวันตก ได้ดินแดนเมาะตะมะ ได้ดินแดน เมืองทวาย มะริด ตะนาวศรี
พระองค์ยังโปรดเกล้าฯ ให้มีการฟื้นฟู และสร้างวรรณกรรม นาฏศิลป์ และการละครขึ้นใหม่ แม้ว่าจะมีศึกสงคราม ตลอดรัชกาล กระนั้นก็ยังทรงพระราชนิพนธ์ เรื่องรามเกียรติ์ถึง 4 เล่มสมุดไทย ในปี พ.ศ. 2312 นับว่าทรงมีอัจฉริยภาพสูงส่ง เป็นอย่างมาก ในรัชสมัยของพระองค์ มีกวีที่สมควรได้รับการยกย่อง 2 ท่าน คือ นายสวน มหาดเล็ก ซึ่งแต่งโครงสี่สุภาพ แต่งขึ้นเพื่อยอพระเกียรติ และสรรเสริญสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี มี 45 บท เป็นสำนวนที่เรียบง่าย แต่ทรงคุณค่าด้วยเป็นหลักฐานที่คนรุ่นต่อมา ได้ทราบถึงสภาพบ้านเมือง และความเป็นไปในยุคนั้น หลวงสรวิชติ (หน) ซึ่งต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ มีบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาพระคลัง (หน) งานประพันธ์ของท่าน เป็นที่รู้จักและแพร่หลาย จนถึงปัจจุบัน เช่น สามก๊ก เป็นต้น
พระเจ้าตากสิน ยังโปรดให้มีการทำนุบำรุงการพระพุทธศาสนา การติดต่อการค้ากับต่างประเทศ ในด้านการปกครอง หลังจากสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีแล้ว ทรงจัดวางตำแหน่งหน้าที่ข้าราชการ ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน ทรงสอดส่องทุกข์สุขของราษฎร์ และหลังจากกอบกู้แผ่นดินได้แล้ว พระองค์ได้ทรงอัญเชิญ พระบรมศพสมเด็จเอกทัด มาจัดถวายพระเพลิงอย่างสมเกียรติ และยังทรงรับอุปการะบรรดา เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า พระราชโอรส ตลอดทั้งพระเจ้าหลานเธอ ของพระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยาทุกพระองค์ ด้วยความกตัญญูกตเวที เหตุการณ์ช่วงปลายรัชกาล ในปี พ.ศ. 2324 เกิดศึกทางกัมพูชา สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ถืออาญาสิทธิ์เป็นแม่ทัพไปปราบ พร้อมกันนั้น ยังได้ทรงทอดฉลองพระองค์พระราชทานให้ด้วย เหมือนกับจะเป็นบุพนิมิตว่า สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินต่อไปในภายหน้า และการก็เป็นจริงดังนั้น ด้วยเพราะเกิดการจลาจลขึ้นมนกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีพระสติฟั่นเฟือน เมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกกลับสู่พระนคร บรรดาเหล่าข้าราชการ และราษฎรทั้งปวง จึงอัญเชิญให้ขึ้นเป็น พระเจ้าแผ่นดิน องค์ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 เพื่อปกครองไพร่ฟ้าประชาราษฎร์สืบต่อไป ถวายพระนามมหาราชและการสร้างพระราชอนุสาวรีย์ ด้วยพระปรีชาสามารถของพระองค์ตามที่กล่าวมาแล้ว ประชาชนทุกหมู่เหล่าจึงพร้อมใจกันถวายพระนาม " มหาราช " "สมเด็จพระเจ้าตากสิน " และรัฐบาลอันมี ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี พร้อมทั้งเหล่าพสกนิกรชาวไทย ได้พร้อมใจกันสร้างอนุสาวรีย์ประดิษฐาน ณ วงเวียนใหญ่ ฝั่งธนบุรี ซึ่งศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี คณบดีประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากรคณะนั้น เป็นผู้ออกแบบ ทางราชการได้ประกอบพระราชพิธีเปิด และถวายบังคมพระบรมราชอนุสาวรีย์ ครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2497 และในวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2497 จึงมีรัฐพิธีเปิด เป็นทางการอีกครั้งหนึ่ง โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินทรงวาง พวงมาลา ถวายราชสักการะ ต่อมาทางราชการจึงกำหนดให้วันที่ 28 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันคล้ายวัน เสวยราชย์ปราบภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ไทย เป็นวันถวายบังคมพระบรมราชอนุสาวรีย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
พระราชปณิธาน
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
อันตัวพ่อ ชื่อว่า พระยาตาก
ทนทุกข์ยาก กู้ชาติ พระศาสนา
ถวายแผ่นดิน ให้เป็น พุทธบูชา
แด่พระศาสดา สมณะ พระพุทธโคดม
ให้ยืนยง คงถ้วน ห้าพันปี
สมณะพราหมณ์ชี ปฏิบัติ ให้พอสม
เจริญสมถะ วิปัสสนา พ่อชื่นชม
ถวายบังคม รอยบาท พระศาสดา
คิดถึงพ่อ พ่ออยู่ คู่กับเจ้า
ชาติของเรา คงอยู่ คู่พระศาสนา
พุทธศาสนา อยู่ยง คู่องค์กษัตรา
พระศาสดา ฝากไว้ ให้คู่กัน
เมื่อประมาณปี พ.ศ.2539 ผมนำวงดนตรีคาราบาว ไปแสดงที่ราชบุรี เวทีตั้งอยู่ใกล้กับพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ความจริง ผมไม่ทราบมาก่อนว่า ที่นี่มีพระบรมราชานุสาวรีย์พระองค์ท่าน ประดิษฐานอยู่ ขณะผมกำลังเตรียมตัว จะขึ้นเวทีคอนเสิร์ตอยู่นั้น ปรากฏว่า ร.ต.ท.เชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ ส.ว. (ขณะยังเป็น ส.ส.) ได้มาพบผมที่หลังเวที แล้วพูดกับผมอย่างเป็นกันเองว่า จะพาคุณแอ๊ดไปข้างนอก ใช้เวลาสัก 10 นาทีก็เสร็จแล้ว เดี๋ยวจะพามาส่ง เพื่อแสดงดนตรีต่อไป
ตอนแรก ผมว่าจะไม่ออกไปกับท่าน เพราะตามปกติแล้วเมื่อใกล้เวลาแสดงนั้น นักดนตรีทุกคน ต้องตั้งสมาธิอยู่กับงาน และต้องอยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตา เพื่อความมั่นใจในระบบทีมเวิร์ค แต่ท่านก็คะยั้นคะยอจนผมต้องยอมเดินตามต้อยๆ ออกไปข้างนอก ซึ่งก็ไม่ไกลอย่างที่ท่านพูดไว้
ท่านให้ผมจุดธูปเทียนพร้อมทั้งดอกไม้บูชาพระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 1 โดยมีท่านยืนอยู่ข้างๆ ผมนั้นไม่เคยรู้จักท่านเชาวรินเป็นการส่วนตัวมาก่อน รู้เห็นก็แต่เพียงว่า ท่านเป็นผู้หนึ่งที่มีสไตล์ในการอภิปรายในสภาตามแบบฉบับของตัวเอง ที่ชาวบ้านร้านถิ่นมักชอบอกชอบใจ จนได้รับฉายา "ส.ส.สากกระเบือ" เพิ่งได้พบหน้าค่าตากันและกันก็วันนั้น และท่านยังมาในชุดเครื่องแบบข้าราชการเช่นเคย
เมื่อผมบูชารัชกาลที่ 1 เสร็จ ท่านเชาวรินก็เริ่มเล่าถึงเรื่องราวที่ท่านรู้มาให้ผมฟัง...
""...พระเจ้าตากสินมหาราชไม่ได้มีสติฟั่นเฟือน และถูก:-)ด้วยการจับใส่กระสอบแล้วทุบด้วยท่อนจันทน์ตามที่ร่ำเรียนกันมา อันความจริงนั้น ในสมัยกรุงธนบุรีกำลังก่อร่างสร้างตัว พระองค์ได้ฟันฝ่าอุปสรรคมานานัปการ กว่าจะรวมพลังกอบกู้บ้านเมืองได้ เมื่อถึงคราวต้องบูรณะบ้านเมือง ก็มีอยู่ทางเดียวที่จะทำได้ คือ ต้องไปกู้เงินจากเมืองจีน เนื่องด้วยพระองค์มีเชื้อจีน และมีสายสัมพันธ์ที่แนบแน่นกับเมืองจีนมาโดยตลอด จึงทำให้จีนไว้ใจ และยอมให้กู้มาเป็นจำนวนมาก เพื่อใช้ทำนุบำรุงบ้านเมืองที่บอบช้ำจากศึกสงครามอันยาวนาน ให้กลับคืนสู่สภาพดี และพัฒนาให้รุ่งเรืองยิ่งขึ้น... ""ภายหลังเสร็จสิ้นภารกิจทั้งปวง พระเจ้าตากฯ กลับมิสามารถนำเงินไปใช้หนี้ประเทศจีนได้ จึงได้ร่วมกับรัชกาลที่ 1 วางแผนกันเบี้ยวหนี้จีน โดยสร้างเรื่องขึ้นมาว่า พระองค์ทรงกรำจากศึกสงคราม ฆ่าคนมามาก หลังจากบ้านเมืองเข้าสู่ความสงบ กลับทรงมีสติฟั่นเฟือน จนไม่สามารถปกครองประเทศได้ แม้กระทั่งอยู่ไปก็จะเป็นอันตรายต่อแผ่นดิน จึงต้องโดนประหารชีวิตในที่สุด...
""เมื่อสิ้นพระองค์แล้ว หนี้สินที่พระองค์สร้างไว้ก็ย่อมหมดสิ้นไปด้วย ขณะที่บ้านเมืองก็สถาปนาให้พระสหายของพระองค์ คือ รัชกาลที่ 1 ขึ้นครองราชย์แทน แต่สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นเมืองหลวงแทนกรุงธนบุรี ส่วนพระเจ้าตากสินก็เสด็จไปพำนักอยู่ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช...""
เรื่องราวทั้งหมดที่ท่านเชาวรินเล่าให้ผมฟังตอนนั้น นับเป็นเรื่องใหม่มากสำหรับนักเรียนผู้ศึกษาวิชาประวัติศาสตร์จากตำราของกระทรวงศึกษาธิการอย่างผม ถ้าพิจารณากันในแง่ของความเป็นไปได้ ก็น่าจะเป็นจริงเช่นกัน แต่มีข้อคิดที่ผมเฉลียวใจ คือ การกู้เงินเพื่อทำนุบำรุงบ้านเมือง น่าจะเป็นการตกลงกันในระดับประเทศต่อประเทศ ไม่น่าจะใช่เรื่องส่วนตัวแบบที่เรายืมเงินเพื่อนหรือพ่อแม่ การรับรู้หรือการทำสัญญาตกลงกัน จะต้องรัดกุมมากกว่าระดับบุคคลต่อบุคคลอย่างแน่นอน เพราะฉะนั้น ต่อให้พระเจ้าตากจะสิ้นพระชนม์หรือหายตัวไปด้วยวิธีใดก็ตาม ผู้นำคนใหม่ของชาติสยาม ย่อมจะต้องรับผิดชอบหนี้สินต่อไปอย่างไม่มีข้อยกเว้น นี่คือสิ่งที่ผมเห็นขัดแย้งกับเรื่องเล่าเรื่องนี้ ผมยังได้นำความรู้สึกนี้ ขึ้นพูดบนเวทีคอนเสิร์ตคืนนั้นว่า ผมไม่เห็นด้วยที่จะให้ศักดิ์ศรีของพระเจ้าตาก วีรบุรุษของคนไทย ต้องมาเสื่อมเสีย เป็นแค่คนหนีหนี้ ซึ่งตามประวัติศาสตร์ที่บ่มเพาะกันมา จะเป็นจริงตามนั้นหรือไม่ พวกเราก็ยังรู้สึกภูมิใจ และเห็นใจที่ท่านต้องตรากตรำจนพระสติเพี้ยนแล้วถูกทุบด้วยท่อนจันทน์ โดยมีทหารคู่ใจ คือ พระยาพิชัยดาบหัก ยอมตายตามไปด้วย ประวัติศาสตร์แบบนี้ทำให้ท่านดูเป็นชายชาติอาชาไนยดีกว่าเป็นแค่คนหนีหนี้ เกียรติยศที่สั่งสมมาคงถูกลดลงไปด้วยอย่างช่วยไม่ได้ เพราะฉะนั้นผมถึงไม่ยอม จึงต้องขึ้นพูดปาวๆ ๆ อยู่หลายครั้งถึงเรื่องนี้บนเวทีคอนเสิร์ต และที่ผมยังจำได้ไม่ลืม คือ เมื่อผมพูดจบ อาจารย์ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี มือขลุ่ยประจำวงคาราบาว จะต่อด้วยว่า ""ประวัติศาสตร์คือประวัติศาสตร์ แต่ความเป็นจริง อาจจะไม่เห็นต้องเหมือนที่เขาเขียนกัน เพราะนั้นเขาเอาไว้สอนกันในโรงเรียน ในชีวิตจริงอาจจะแตกต่างออกไปบ้างพอสมควร
คุณละเชื่อใหม?
วันพฤหัสบดีที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2551
เส้นทางเดินทัพ พระเจ้าตาก เลียบทะเลตะวันออก
เส้นทางเดินทัพ พระเจ้าตาก เลียบทะเลตะวันออก
กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าเมื่อวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๓๑๐
แต่ก่อนหน้านั้นราว ๓ เดือนกว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเมื่อยังเป็นพระยาตาก ได้พาสมัครพรรคพวกไพร่พลไทยจีนจำนวนหนึ่ง ตีฝ่ากองทัพพม่ามุ่งหน้าไปทางชายทะเลตะวันออกพระยาตากไม่ใช่ทั้งคนแรกและคนสุดท้าย ที่ได้ละทิ้งหน้าที่หลบหนีไป เพราะระบบการเมืองและสังคมของราชอาณาจักรศรีอยุธยาได้ล่มสลายลงก่อนที่พม่าจะระเบิดป้อมทลายกำแพงแล้วแต่นานไม่ถึง ๙ เดือนหลังจากเสียกรุง พระยาตากได้ประกาศพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ ที่คนทั่วไปเรียกกันภายหลังว่าพระยาตาก ยกกองทัพเรือจากเมืองจันทบุรีมายึดกรุงศรีอยุธยาคืน แล้วฟื้นฟูราชอาณาจักรศรีอยุธยาขี้นมาใหม่ ชื่อกรุงธนบุรี พระเจ้าตาก อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ เขียนไว้ในหนังสือการเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ดังนี้สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี นักธรรมชาติวิทยาชาวเดนมาร์กผู้เคยพบเห็นพระองค์และรายงานไว้ว่า ทรงเป็น "ชายร่างเล็ก" แต่พระราชประวัติและวีรกรรมของพระองค์ยิ่งใหญ่นัก เป็นเหตุให้มีผู้แต่งเติมเสริมต่อเรื่องราวของพระองค์ออกไปจนดูราวกับ "นิยาย" ทั้งๆ ที่สาระสำคัญของพระราชประวัติสั้นนิดเดียว ดังนี้สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงพระราชสมภพในฐานะสามัญชนลูกชาวจีน มีอาชีพค้าขายทางเกวียน และแม้ยังมีถิ่นฐานบ้านช่องและญาติพี่น้องอยู่ในภาคกลาง โดยเฉพาะที่พระนครศรีอยุธยาและลพบุรี แต่ก็ได้ทำการค้าอยู่ในหัวเมืองเหนือชายแดนเมื่อสบโอกาสก็ได้เข้ารับราชการในหัวเมืองไกล คือ ตาก-ระแหง และในที่สุดก็ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองตากทรงเสกสมรสกับสามัญชนด้วยกัน ซึ่งมิได้มาจากตระกูลใหญ่นัก
ในสงครามครั้งเสียกรุง ได้กวาดต้อนไพร่พลหลบพม่าลงมาเป็นกำลังแก่กรุงศรีอยุธยา ได้บำเหน็จความชอบจากการนั้นระหว่างที่พม่าล้อมกรุงอยู่ก็ได้ทำการต่อสู้ จนปรากฏชื่อว่าเป็นนายทัพที่เข้มแข็งคนหนึ่ง ไพร่พลที่นำมาจากเมืองตาก-ระแหงก็ยังคุมกันติดเป็นกองของตนเอง ซึ่งปฏิบัติงานตามคำสั่งของรัฐบาล ในที่สุดก่อนที่กรุงจะเสียแก่พม่า ก็ได้นำกำลังคนจำนวนน้อยของตนเอง และอาจรวมผู้อื่นที่เข้าสวามิภักดิ์เพิ่มขึ้นบ้าง ประกอบด้วยไพร่พลทั้งไทยและจีน พากันตีแหกพม่ามุ่งไปยังหัวเมืองฝั่งตะวันออก และเริ่มหน้าใหม่ให้แก่ประวัติศาสตร์ของตนเองและของประเทศไทย
เส้นทางพระเจ้าตากหนี วันเสาร์ ตอนเที่ยงคืน ขึ้น ๔ ค่ำ เดือนยี่ ปีจออัฐศก จุลศักราช ๑๑๒๘ หรือ พ.ศ. ๒๓๐๙ เกิดเพลิงไหม้ขึ้นในพระนคร ไหม้ตั้งแต่ท่าทรายติดลามมาถึงสะพานช้างวงคลองข้าวเปลือก แล้วข้ามมาติดป่ามะพร้าว ป่าโทน ป่าถ่าน ป่าทอง ป่ายา วัดราชบูรณะ วัดมหาธาตุ วัดฉัททันต์ ติดกุฎีวิหารและบ้านเรือนมากกว่าหมื่นหลังไฟไหม้ในพระนครยังไม่ดับ พระยาตากก็ยกสมัครพรรคพวกไพร่พลไทยจีนออกจากค่ายวัดพิชัย เดินทัพไปทางบ้านหันตราพม่ายกพลติดตามทัน ได้ต่อรบกันเป็นสามารถ พม่าต่อต้านมิได้ก็ถอยกลับไปพระยาตากเดินทัพต่อไปทางบ้านข้าวเม่า จนถึงบ้านสามบัณฑิต เวลาสองยามเศษ เมื่อมองกลับไปเห็นแสงไฟรุ่งโรจน์โชตนาการยังไหม้กรุงอยู่ ก็ให้หยุดพักทัพ วันอาทิตย์ รุ่งเช้า พระยาตากเดินทัพไปถึงบ้านโพสามหาว หรือโพสาวหาญ หรือโพสังหาร พม่ายกพลติดตามไปอีก ได้ต่อรบกันเป็นสามารถ ทัพพม่าแตกกระจัดกระจายพ่ายแพ้ไปพระยาตากให้เดินทัพต่อไป ตอนเย็นถึงบ้านพรานนก หยุดพักแรม ให้ทแกล้วทหารออกไปลาดเลี้ยวเที่ยวหาอาหาร พบกองทัพพม่ายกมาจากบางคาง (ปราจีนเก่า) พม่าไล่ติดตามมา พระยาตากจึงขึ้นม้าพร้อมไพร่พลออกรบพม่าก่อน กองทัพพม่าแตกพ่ายกระจายไปทแกล้วทหารเห็นกำลังบุญฤทธิ์พระยาตากเป็นอัศจรรย์ ก็ยกย่องว่าเป็น "จอมกษัตริย์สมมุติวงศ์" เท่ากับแสดงสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมเป็นพระมหากษัตริย์ รุ่งขึ้นขุนชำนาญไพรสณฑ์และนายกองช้างเมืองนครนายกมีจิตสวามิภักดิ์ เอาช้างมาถวาย ๖ ช้าง นำเสด็จถึงบ้านบางดง เข้าหยุดประทับในที่นั้น แล้วสั่งให้ขุนหมื่นพันทนายบ้านยอมอ่อนน้อม แต่ไม่สำเร็จ กลับท้าทายอีก แล้วตั้งค่ายจะสู้รบ
รุ่งขึ้น พระเจ้าตากยกเข้าตีค่ายได้ช้าง ๗ ช้างพระเจ้าตากยกพลไปประทับที่ตำบลหนองไม้ซุง ตามทางเมืองนครนายก แล้วประทับรอนแรมไปอีกสองวันก็ถึงบ้านนาเริ่งออกจากบ้านนาเริ่งวันหนึ่งถึงเมืองปราจีนบุรี ข้ามแม่น้ำที่ด่านกบ (แจะ) (ประจันตคาม ปราจีนบุรี) ให้พักรี้พลหุงอาหาร กินเสร็จแล้วเดินทัพข้ามทุ่งไปจนตกเย็น หยุดพักทัพรอสมัครพรรคพวกที่ตามไม่ทันอยู่ ๓ วัน (เอกสารบางเล่มบอกว่าอยู่ชายดงศรีมหาโพธิ์)ฝ่ายพม่าเกณฑ์ทัพเรือให้ขึ้นมาสมทบกับทัพบกตั้งอยู่ปากน้ำเจ้าโล้ (โจ้โล้) ยกไปขึ้นที่ท่าข้าม ติดตามกองทัพพระเจ้าตากได้รบกันหนักจนพม่าแตกกระจัดกระจายพ่ายไปจากนั้นพระเจ้าตากยกพลนิกายไปทางบ้านทองหลาง บ้านสะพานทอง (อ.พานทอง?) บางปลาสร้อย ก็เป็นอันพ้นกองทัพพม่า
ทำไมต้องหนี?
พระยาตาก ทำไมต้องหนีจากกรุงศรีอยุธยา? อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ อธิบายไว้ในหนังสือการเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ดังต่อไปนี้ราว ๓ เดือนก่อนกรุงแตก พระยาตากซึ่งขณะนั้นออกมาตั้งอยู่ในค่ายวัดพิชัยนอกกำแพงเมือง ก็ได้พาสมัครพรรคพวกไพร่พลไทยจีนจำนวนไม่มากนัก ตีฝ่าพม่าออกไปในนาทีนั้น พระยาตากก็ขาดออกไปจากรัฐบาลราชอาณาจักรอยุธยาในราชวงศ์บ้านพลูหลวงโดยเด็ดขาดพระยาตากไม่ใช่ทั้งคนแรกและคนสุดท้าย ในบรรดาข้าราชการที่รักษาพระนครครั้งนั้น ซึ่งได้ละทิ้งหน้าที่หลบหนีไป มีทั้งข้าราชการและประชาชนพากันหลบหนีออกจากพระนครอยู่ตลอดมา ทั้งเพราะความอดอยาก และทั้งเพราะรู้อยู่แล้วว่ากรุงศรีอยุธยาจะไม่รอดจากเงื้อมมือพม่า เนื่องจากราชอาณาจักรศรีอยุธยาได้ล่มสลายลงก่อนที่พม่าจะระเบิดป้อมทลายกำแพงแล้วสิ่งที่ล่มสลายไปก่อนคือ ระบบการเมืองและสังคมของกรุงศรีอยุธยาเอง พระยาตากไม่มีฐานกำลังของตนเองในพระนครศรีอยุธยา ผู้คนที่นำลงมาด้วยจากเมืองตากก็เป็นขุนนางบ้านนอกด้วยกัน ยิ่งเมื่อไปตั้งอยู่ในค่ายวัดพิชัยนอกเมืองแล้ว ก็คงขาดเสบียงอาหารอย่างหนัก เพราะไม่มีใครคิดจะส่งเสบียงให้ ถึงแม้จะกลับเข้าเมือง ก็คงไม่มีโอกาสได้เสบียงเลี้ยงกองทัพ เพียงด้วยเหตุผลเรื่องเสบียงอย่างเดียว โดยยังไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ ก็เห็นได้ชัดแล้วว่าพระยาตากจะอยู่ในพระนครต่อไปไม่ได้ ไพร่พลที่อยู่ด้วยนั้นจะคุมไว้ก็คงลำบาก เพราะต่างก็จะต้องหลบเร้นหนีหายเพื่อหาอาหารประทังชีวิต มีเหลืออยู่ทางเดียวเท่านั้นคือตีฝ่าพม่าออกไปทั้งกอง หนีไปตายเอาดาบหน้า โดยวิธีนี้ก็จะสามารถคุมกำลังกันติด อันจะเป็นเหตุให้สามารถหาเสบียงอาหารได้สะดวกกว่าปล่อยไพร่พลหนีหายกระจัดกระจายไม่เป็นทัพเป็นกองแล้วพระยาตากก็ตีฝ่าพม่ามุ่งหน้าไปยังหัวเมืองชายทะเลฝั่งตะวันออก
ทำไมต้องมุ่งตะวันออก?
ทำไมพระยาตากต้องไปหัวเมืองชายทะเลตะวันออก?ประการแรก จะตีฝ่าพม่ากลับไปเมืองตาก เป็นสิ่งที่เป็นไปเกือบไม่ได้ เพราะพม่ายึดไว้หมดแล้ว ฐานกำลังถ้าจะมีอยู่บ้างก็คงแตกกระจัดกระจายหนีไปหมดแล้ว ใช้อะไรไม่ได้ประการที่สอง ทางด้านตะวันออกยังค่อนข้างปลอดภัยจากกองทัพพม่ามากกว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชาธิบายว่า พ้นจากเมืองชลบุรีไปทางตะวันออกก็พ้นพม่าเสียแล้วประการที่สาม หัวเมืองชายทะเลด้านตะวันออกเป็นศูนย์กลางของการติดต่อกับส่วนอื่นๆ ของราชอาณาจักร เช่น เมืองจันทบูรเป็นจุดเริ่มต้นของการเดินเรือข้ามอ่าวไทยลงสู่ปักษ์ใต้ ทั้งอาจติดต่อกับเขมรและพุทไธมาศได้สะดวก ถ้าถึงที่สุดแล้วเมืองจันทบูรยังเป็นปากทางที่จะหนีไปที่อื่นๆ ได้ง่ายประการที่สี่ มีชาวจีนสายแต้จิ๋วตั้งถิ่นฐานอยู่แล้ว ย่อมมีโอกาสและกาสมัครพรรคพวกได้อีก มุ่งหน้ายึดเมืองระยองเมื่อเสด็จถึงบ้านนาเกลือ (บางละมุง) นายกล่ำเป็นนายชุมนุมคุมไพร่พลอยู่ที่นั่น คอยสกัดคิดประทุษร้าย พระเจ้าตากเสด็จทรงช้างทรงพระแสงปืนต้นรางแดงกับหมู่พลโยธาหาญ เข้าไปในหว่างพลทหารซึ่งนายกล่ำอยู่นั้น นายกล่ำกับพรรคพวกเกรงกลัวอานุภาพ วางอาวุธถวายบังคมอ่อนน้อมวันรุ่งขึ้นนายกล่ำคุมไพร่นำเสด็จไปถึงพัทยา หยุดประทับแรมรุ่งขึ้นไปประทับแรมที่นาจอมเทียน ทุ่งไก่เตี้ย สัตหีบ แห่งละคืนรุ่งขึ้นเดินทัพทางริมทะเลถึงหินโด่ง และน้ำเก่า เข้าแขวงเมืองระยองผู้รั้งเมืองระยองและกรมการทั้งปวงชวนกันมาต้อนรับเสด็จ ถวายธัญญาหารเกวียนหนึ่ง เสด็จไปประทับอยู่วัดลุ่ม ๒ วัน รับสั่งให้จัดลำเลียงอาหารขุดค่ายคูขณะนั้นมีผู้แจ้งเหตุว่า กรมการเมืองระยองมีขุนรามหมื่นส้อง นายทองอยู่นกเล็ก ขุนจ่าเมือง เป็นต้น คบคิดกันคุมพรรคพวกจะยกเข้าทำประทุษร้าย
พระเจ้าตากจึงทรงวางแผนปราบปรามจนราบคาบล้มตายแตกยับเยิน จึงตรัสให้ยับยั้งอยู่บำรุงทแกล้วทหารให้มีกำลังอยู่เมืองระยองประมาณ ๗-๘ วันเมื่อเสด็จสถิตอยู่เมืองระยอง พระเจ้าตากมีพระราชดำริให้ข้าหลวงไปเกลี้ยกล่อมพระยาจันทบูรให้ยอมอ่อนน้อม เพื่อไม่ให้เกิดสงคราม พระยาจันทบูรทำอุบายผัดผ่อนเรื่อยมาระหว่างรอเวลาให้พระยาจันทบูรยอมอ่อนน้อม พวกขุนรามหมื่นส้องกับนายทองอยู่นกเล็กที่แตกไปจากเมืองระยองลอบเข้ามาลักโคกระบือช้างม้าไปเนืองๆ
พระเจ้าตากจึงเสด็จกรีธาทหารออกจากเมืองระยอง ไปบ้านประแส บ้านไข้ บ้านคา บ้านกล่ำ บ้านแกลง ที่อ้ายขุนรามหมื่นส้องตั้งอยู่นั้นเพื่อปราบปราม ขุนรามหมื่นส้องแตกหนีไปอยู่กับพระยาจันทบูรเมื่อได้ครอบครัวช้างม้าโคกระบือล้อเกวียนที่ถูกขุนรามหมื่นส้องลักพาคืนมาแล้ว ก็เสด็จยกพลนิกรกลับมาเมืองระยอง บำรุงทแกล้วทหารรวบรวมเครื่องสรรพาวุธปืนใหญ่น้อย เกลี้ยกล่อมอาณาประชาราษฎร์อันแตกตื่นออกไปอยู่ป่าดงได้เป็นอันมาก พระเจ้าตากก็เสด็จรอท่าพระยาจันทบูรอยู่
เลียบเมืองชลบุรี
เมื่อทรงทราบว่านายทองอยู่นกเล็ก ตั้งอยู่เมืองชลบุรี ประพฤติพาลทุจริต คอยทำร้ายข่มเหงอาณาประชาราษฎร์ พระเจ้าตากจึงรับสั่งให้ยกโยธาหาญไปปราบเสด็จไปทางบ้านหนองมน แล้วหยุดประทับที่วัดหลวง ดำรัสให้สหายนายทองอยู่นกเล็กไปว่ากล่าวเกลี้ยกล่อมก่อน นายทองอยู่นกเล็กก็ยอมอ่อนน้อมโดยดี เข้ามาเฝ้าที่วัดหลวง แล้วนำเสด็จเข้าไปในเมืองชลบุรี ประทับอยู่เก๋งจีน
พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) พรรณนาต่อไปว่า
"แล้วนายทองอยู่นกเล็ก จึงนำเสด็จทรงช้างพระที่นั่ง นายบุญมีมหาดเล็กเป็นควาญท้าย เสด็จเลียบทอดพระเนตรเมืองชลบุรี แล้วนายทองอยู่นกเล็กจึงพาขุนหมื่นกรมการถวายบังคม ทรงพระกรุณาให้นายทองอยู่นกเล็กเป็น พระยาอนุราชบุรีศรีมหาสมุทร..."
เหตุการณ์ตอนนี้ อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ อธิบายไว้ในหนังสือการเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ว่าข้ามลำน้ำบางปะกงมาทางฝั่งตะวันออกตามชายทะเลนั้น ชุมชนใหญ่ที่มีกำลังมากมีอยู่ ๒ แห่ง คือ ชลบุรีหรือบางปลาสร้อยแห่งหนึ่ง และจันทบุรีแห่งหนึ่งบางปลาสร้อยนั้นมีกำลังกล้าแข็งเสียจนกระทั่งพระเจ้ากรุงธนบุรีหลบหลีกไปเสียเมื่อเสด็จไประยองแม้ภายหลังทรงสามารถเกลี้ยกล่อมให้นายทองอยู่นกเล็กเข้าเป็นพวกได้ ก็ต้องทรงประนีประนอมกับนายทองอยู่อย่างมาก นอกจากทรงยกย่องนายทองอยู่ไว้สูง คือเป็นพระยาอนุราชบุรีศรีมหาสมุทรแล้ว ยังพระราชทานสิ่งของเครื่องยศที่สูงค่าด้วยที่สุดเท่าที่ได้พระราชทานผู้นำท้องถิ่นทั้งหมดที่เข้าสวามิภักดิ์แล้วยังมีข้อตกลงที่เกือบเหมือนการยอมให้นายทองอยู่เป็นชุมนุมอิสระอีกชุมนุมหนึ่ง เพียงแต่ขึ้นกับพระองค์ซึ่งตั้งอยู่ที่ระยองเพียงในนามเท่านั้น
ตีเมืองจันทบูร
เมื่อพระเจ้าตากเสด็จกลับไปประทับอยู่เมืองระยอง ฝ่ายพระยาจันทบูรเชื่อคำยุยงของขุนรามหมื่นส้อง แต่งอุบายให้พระสงฆ์มาเชิญเสด็จไปเมืองจันทบูร แล้วจะจับกุมพระองค์พระเจ้าตากเสด็จพร้อมพหลพลนิกายตามพระสงฆ์ไปถึงบ้านพลอยแหวน พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) พรรณนาว่า... "ฝ่ายพระยาจันทบูรก็ให้หลวงปลัดกับคนที่ชื่อ, ออกมานำทัพเป็นกลอุบาย, ให้กองทัพหลวงเลี้ยวไปทางใต้เมือง จะให้ข้ามน้ำไปอยู่ฟากตะวันออก จะคอยทำร้ายเมื่อพลทหารข้ามน้ำนั้น พระองค์ทรงทราบ จึงให้นายบุญมีมหาดเล็กขึ้นม้าควบไปห้ามทหารกองหน้ามิให้ไปตามทางหลวงปลัดนำนั้น ให้กลับมาตามทางขวาง ตรงเข้าประตูท่าช้าง เสด็จประทับ ณ วัดแก้ว ริมเมืองจันทบุรี จึงให้พลทหารตั้งล้อมพระวิหารวัดแก้ว แล้วเสด็จประทับอยู่ที่นั้น..."
พระยาจันทบูรให้กรมการเมืองออกมาเชิญเสด็จ แต่พระเจ้าตากปฏิเสธ มีพระมหากรุณาตรัสให้ไปบอกว่า พระยาจันทบูรควรออกมาอ่อนน้อม แล้วส่งตัวขุนรามหมื่นส้องผู้เป็นปัจจามิตรคืนมา จึงจะเข้าไปในเมืองพระยาจันทบูรมิได้ทำตามรับสั่ง ซ้ำมิหนำยังมีพิรุธหลอกล่อหลายครั้ง พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) พรรณนาว่า... "จึงตรัสว่าพระยาจันทบูรมิได้ตั้งอยู่ในสัตยภาพแล้ว และเห็นว่าขุนรามหมื่นส้องจะช่วยป้องกันเมืองไว้ได้ ก็ให้ตกแต่งการไว้ให้มั่นคงเถิด เราจะตีเอาให้จงได้ แล้วจึงตรัสสั่งโยธาหาญทั้งปวงให้หุงอาหารรับพระราชทานแล้ว เหลือนั้นสั่งให้เทเสีย ต่อยหม้อข้าวหม้อแกงให้จงสิ้น ในเพลากลางคืนวันนี้ตีเอาเมืองจันทบูรให้ได้ไปหาข้าวกินเช้าเอาในเมือง ถ้ามิได้ก็ให้ตายเสียด้วยกันเถิด" ราวตีสามคืนนั้น พระเจ้าตากเสด็จทรงช้างพระที่นั่งเข้าทลายประตูใหญ่ พร้อมทแกล้วทหารไทยจีนบุกเข้าเมืองได้ทุกด้านพระยาจันทบูรก็พาบุตรภรรยาหนีลงเรือไปสู่ปากน้ำพุทไธมาศฐานะของชลบุรีกับจันทบูรเมืองชลบุรีกับเมืองจันทบูรสมัยนั้นมีฐานะอย่างไรแน่? อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ อธิบายไว้ในหนังสือ การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ว่านอกจากเมืองชลบุรีหรือบางปลาสร้อย เมืองจันทบูรก็เป็นเมืองใหญ่อีกเมืองหนึ่ง เกินกว่าที่กำลังของพระเจ้ากรุงธนบุรีจะยึดได้ง่ายๆ พระองค์เสด็จออกจากอยุธยาได้ ๑๗ วันก็มาถึงพัทยา อีก ๓ วันต่อมาก็เสด็จไปถึงสัตหีบ และพระระยองก็ได้มาเชิญเสด็จเข้าระยองในเวลาต่อมาหมายความว่ารวมเวลาไม่ถึงเดือนก็สามารถได้เมืองระยองไว้ในพระราชอำนาจ แต่จำเป็นที่พระองค์ต้องรอเวลาอีกกว่า ๔ เดือนจึงจะสามารถยึดจันทบูรได้นี่อาจเป็นเหตุผลที่ในระยะแรก พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงทรงพยายามใช้การเจรจากับผู้นำเมืองจันทบูร เพื่อให้ได้รับความร่วมมือแทนที่จะใช้กำลัง และทรงปล่อยให้การเจรจายืดเยื้ออยู่เป็นเวลานานบางปลาสร้อยกับจันทบูร มีร่องรอยและพยานหลักฐานชัดเจนว่า ผู้นำไม่ได้เป็นเจ้าเมืองเก่าที่อยุธยาตั้งขึ้น หากเป็นคนที่ตั้งตัวขึ้นเป็นใหญ่ในท้องถิ่นเอง โดยอาศัยความวุ่นวายปั่นป่วนที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นของตน และความอ่อนแอของรัฐบาลกลางที่ถูกข้าศึกล้อมไว้
ตีเมืองตราด
เมื่อได้เมืองจันทบูรแล้ว พระเจ้าตากให้ยกทัพทั้งทางบกและทะเลไปถึงบ้านทุ่งใหญ่ เมืองตราด อันเป็นที่ชุมนุมพ่อค้าวาณิชนายสำเภาทั้งปวงฝ่ายจีนเจียมผู้เป็นใหญ่กว่าชาวสำเภาทั้งปวงยอมสวามิภักดิ์ จึงพาธิดามาถวายพระเจ้าตากต่อเรือรบพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรีจดว่า เมื่อได้เมืองตราดแล้วพระเจ้าตากเสด็จกลับมาประทับอยู่เมืองจันทบูร "ยับยั้งอยู่ต่อเรือรบได้ ๑๐๐ ลำเศษ"
บริเวณปากแม่น้ำจันทบูรมีซากเรือจมอยู่ริมตลิ่ง เชื่อกันว่าบริเวณนี้น่าจะเป็นอู่ต่อเรือรบหรือซ่อมเรือของพระเจ้าตาก เตรียมที่จะยกเข้ายึดกรุงศรีอยุธยาคืนให้จงได้นโยบายทางการเมืองของพระเจ้าตากการที่พระเจ้าตากประสบความสำเร็จได้หัวเมืองชายทะเลตะวันออกไว้ทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด ก็เพราะกลุ่มของพระเจ้าตาก หรืออย่างน้อยตัวพระเจ้าตากเอง มีจุดมุ่งหมายทางการเมืองเด่นชัดว่าจะรื้อฟื้นพระราชอาณาจักรศรีอยุธยาขึ้นมาใหม่ และประกาศนโยบายนี้ตั้งแต่เริ่มออกจากค่ายวัดพิชัยที่อยุธยา แต่กลุ่มอื่นๆ อีกหลายกลุ่ม เพียงแต่รวมตัวกันเพื่อป้องกันตนเองหรือปล้นสะดมผู้อื่น หรือถ้าจะมีจุดมุ่งหมายทางการเมืองก็เพียงรักษาหัวเมืองหรือท้องถิ่นของตนให้ปลอดภัย อาจถึงขนาดตั้งตนเป็นใหญ่คือตั้งตนเป็นพระเจ้าแผ่นดิน แต่ก็ไม่มีนโยบายชัดเจนจนเปิดเผยว่าจะรื้อฟื้นพระราชอาณาจักรศรีอยุธยาขึ้นมาใหม่ประเด็นนี้ อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ อธิบายไว้ในหนังสือการเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ว่า พระยาตากประกาศนโยบายทางการเมืองนี้ ตั้งแต่เริ่มออกจากพระนครศรีอยุธยา แต่ก็ประกาศด้วย "ภาษาทางการเมือง" ที่เข้าใจได้ในยุคนั้น นั่นก็คือประกาศพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ไทยการประกาศตนเป็นพระมหากษัตริย์ ทำให้กองกำลังของพระยาตากกลายเป็นกลุ่มการเมืองที่ติดอาวุธไปทันที ไม่ใช่เป็นแต่เพียงกลุ่มโจรผู้ร้ายซึ่งคงมีอยู่ชุกชุมทั่วไปในขณะนั้น กลุ่มของพระยาตากจึงแตกต่างจากกลุ่มโจรอย่างเห็นได้ชัด
แม้จะแตกต่างจากกลุ่มอื่นๆ ทั่วไปในภาคกลางขณะนั้นในด้านนโยบายการเมือง แต่ในทางปฏิบัติแล้วไม่สู้จะแตกต่างกันเท่าใดนัก เพราะต้องอาศัยการปล้นสะดมเพื่อสั่งสมกำลังและเสบียงอาหารอยู่นั่นเอง แต่กลุ่มพระยาตากมีความแตกต่าง ตรงที่เมื่อปล้นได้ทรัพย์สินเงินทองและเสบียงอาหารแล้วก็เดินทัพต่อไป เพราะมีจุดมุ่งหมายทางการเมืองที่ใหญ่กว่าการเกาะกลุ่มกันเพื่อเอาชีวิตรอด
แต่กองโจรอื่นๆ ปล้นแล้วก็วนเวียนอยู่ถิ่นเดิมที่คุ้นเคยและปลอดภัย เพื่อจะปล้นอีกเมื่อขาดแคลน เพราะมีจุดหมายการปล้นเพื่อเลี้ยงชีพ ไม่ใช่อย่างอื่น การประกาศเช่นนี้ทำให้กลุ่มของพระองค์อาจได้รับความร่วมมือหรือการถวายตัวของขุนนางอย่างน้อยก็ระดับชั้นผู้น้อยบ้าง เช่น ขุนชำนาญไพรสณฑ์ พระเชียงเงิน ส่วนขุนนางชั้นผู้ใหญ่ขึ้นไปกว่าหัวหมื่นพันทนายบ้านเล็กๆ เหล่านี้ คงยังมิได้ตัดสินใจจะเข้าสวามิภักดิ์จนกระทั่งเมื่อได้ระยองแล้ว และกลุ่มของพระยาตากกลายเป็นกลุ่มการเมืองที่มีกำลังและอนาคตอยู่บ้างแล้วเท่านั้น นโยบายประกาศตนเป็นกษัตริย์ เพื่อยืนยันถึงนโยบายรื้อฟื้นพระราชอาณาจักรอยุธยานั้น ย่อมมีเสน่ห์แก่ขุนนางและเชื้อสายขุนนางในส่วนกลางเป็นธรรมดา เพียงแต่ว่าปูมหลังของพระยาตากอาจเป็นที่เหยียดหยามของเหล่าตระกูลขุนนางอยุธยา และในระยะแรกกลุ่มของพระยาตากก็ยังไม่มีความสำเร็จที่เห็นได้ชัด ว่าจะสามารถทำได้ตามนโยบาย นอกจากนี้ ก่อนกรุงแตกพระยาตากคือกบฏ ย่อมเป็นที่น่ารังเกียจแก่ขุนนางชั้นสูงเป็นธรรมดากิตติศัพท์ของพระเจ้ากรุงธนบุรี ในฐานะผู้มีนโยบายจะรื้อฟื้นกรุงศรีอยุธยา ระบือออกไปกว้างขวางยิ่งเมื่อได้ทรงตั้งมั่นในเมืองระยองแล้วเมื่อหลังเสียกรุงแล้ว โอกาสของการรักษาพระราชอาณาจักรก็ยิ่งริบหรี่ลง ชุมนุมของพระเจ้ากรุงธนบุรีซึ่งมีฐานที่มั่นอยู่ทางหัวเมืองชายทะเลด้านตะวันออก จึงเป็นความหวังเดียวของขุนนางส่วนกลาง เพราะหัวหน้าชุมนุมนี้ได้ประกาศนโยบายนี้อย่างชัดเจนมาแต่ต้น จึงไม่ประหลาดที่พวกเชื้อสายตระกูลขุนนางส่วนกลางจำนวนหนึ่งพากันเข้าสวามิภักดิ์ต่อพระองค์กันมากขึ้นกิตติศัพท์การ "กู้กรุงศรีอยุธยา" ของพระเจ้ากรุงธนบุรี ย่อมล่วงรู้อย่างดีถึงสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ซึ่งขณะนั้นประทับอยู่ที่บ้านบางช้าง (อัมพวา) เมืองราชบุรี จึงได้แนะนำนายบุญมาซึ่งเป็นพระราชอนุชาให้เข้าถวายตัวกับพระเจ้ากรุงธนบุรี เพราะมีผู้นับถือมาก การกู้กรุงศรีอยุธยาก็มีทางจะสำเร็จได้มีหลักฐานการตั้งตนเป็นกษัตริย์ของชุมนุมกลุ่มอื่นๆ อยู่บ้าง แต่ล้วนทำขึ้นเมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่ข้าศึกแล้ว และไม่มีกษัตริย์ในราชวงศ์บ้านพลูหลวงเหลืออยู่เป็นประธานของราชอาณาจักรอีก การตั้งตนเป็นกษัตริย์จึงหมายถึงการแยกตัวออกจากราชอาณาจักร ดังจะเห็นได้ว่าไม่มีชุมนุมใดเดือดร้อนใจที่จะยกกำลังเข้ายึดกรุงศรีอยุธยาจากชุมนุมของนายทองสุก สุกี้เชื้อมอญที่พม่าตั้งไว้การตั้งตนเป็นกษัตริย์ของพระเจ้ากรุงธนบุรี จึงมีเนื้อหาที่แตกต่างจากชุมนุมอื่น และเป็นที่เข้าใจได้พอสมควรในท้องที่ภาคกลางและภาคตะวันออก
ยกทัพเรือเข้ากรุง
เมื่อถึงเวลาพร้อมแล้ว พระเจ้าตากจึงทรงพระราชอุตสาหะ ยกพลทหารพร้อมสรรพด้วยเครื่องศาสตราวุธเป็นอันมาก ออกมาจากเมืองจันทบุรีมาโดยทางทะเลฆ่าเจ้าเมืองชลบุรีพระเจ้าตากทรงทราบว่า พระยาอนุราชเมืองชลบุรีกับพรรคพวกมิได้ละพยศอันร้าย กลับกระทำโจรกรรมออกตีชิงสำเภาและเรือลูกค้าวาณิชอีก จึงให้หยุดทัพเรือประทับที่เมืองชลบุรี แล้วให้หาพระยาอนุราชลงมาเฝ้า ณ เรือพระที่นั่ง มีพระราชบริหารให้พิพากษาโทษประหารชีวิตเสีย พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาพรรณนาว่า...
"พระยาอนุราชคงกระพันในตัว แทงฟันหาเข้าไม่ เพราะด้วยสะดือเป็นทองแดง จึงให้พันธนาการแล้วเอาลงถ่วงน้ำเสียในทะเลก็ถึงแก่กรรม" ยึดค่ายโพธิ์สามต้นพระเจ้าตากยกทัพเรือเข้าปากน้ำเมืองสมุทรปราการ แล้วให้เร่งเข้าตีเมืองธนบุรีฝ่ายกรมการพวกที่อยู่รักษาเมืองธนบุรีหนีขึ้นไปโพธิ์สามต้นกรุงเก่า แจ้งเหตุแก่สุกี้ผู้เป็นพระนายกอง พระนายกองก็ให้จัดพลทหารพม่า มอญ ไทย เป็นทัพเรือตั้งสกัดอยู่เพนียด แต่แล้วก็แตกหนีไปพระเจ้าตากยกเข้าตีค่ายโพธิ์สามต้น แล้วเข้าควบคุมค่ายไว้ได้ นี่เท่ากับประสบความสำเร็จในการยึดกรุงศรีอยุธยาคืน พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) พรรณนาว่า... "แล้วจึงให้เชิญเสด็จพระบรมศพพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์แห่แหนมา ณ โพธิ์สามต้น ถวายพระเพลิง..."เมืองธนบุรีเมื่อตีค่ายโพธิ์สามต้นได้ก็เท่ากับยึดราชอาณาจักรศรีอยุธยาสำเร็จ แต่แทนที่พระเจ้าตากจะประทับอยู่อยุธยา พระองค์กลับเสด็จลงไปประทับอยู่เมืองธนบุรี
ทำไมพระเจ้าตากเสด็จลงไปประทับอยู่เมืองธนบุรี?
คำถามนี้มีคำอธิบายหลายอย่าง แต่คำอธิบายที่น่าเชื่อถือมีว่า "มีรายงานบางฉบับว่า พระเจ้ากรุงธนบุรีไม่ถึงกับชนะที่ค่ายโพธิ์สามต้นอย่างเด็ดขาด เพราะขณะนั้นกองทัพของพระองค์ยังไม่สู้ใหญ่นัก การจะเอาชนะชุมนุมมอญที่โพธิ์สามต้นอย่างเด็ดขาด น่าจะเป็นเรื่องยากและต้องเสียรี้พลสูง เพราะชุมนุมนี้ได้ตั้งมาก่อนกรุงแตกแล้ว เนื่องจากเป็นที่ตั้งทัพใหญ่ของพม่า อีกทั้งได้อาญาสิทธิ์จากผู้พิชิตอีกด้วย ก็คงสามารถเก็บรวบรวมผู้คนหรือแม้แต่ขุนนางเก่าไว้ได้ไม่น้อย..." "และเพราะไม่มีพระราชอำนาจเด็ดขาดในท้องที่แถบอยุธยานี้เอง ที่ทำให้ตัดสินพระทัยในอันที่จะเสด็จมาอยู่ ณ เมืองธนบุรีแทน" พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ซึ่งเขียนในสมัยกรุงธนบุรี กล่าวถึงการเสด็จมาประทับที่เมืองธนบุรีแต่เพียงว่า เมื่อตีค่ายโพธิ์สามต้นได้แล้ว "จึงให้รับบุราณขัตติยวงศาซึ่งได้ความลำบากกับทั้งพระบรมวงศ์ลงมาทะนุบำรุงไว้ ณ เมืองธนบุรี" ข้อความทั้งเล่มในพระราชพงศาวดารฉบับนี้ ไม่มีตอนใดบอกว่าพระเจ้าตาก "ย้ายราชธานี" ลงมาอยู่เมืองธนบุรี พระเจ้าตากต้องการสร้างเมืองธนบุรีให้เป็นราชธานีหรือเปล่า? เรื่องนี้มีคำอธิบายน่าสนใจว่า "อาจกล่าวได้ว่าตลอดรัชกาลไม่ปรากฏหลักฐานที่ชี้ชัดว่า ทรงมีพระราชดำริในการยกเมืองธนบุรีขึ้นเป็นราชธานีถาวรเลย... ด้วยเหตุฉะนั้นจึงยากที่จะตัดสินได้แน่ว่า พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงมีพระราชดำริในการสร้างเมืองธนบุรีขึ้นเป็นเมืองหลวงใหม่อย่างจริงจังหรือไม่"
การรบพม่าที่บางกุ้ง
เมื่อเจ้าตากตีกรุงศรีอยุธยาคืนกลับมาได้ กิตติศัพท์ก็เลื่องลือออกไป มีผู้มาอ่อนน้อมด้วยเป็นอันมาก พวกชาวต่างประเทศที่มาค้าขาย เห็นว่าเจ้าตากได้เป็นใหญ่ในราชธานี ก็พากันนับถือว่าเป็นพระเจ้าแผ่นดินไทย เมื่อเจ้าตากมาตั้งมั่นอยู่ที่เมืองธนบุรีแล้ว จึงทำพิธีราชาภิเษก เมื่อปีกุน พ.ศ. 2310 ประกาศพระเกียรติยศเป็น พระเจ้ากรุงศรีอยุธยามหากษัตริย์แทนโบราณราชแต่ก่อน แล้วปูนบำเหน็จ นายทัพ นายกอง ที่มีความชอบ แต่งตั้งให้มียศศักดิ์ตามทำเนียมราชการ ครั้งกรุงศรีอยุธยา ครั้งนั้น นายสุดจินดาได้เป็นที่พระมหามนตรี เจ้ากรมตำรวจ แล้วได้ไปชวนหลวงยกบัตรเมืองราชบุรีผู้เป็นพี่ คือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ในเวลาต่อมา เข้ามารับราชการเป็นที่พระราชนรินทร์ เจ้ากรมตำรวจด้วย ราชอาณาเขตของพระเจ้ากรุงธนบุรีเมื่อราชาภิเษก อยู่ในเขตภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต้ตอนบน ด้านเหนือสุดถึงเขตเมืองนครสวรรค์ ตั้งแต่ปากน้ำโพลงมา ด้านตะวันออกถึงเมืองตราดจดแดนเขมร ด้านใต้ถึงเขตเมืองชุมพร คิดเป็นพื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของราชอาณาจักรครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี แต่บรรดาเมืองต่าง ๆ นอกจากหัวเมืองทางด้านตะวันออก ถูกพม่าย่ำยีจนเป็นเมืองร้างอยู่เกือบทั้งหมด เกิดการขาดแคลนอาหาร เพราะราษฎรไม่ได้ทำนาถึง 2 ปี พระเจ้ากรุงธนบุรีต้องใช้วิธีซื้อข้าวสารจากพ่อค้าต่างเมือง ซึ่งเรียกราคาสูงมากตกถังละ 4 ถึง 5 บาท รวมทั้งเครื่องนุ่งห่ม นำมาแจกจ่ายราษฎรที่ขาดแคลน ทำให้ผู้คนกลับเข้ามาอยู่ตามภูมิลำเนา เป็นเหตุให้พวกเจ้ากรุงธนบุรีมีกำลังคนมากขึ้น ด้านการปกครองหัวเมือง พระเจ้ากรุงธนบุรีก็ทรงตั้งข้าราชการออกไปปกครอง ซึ่งน่าจะมีอยู่ 11 เมือง คือ ลพบุรี อ่างทอง กรุงเก่า ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี ตราด นครชัยศรี สมุทรสงคราม และเพชรบุรี พระเจ้ากรุงธนบุรีต้องแบ่งทหารออกไป ตั้งประจำอยู่ตามหัวเมืองหลายแห่ง เช่นให้ทหารจีน ไปตั้งค่ายอยู่ที่ตำบลบางกุ้ง ที่ต่อแดนระหว่างเมืองสมุทรสงครามกับเมืองราชบุรี เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีขึ้นมาตีกรุงศรีอยุธยา เพื่อขับไล่พม่าออกไปนั้น ทางพม่าพระเจ้าอังวะทราบข่าวจากเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต เมืองเวียงจันทน์ แต่เนื่องจากขณะนั้น พระเจ้าอังวะกำลังกังวลอยู่กับการที่จะเกิดสงครามกับจีน ประกอบกับเห็นว่าเมืองไทยถูกย่ำยีอย่างยับเยิน เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่น่าจะร้ายแรงอะไร ดังนั้น จึงเป็นแต่ให้มีท้องตราสั่งแมงกี้มารหญ่า เจ้าเมืองทวาย ให้คุมกำลังมาตรวจตราดูสถานการณ์และรักษาความสงบ ราบคาบในเมืองไทย พระยาทวายจึงเกณฑ์ กำลังพล 20,000 คน ยกกำลังเข้ามาทางเมืองไทรโยค เมื่อฤดูแล้ง ปลายปีกุน พ.ศ. 2310 ในเวลานั้น เมืองกาญจนบุรี และเมืองราชบุรี ซึ่งอยู่ในเส้นทางเดินทัพของพม่า จึงยังคงเป็นเมืองร้างอยู่ทั้งสองเมือง เรือรบของพม่ายังอยู่ที่เมืองไทรโยค ค่ายคูของพม่าที่ตั้งอยู่ตามริมน้ำเมืองราชบุรีก็ยังคงอยู่ เมื่อพระยาทวายยกกองทัพเข้ามา จึงเดินทัพมาได้โดยสดวก ปราศจากการขัดขวางใด ๆ จนล่วงเข้ามาถึงบางกุ้ง เห็นค่ายทหารของพระเจ้ากรุงธนบุรีตั้งอยู่ จึงให้กองทัพเข้าล้อมไว้ เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีทราบข่าวทัพพม่ายกเข้ามา ก็จัดกำลังให้พระมหามนตรี เป็นแม่ทัพหน้า พระเจ้ากรุงธนบุรีเป็นทัพหลวง ยกกำลังทางเรือออกไปเมืองสมุทรสงคราม เมื่อถึงบางกุ้ง ก็ให้ยกกำลังเข้าโจมตีข้าศึกในวันนั้น ทหารไทยใช้อาวุธสั้นเข้าไล่ตะลุมบอนข้าศึกล้มตายเป็นอันมาก ที่เหลือตายก็แตกหนี พระยาทวายเป็นเหลือกำลังที่จะต่อสู้ ก็ถอยกำลังกลับไปเมืองทวายทางด่านเจ้าขว้าว ซึ่งเป็นด่านทางเมืองราชบุรี กองทัพไทยยึดได้เรือรบของพม่าทั้งหมด และได้เครื่องศัตราวุธ รวมทั้งเสบียงอาหารอีกด้วยเป็นอันมาก
ปราบชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก
ครั้นถึงปีชวด พ.ศ. 2311 เมื่อย่างเข้าฤดูฝน สงครามทางด้านพม่าสงบลง พระเจ้ากรุงธนบุรีก็ให้เตรียมเรือรบ และกำลังพล เพื่อจะขึ้นไปตีเมืองพิษณุโลกให้ได้ในปีนั้น ครั้นถึง เดือน 11 อันเป็นฤดูน้ำนอง พระเจ้ากรุงธนบุรีก็เสด็จยกกำลังทางเรือขึ้นไปเมืองเหนือ เมื่อเจ้าพิษณุโลกทราบข่าว จึงให้หลวงโกษา ชื่อยัง คุมกำลังมาตั้งรับที่ตำบลบางเกยชัยซึ่งอยู่ในแขวงเมืองนครสวรรค์ อยู่เหนือปากน้ำโพขึ้นไปเล็กน้อย เมื่อกองทัพพระเจ้ากรุงธนบุรียกไปถึง ก็ได้รบพุ่งกันเป็นสามารถ ฝ่ายข้าศึกยิงปืนมาถูกพระชงฆ์ของพระเจ้ากรุงธนบุรี กองทัพกรุงธนบุรีเห็นว่าจะรบพุ่งต่อไปไม่สำเร็จ ก็ถอยทัพกลับคืนมาพระนคร ฝ่าย เจ้าพระยาพิษณุโลก ครั้นทราบว่า กองทัพของตนทำให้ฝ่ายกรุงธนบุรีล่าถอยกลับไปก็ได้ใจเชื่อว่าฝ่ายตนชนะแล้ว คงจะตั้งตัวเป็นใหญ่กว่าชุมนุมทั้งปวงได้ จึงตั้งพิธีราชาภิเษกตั้งตัวขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ แต่พอราชาภิเษกแล้วได้ 7 วัน ก็เกิดโรคฝีขึ้นในลำคอถึงพิราลัย พระอินทร์อากรผู้เป็นน้องชายจึงขึ้นครองเมืองแทน แต่ไม่กล้าตั้งตัวเป็นเจ้า ตั้งแต่นั้นมา ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลกก็อ่อนแอลง เพราะผู้คนพลเมืองไม่นิยมนับถือพระอินทร์อากร เหมือนเจ้าพิษณุโลก เมื่อเหตุการณ์นี้ทราบไปถึงเจ้าพระฝาง เจ้าพระฝางเห็นเป็นโอกาสที่จะขยายอำนาจของตน จึงยกกองทัพมาตีเมืองพิษณุโลก ตั้งล้อมเมืองอยู่ 2 เดือน ชาวเมืองก็ลอบเปิดประตูเมือง ให้กองทัพเจ้าพระฝางเข้าเมือง เจ้าพระฝางก็จับพระอินทร์อากรประหารชีวิต แล้วกวาดต้อนผู้คนและเก็บทรัพย์สมบัติในเมืองพิษณุโลก พากลับไปเมืองสวางคบุรี บรรดาชาวเมืองพิษณุโลก และเมืองพิจิตร ที่หลบหนีการกวาดต้อนได้ ก็พากันอพยพครอบครัวมาพึ่งพระเจ้ากรุงธนบุรี เป็นอันมาก
ปราบชุมนุมเจ้าพิมาย
พระเจ้ากรุงธนบุรี เห็นว่าการรวมเมืองไทยนั้น ควรจะปราบชุมนุมเล็ก ๆ ก่อน ชุมนุมที่จะไปปราบครั้งนี้คือชุมนุมเจ้าพิมาย พระองค์จึงให้พระมหามนตรี กับพระราชวรินทรยกกำลังไปตีด่านกระโทก ซึ่งทางฝ่ายเจ้าพิมายให้พระยาวรวงศาธิราชเป็นผู้รักษาด่านอยู่ ส่วนพระองค์ยกไปตีด่านจอหอ ซึ่งมีพระยาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้รักษาด่าน ทั้งสองทัพตีได้ด้านทั้งสองในเวลาใกล้เคียงกัน กรมหมื่นเทพพิพิธเห็นว่าจะสู้ไม่ได้ จึงเตรียมหนีไปกรุงศรีสัตนาคนหุต แต่ถูกขุนชนะกรมการเมืองพิมายจับตัวไว้ได้เสียก่อน แล้วนำตัวมาถวายพระเจ้ากรุงธนบุรี ในตอนแรกพระเจ้ากรุงธนบุรีเห็นว่าเป็นโอรสกษัตริย์คิดจะเลี้ยงไว้ แต่กรมหมื่นเทพพิพิธมีขัตติยมานะ ไม่ยอมอ่อนน้อมด้วย พระองค์จึงให้ประหารเสีย แล้วตั้งให้ขุนชนะเป็นพระยาคำแหงสงคราม ครองเมืองนครราชสีมาต่อ
เมื่อเลิกทัพกลับกรุงธนบุรีแล้ว พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงพระราชทานความดีความชอบแก่แม่ทัพนายกองทั้งหลาย ที่สำคัญตั้งพระราชวรินทร์เป็นพระยาอภัยรณฤทธิ์ และตั้งพระมหามนตรีเป็นพระยาอนุชิตราชา ในตำแหน่งจางวางกรมตำรวจ ทั้ง 2 คน
การรักษาขอบขัณฑสีมาด้านเขมร
เมื่อต้น ปีฉลู พ.ศ. 2312 หลังจากได้พื้นที่ทางด้านตะวันออกได้บริบูรณ์ เหมือนครั้งกรุงศรีอยุธยา โดยปราบปรามชุมนุมเจ้าพิมายได้แล้ว พระเจ้ากรุงธนบุรีก็เตรียมกำลังเพื่อยกไปตีชุมนุมเจ้านคร ขณะที่เตรียมการอยู่นั้น ทางเมืองจันทบุรีได้มีใบบอกเข้ามาว่า ญวนได้ยกกำลังทางเรือมาที่เมืองบันทายมาศ เล่าลือกันว่าจะเข้ามาตีกรุงธนบุรี พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงให้เตรียมรักษาปากน้ำทั้ง 4 ทาง และให้พระยาพิชัยนายทหารจีนซึ่งเป็นข้าหลวงเดิม เลื่อนขึ้นเป็นพระยาโกษาธิบดี มีหน้าที่รักษาปากน้ำ แต่ต่อมาได้ทราบความว่า ที่ญวนยกมาครั้งนี้มิใช่มาตีเมืองไทย แต่มาด้วยเหตุภายในของกัมพูชา เนื่องจากนักองนนท์ (หรือนักองโนน) ซึ่งเป็นพระรามราชาชิงราชสมบัติกับ นักองตนซึ่งเป็นสมเด็จพระนารายณ์ราชาเจ้ากรุงกัมพูชา นักองตนไปขอกำลังญวนมาช่วย นักองนนท์สู้ไม่ได้ จึงหนีมาพึ่งพระเจ้ากรุงธนบุรี ขอให้ช่วยในฐานะที่เป็นข้าขอบขันฑสีมาเหมือนครั้งกรุงศรีอยุธยา พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงมีศุภอักษรไปยังสมเด็จพระนารายณ์ราชาว่า กรุงศรีอยุธยาได้เป็นปกติเช่นเดิมแล้ว ให้ทางกรุงกัมพูชา ส่งต้นไม้ทองเงิน กับเครื่องราชบรรณาการเข้ามาถวาย ตามราชประเพณีดังแต่ก่อน แต่สมเด็จพระนารายณ์ราชาตอบมาว่า พระเจ้ากรุงธนบุรีมิใช่เชื้อพระวงศ์ของพระมหากษัตริย์ ซึ่งครองกรุงศรีอยุธยา จึงไม่ยอมถวายต้นไม้ทองเงิน พระเจ้ากรุงธนบุรีก็ขัดเคือง จึงมีรับสั่งให้จัดกำลัง ยกไปเมืองเขมร โดยแบ่งออกเป็นสองกองทัพ ให้พระยาอภัยรณฤทธิ์ กับ พระยาอนุชิตราชา คุมกำลัง 2,000 คน ยกไปจากเมืองนครราชสีมาลงทางช่องเสม็ดไปตีเมืองเสียมราฐทางหนึ่ง ให้พระยาโกษาธิบดี คุมพล 2,000 ยกไปทางเมืองปราจีณบุรี เพื่อไปตีเมืองพระตะบองอีกทางหนึ่ง ทั้งสองเมืองนี้อยู่คนละฝั่งของทะเลสาบเขมร และสามารถเดินทางต่อไปถึงกรุงกัมพูชาได้ทั้งสอง การทำศึกครั้งนี้ จะเห็นว่ากำลังที่ยกไปไม่มาก เมื่อฝ่ายไทยยึดเมืองทั้งสองได้แล้ว ก็จะดูทีท่าของสมเด็จพระนารายณ์ราชา ว่าจะยอมอ่อนน้อมหรือไม่ ถ้าไม่ยอมอ่อนน้อม ก็คงจะต้องรอกองทัพหลวง ที่พระเจ้ากรุงธนบุรีจะได้เสด็จยกตามลงไป ตีกรุงกัมพูชาในฤดูแล้ง เนื่องจากเวลานั้น ไทยทำศึกอยู่สองด้าน คือได้ส่งกำลังไปตีชุมนุมเจ้านครด้วย ดังนั้น พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงต้องรอผลการปราบปรามชุมนุมเจ้านครอยู่ที่กรุงธนบุรี ก่อนที่จะให้มีการปฏิบัติการขั้นต่อไป เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงทราบว่า กองทัพเจ้าพระยาจักรีถอยกลับมาตั้งอยู่ที่เมืองไชยา ทรงพระดำริเห็นว่าลำพังกองทัพ เจ้าพระยาจักรีคงจะตีเอาเมืองนครศรีธรรมราชไม่ได้ และโอกาสที่จะตีเมืองนครศรีธรรมราชอยู่ในฤดูฝน มีเวลาพอที่จะทำสงครามเสร็จในฤดูแล้ง จากนั้นจะได้เสด็จไปกรุงกัมพูชาต่อไป ดังนั้น เมื่อทราบว่าทางกองทัพที่ยกไปตีกรุงกัมพูชา ยึดได้เมืองเสียมราฐ และพระตะบองได้แล้ว พระองค์จึงเสด็จทางเรือ เมื่อเดือน 8 ปีฉลู พร้อมกองทัพหลวง จากกรุงธนบุรีลงไปตีเมืองนครศรีธรรมราช และได้ทรงยับยั้งอยู่ที่เมืองนครศรีธรรมราชจนถึง เดือน 4 ปีฉลู
ฝ่ายพระยาอภัยรณฤทธิ์ พระยาอนุชิตราชา ได้ยกกำลังเข้าตีเมืองเสียมราฐได้เมื่อต้นฤดูฝน สมเด็จพระนารายณ์ราชา เจ้ากรุงกัมพูชาให้ออกญากลาโหม คุมกองทัพยกมาเพื่อตีเมืองเสียมราฐกลับคืน โดยยกกำลังมาทางน้ำมาตามทะเลสาบเขมร พระยาทั้งสองของไทยก็ตีกองทัพเขมรแตกกลับไป ออกญากลาโหมบาดเจ็บสาหัสในที่รบ ครั้นแม่ทัพฝ่ายไทย คือพระยาทั้งสองได้รับท้องตราว่า พระเจ้ากรุงธนบุรีจะเสด็จไปตีเมืองนครศรีธรรมราชในฤดูฝน และเมื่อถึงฤดูแล้ง จะเสด็จยกทัพหลวงไปตีกรุงกัมพูชา จึงได้ตั้งรอกองทัพหลวงอยู่ที่เมืองเสียมราฐ ครั้นล่วงถึงฤดูแล้ง ยังไม่ได้ยินข่าวว่า กองทัพหลวงจะยกไปตามกำหนด ก็แคลงใจ ด้วยไม่ทราบว่า พระเจ้ากรุงธนบุรีติดมรสุมอยู่ที่เมืองนครศรีธรรมราช ทราบแต่เพียงว่า พระเจ้ากรุงธนบุรีตีเมืองนครศรีธรรมราชได้ตั้งแต่เดือน 10 ครั้นเห็นเงียบหายไปนานหลายเดือน ก็เกิดข่าวลือว่า พระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จไปสิ้นพระชนม์ที่เมืองนครศรีธรรมราช เมื่อข่าวนี้ทราบไปถึงพระยาทั้งสองก็ตกใจ เกรงจะเกิดความไม่สงบขึ้นที่กรุงธนบุรี จึงได้ปรึกษากัน แล้วตกลงให้ถอนกำลังกลับมาทางเมืองนครราชสีมา ส่วนพระยาอนุชิตราชาได้ยกล่วงมาถึงเมืองลพบุรี เมื่อทราบว่าข่าวนั้นไม่เป็นความจริง จึงหยุดกำลังรออยู่ ฝ่ายพระยาโกษาธิบดี ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองพระตะบอง เมื่อทราบว่ากองทัพไทยทางเมืองเสียมราฐถอนกำลังกลับไป ก็เกรงว่าถ้าตนตั้งอยู่ที่พระตะบองต่อไป เขมรจะรวบรวมกำลังมาเข้าโจมตีได้ จึงได้ถอนกำลังกลับมาทางเมืองปราจีนบุรี แล้วมีใบบอกกล่าวโทษพระยาทั้งสองที่ได้ถอนทัพกลับมา เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีกลับมาถึงกรุงธนบุรี ได้ทราบความตามใบบอกของพระยาโกษาธิบดี จึงมีรับสั่งให้ข้าหลวง หาตัวพระยาอนุชิตราชามาถามความทั้งหมด พระยาอนุชิตราชาก็กราบทูลไปตามความเป็นจริง พระเจ้ากรุงธนบุรีทราบความแล้ว ก็ตรัสสรรเสริญว่าเป็นการกระทำที่สมควรแล้ว แล้วพระองค์จึงตรัสสั่งให้กองทัพไทยที่ยกไปตีเขมรทั้งหมด กลับคืนพระนคร ให้ระงับการตีกรุงกัมพูชาไว้ก่อน
ปราบชุมนุมเจ้านคร
การยกกำลังไปปราบปรามชุมนุมเจ้านครนั้น เป็นเวลาเดียวกันกับที่เกิดเหตุการณ์ทางเขมร ดังที่กล่าวมาแล้ว พระเจ้ากรุงธนบุรีจำเป็นต้องแบ่งกำลังออกไปปฏิบัติการสองทาง แต่เนื่องจากพระองค์ได้เตรียมการไปปราบปรามชุมนุมเจ้านครไว้แล้ว เหตุการณ์ทางเขมรเป็นเหตุการณ์ที่แทรกซ้อนขึ้นมา แต่ก็มีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการในระดับหนึ่ง เพื่อรักษาเกียรติภูมิของไทย ที่กรุงกัมพูชาเคยเป็นข้าขอบขัณฑสีมาของไทยมาก่อน แต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ดังนั้นในด้านเขมรจึงส่งกำลังไปเพียงเล็กน้อย เพื่อยึดฐานปฏิบัติการขั้นต้นไว้ก่อน คอยเวลาที่กำลังส่วนใหญ่ ที่เสร็จภารกิจการปราบปรามชุมนุมเจ้านครแล้ว มาดำเนินการขยายผลต่อไป การดำเนินการชุมนุมเจ้านคร พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงให้เจ้าพระยาจักรี (แขก) เป็นแม่ทัพใหญ่ พระยายมราช พระยาศรีพิพัฒน์ พระยาเพชรบุรี เป็นนายกอง คุมกำลังทางบกมีกำลังพล 5,000 คน ยกไปตีเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อประมาณเดือน 4 ปีฉลู พ.ศ. 2312 เมื่อกองทัพยกไปถึงเมืองชุมพร เมืองไชยา ตามลำดับกรมการเมืองทั้งสอง ก็เข้ามาอ่อนน้อมแต่โดยดี แต่เนื่องจากแม่ทัพนายกองที่ยกไปครั้งนั้น ไม่สามัคคีกัน เมื่อกองทัพยกลงไปถึงแดนเมืองนครศรีธรรมราช ข้ามแม่น้ำหลวง (แม่น้ำตาปี) ไปถึงท่าหมาก แขวงอำเภอลำพูน พบข้าศึกตั้งค่ายสกัดอยู่ กองทัพกรุงธนบุรีเข้าตีค่ายข้าศึกไม่พร้อมกัน จึงเสียทีข้าศึก พระยาศรีพิฒน์ และพระยาเพชรบุรีตายในที่รบ พระยาจักรีก็ถอยทัพกลับมาตั้งอยู่ที่เมืองไชยา ส่วนพระยายมราชก็มีใบบอก กล่าวโทษพระยาจักรีว่า มิได้เป็นใจด้วยราชการ
เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงทราบ ก็ทรงพระดำริเห็นว่า ลำพังกองทัพข้าราชเห็นจะตีเอาเมืองนครศรีธรรมราชไม่ได้ เมื่อทรงประมาณสถานการณ์แล้วเห็นว่า ทางด้านเขมรกองทัพไทยตีได้เมืองเสียมราฐ และพระตะบองแล้ว โอกาสที่จะตีเมืองนครศรีธรรมราชอยู่ในฤดูฝน และจะทำศึกด้านนี้เสร็จทันในฤดูแล้ง ซึ่งเป็นห้วงเวลาที่เหมาะสมในการไปตีกรุงกัมพูชา ดังนั้นพระองค์จึงเสด็จโดยกระบวนเรือ ออกจากกรุงธนบุรี เมื่อเดือน 8 ปีฉลู พร้อมกองทัพหลวงมีกำลังพล 10,000 คน ลงไปตีเมืองนครศรีธรรมราช กระบวนทัพไปถูกพายุที่บางทะลุ แขวงเมืองเพชรบุรี (บริเวณหาดเจ้าสำราญ ปัจจุบัน) ต้องหยุดซ่อมแซมเรือระยะหนึ่ง จากนั้นจึงยกกำลังไปยังเมืองไชยา แล้วจัดกำลังทางบก ให้พระยายมราชเป็นกองหน้า ให้เจ้าพระยาจักรีกับพระยาพิชัยราชา คุมกำลังทัพหลวงยกลงไปทางหนึ่ง พระเจ้ากรุงธนบุรีคุมกำลังลงไปอีกทางหนึ่ง กำหนดให้เข้าตีเมืองนครศรีธรรมราชพร้อมกันทั้งสองทาง ครั้งนั้น เจ้านครสำคัญว่ากองทัพกรุงธนบุรี ยกลงไปแต่ทางบกทางเดียวเช่นคราวก่อน จึงไม่ได้เตรียมการต่อสู้ทางเรือ กำลังทางเรือของพระเจ้ากรุงธนบุรียกไปถึงปากพญา อันเป็นปากน้ำเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อวันพฤหัสบดี แรม 6 ค่ำ เดือน 10 พอเจ้านครทราบก็ตกใจ ให้อุปราชจันทร์นำกำลังไปตั้งค่ายต่อสู้ที่ท่าโพธิ อันเป็นท่าขึ้นเมืองนครศรีธรรมราช อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 30 เส้น พระเจ้ากรุงธนบุรียกกำลังเข้าตีค่ายท่าโพธิแตก จับอุปราชจันทร์ได้ เจ้าเมืองนครเห็นสถานการณ์เช่นนั้น ก็ไม่คิดต่อสู้ต่อไป จึงทิ้งเมือง แล้วพาครอบครัวหนีไปเมืองสงขลา พระเจ้ากรุงธนบุรีก็ได้เมืองนครศรีธรรมราช ส่วนเจ้าพระยาจักรียกกำลังไปทางบก ไปถึงเมืองนครศรีธรรมราช หลังจากพระเจ้ากรุงธนบุรีตีเมืองได้ 8 วัน จึงถูกภาคทัณฑ์โทษที่ไปไม่พ้นตามกำหนด และให้เจ้าพระยาจักรีกับพระยาพิชัยราชา คุมกำลังทางบก ทางเรือ ไปตามจับเจ้านครเป็นการแก้ตัว จากนั้นพระเจ้ากรุงธนบุรี ก็ยกกองทัพหลวงออกจากเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อวันศุกร์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 11 ตามลงไปยังเมืองสงขลา กองทัพเจ้าพระยาจักรีกับพระยาอภัยราชายกไปถึงเมืองสงขลา ได้ทราบความว่าพระยาพัทลุงกับหลวงสงขลา พาเจ้านครหนีลงไปทางใต้ ก็ยกกำลังไปถึงเมืองเทพา อันเป็นเมืองขึ้นของสงขลาอยู่ต่อแดนเมืองมลายู สืบทราบว่าเจ้านครหนีไปอาศัยพระยาปัตตานีศรีสุลต่านอยู่ที่เมืองปัตตานี เจ้าพระยาจักรีจึงมีศุกอักษรไปยังพระยาปัตตานี ขอให้ส่งตัวเจ้านครมาให้ พระยาปัตตานีเกรงกลัว จึงจับเจ้านครพร้อมสมัคพรรคพวกส่งมาให้ เจ้าพระยาจักรีนำกำลังมาเฝ้าพระเจ้ากรุงธนบุรีที่เมืองสงขลา เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีจัดการเมืองสงขลาและพัทลุงเรียบร้อยแล้ว ก็เสด็จกลับมาเมืองนครศรีธรรมราช มาถึงเมื่อวันศุกร์ ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 12 แต่เนื่อจากในห้วงเวลานั้นเป็นมรสุมแรงทะเลมีคลื่นใหญ่ และฝนตกชุกยังเดินทางไม่ได้ จึงยับยั้งอยู่ที่เมืองนครศรีธรรมราชจนถึง เดือน 4 ปีฉลู สิ้นมรสุมแล้วจึงตั้งเจ้านราสุริยวงศ์ผู้เป็นหลานเธอ ให้ครองเมืองนครศรีธรรมราช แล้วให้เลิกทัพกลับพระนคร
ปราบชุมนุมเจ้าพระฝาง
ล่วงมาถึงปีขาล พ.ศ. 2313 มีข่าวมาถึงกรุงธนบุรีว่า เมื่อเดือน 6 ปีขาล เจ้าพระฝางให้ส่งกำลังลงมาลาดตระเวณถึงเมืองอุทัยธานี และเมืองชัยนาท เป็นทำนองว่าจะคิดลงมาตีกรุงธนบุรี พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงมีรับสั่งให้เตรียมกองทัพ จะยกไปตีเมืองเหนือในปีนั้น ขณะนั้นพวกฮอลันดาจากเมืองยะกะตรา (จาร์กาตา) ส่งปืนใหญ่มาถวาย และแขกเมืองตรังกานู ก็นำปืนคาบศิลาเข้ามาถวาย จำนวน 2,000 กระบอก พอเหมาะแก่พระราชประสงค์ของพระเจ้ากรุงธนบุรี ที่จะใช้ทำศึกต่อไปในครั้งนี้ พระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จโดยกระบวนทัพเรือ ยกกำลังออกจากกรุงธนบุรี เมื่อวันเสาร์ แรม 14 ค่ำ เดือน 8 ไปประชุมพล ณ ที่แห่งใดไม่ปรากฎหลักฐาน จัดกำลังเป็น 3 ทัพ ทัพที่ 1 พระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จไปโดยขบวนเรือมีกำลังพล 12,000 คน ทัพที่ 2 พระยาอนุชิตราชา ซึ่งได้เลื่อนขึ้นเป็นพระยายมราช ถือพล 5,000 คน ยกไปทางบกข้างฟากตะวันออกของแม่น้ำแควใหญ่ กองทัพที่ 3 พระยาพิชัยราชา ถือพล 5,000 คน ยกไปทางข้างฟากตะวันตก ฝ่ายเจ้าพระยาฝาง เมื่อทราบว่ากองทัพกรุงธนบุรียกกำลังขึ้นไปดังกล่าว จึงให้หลวงโกษา ยังคุมกำลังมาตั้งรับอยู่ที่เมืองพิษณุโลก กองทัพหลวงของพระเจ้ากรุงธนบุรี ยกขึ้นไปถึงเมืองพิษณุโลก เมื่อ วันเสาร์ แรม 2 ค่ำ เดือน 9 พระเจ้ากรุงธนบุรีมีรับสั่งให้เข้าปล้นเมืองในค่ำวันนั้น ก็ได้เมืองพิษณุโลก หลวงโกษา ยัง หนีไปเมืองเมืองสวางคบุรี พระเจ้ากรุงธนบุรีได้เมืองพิษณุโลกแล้ว กองทัพที่ยกไปทางบกยังขึ้นไปไม่ถึงทั้งสองทัพ ด้วยเป็นฤดูฝนหนทางลำบาก พระองค์ประทับที่เมืองพิษณุโลกอยู่ 9 วัน กองทัพพระยายมราชจึงเดินทางไปถึง และต่อมาอีก 2 วัน กองทัพพระยาพิชัยจึงยกมาถึง เมื่อกำลังพร้อมแล้ว พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงทรงให้กำลังทางบก รีบยกตามข้าศึกที่แตกหนีไปยังสวางคบุรี พร้อมกันทั้งสองทาง รับกำลังทางเรือให้คอยเวลาน้ำเหนือหลากลงมาก่อน ด้วยทรงพระราชดำริว่า ในเวลานั้นน้ำในแม่น้ำยังน้อย หนทางต่อไปลำน้ำแคบ และตลิ่งสูง ถ้าข้าศึกยกกำลังมาดักทางเรือจะเสียเปรียบข้าศึก ทรงคาดการณ์ว่าน้ำจะหลากลงมาในไม่ช้า และก็เป็นจริงตามนั้น พระเจ้ากรุงธนบุรี ก็เสด็จยกกำลังทางเรือขึ้นไปจากเมืองพิษณุโลก กองทัพพระยายมราชกับพระยาพิชัยราชา เมื่อยกไปถึงเมืองสวางคบุรีแล้วก็ล้อมเมืองไว้ เจ้าพระฝางรักษาเมืองไว้ได้ 3 วัน ก็นำกำลังยกออกจากเมือง ตีฝ่าวงล้อมหนีขึ้นไปทางเหนือ ชุมนุมเจ้าพระฝางก็ตกอยู่ในอำนาจกรุงธนบุรี เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีปราบชุมนุมเจ้าพระฝางได้แล้ว ก็เท่ากับได้เมืองเหนือกลับมาทั้งหมด พระองค์ได้ประทับจัดการปกครองเมืองเหนืออยู่ตลอดฤดูน้ำ เกลี้ยกล่อมราษฎรที่แตกฉานซ่านเซ็น ให้กลับมาอยู่ตามภูมิลำเนาเดิม จัดการสำรวจไพร่พลในเมืองเหนือทั้งปวง พบว่า เมืองพิษณุโลกมีพลเมือง15,000 คน เมืองสวรรคโลก มี 7,000 คน เมืองพิชัย รวมทั้งเมือง สวรรคบุรี มี 9,000 คน เมืองสุโขทัย มี 5,000 คน เมืองกำแพงเพชร และเมืองนครสวรรค์ มีเมืองละ 3,000 คนเศษ จากนั้นได้ทรงตั้งข้าราชการซึ่งมีบำเหน็จความชอบในการสงครามครั้งนั้นคือ
พระยายมราช ให้เป็นเจ้าพระยาสุรสีห์พิษณวาธิราช อยู่สำเร็จราชการเมืองพิษณุโลก
พระยาพิชัยราชา ให้เป็นเจ้าพระยาพิชัยราชา สำเร็จราชการเมืองสวรรคโลก
พระยาสีหราชเดโชชัย ให้เป็นพระยาพิชัย
พระยาท้ายน้ำ ให้เป็นพระยาสุโขทัย
พระยาสุรบดินทร์ เมืองชัยนาท ให้เป็นพระยากำแพงเพชร
พระยาอนุรักษ์ภูธร ให้เป็นพระยานครสวรรค์
เจ้าพระยาจักรี (แขก) นั้นอ่อนแอในสงคราม มีรับสั่งให้เอาออกเสียจากตำแหน่งสมุหนายก
พระยาอภัยรณฤทธิ์ ให้เป็นพระยายมราช และให้บัญชาการกระทรวงมหาดไทยแทนสมุหนายกด้วย เมื่อจัดการหัวเมืองเหนือเสร็จแล้ว จึงเสด็จกลับกรุงธนบุรี
พม่าตีเมืองสวรรคโลก
ในเวลานั้นพม่ายังปกครองเมืองเชียงใหม่อยู่ พระเจ้าอังวะตั้งอภัยคามณี ซึ่งได้เลื่อนยศเป็นโปมะยุง่วน มาเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่ ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยายังไม่เสียแก่พม่า เมื่อกองทัพกรุงธนบุรียกขึ้นไปตีเมืองสวางคบุรี พวกเจ้าพระฝางหนีไปพึ่งพม่าทางเชียงใหม่ โปมะยุง่วน เห็นเป็นโอกาสที่จะแผ่อาณาเขตต่อลงมาทางใต้ จึงยกกองทัพลงมาตีเมืองสวรรคโลก เมื่อเดือน 3 ปีขาล พ.ศ. 2313 ขณะนั้น เจ้าพระยาพิชัยราชาเพิ่งไปอยู่เมืองสวรรคโลกยังไม่ถึง 3 เดือน กำลังรี้พลยังน้อยอยู่ แต่เมืองสวรรคโลกมีป้อมปราการสร้างไว้แต่โบราณ ยังมั่นคงแข็งแรงดีอยู่ เจ้าพระยาพิชัยราชาจึงรักษาเมืองมั่นไว้ แล้วบอกหัวเมืองใกล้เคียง ขอกำลังมาช่วยรบพม่า กองทัพเชียงใหม่ก็ตั้งล้อมเมืองไว้ ครั้นเจ้าพระยาสุรสีห์ พระยาพิชัย พระยาสุโขทัย ยกกองทัพไปถึง จึงเข้าตีกระหนาบ กองทัพพม่าก็แตกพ่ายกลับไปโดยง่าย
ไทยตีเมืองเชียงใหม่ครั้งแรก
ครั้งพม่ายกมาตีเมืองสวรรคโลกนั้น พระเจ้ากรุงธนบุรีเพิ่งเสด็จยกทัพกลับจากเมืองเหนือไม่นาน ครั้นได้ทราบความตามใบบอกว่า โปมะยุง่วน เจ้าเมืองเชียงใหม่ยกทัพลงมาทางใต้ ก็ทรงกังวลด้วยเมืองเหนือยังไม่เป็นปึกแผ่น พระองค์จึงรวบรวมผู้คนเข้าเป็นกองทัพหลวง เสด็จยกกองทัพกลับขึ้นไปเมืองเหนืออีก ในเดือน 4 ปีขาล เมื่อเสด็จไปถึงเมืองนครสวรรค์ จึงทราบว่าพวกเจ้าเมืองทางเหนือ ได้ยกกำลังมาช่วยเมืองสวรรคโลก ตีกองทัพข้าศึกแตกกลับไปแล้ว พระเจ้ากรุงธนบุรีเห็นเป็นโอกาสอันควร ที่จะยกทัพขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่ พระองค์จึงยกกองทัพหลวงไปตั้งที่เมืองพิชัย แล้วเรียกกองทัพหัวเมืองเข้ามาสมทบ จากนั้นจึงยกกำลังขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่ เมื่อต้นปี เถาะ พ.ศ. 2314 ด้วยกำลังพล 15,000 คน ให้เจ้าพระยาสุรสีห์เป็นนายทัพหน้า คุมพลพวกหัวเมืองยกขึ้นไปก่อน พระเจ้ากรุงธนบุรีเป็นจอมทัพยกทัพหลวงตามไป เดินทัพไปทางเมืองสวรรคโลก เมืองเถิน เมืองลี้ ครั้งนั้น เจ้าเมืองรายทาง มีพระยาแพร่มังชัยเป็นต้น เข้ามาสวามิภักดิ์ ส่วนที่ไม่ได้เข้ามาสวามิภักดิ์ก็ไม่ได้ต่อสู้ กองทัพกรุงธนบุรียกขึ้นไปถึงเมืองลำพูนโดยสดวก โปมะยุง่วนไม่ได้จัดกำลังมาต่อสู้ระหว่างทาง เป็นแต่แต่งกองทัพ ออกมาตั้งค่ายอยู่นอกเมือง พอกองทัพหน้าของเจ้าพระยาสุรสีห์ไปถึง ก็เข้าโจมตีค่ายข้าศึก แตกหนีกลับเข้าไปในเมือง โปมะยุง่วนก็ให้กองทัพตั้งรักษาเมืองไว้อย่างมั่นคง กองทัพกรุงธนบุรีไปถึง ก็ให้เข้าล้อมเมืองไว้ แล้วเข้าตีเมืองครั้งหนึ่ง รบกันอยู่เกือบครึ่งคืน ตั้งแต่ เวลา 3 นาฬิกาจนรุ่งสว่าง ไม่สามารถเข้าเมืองได ้ ต้องถอนกำลังกลับออกมา พระเจ้ากรุงธนบุรีมีดำรัสว่า เมืองเชียงใหม่มีป้อมปราการมั่นคงนัก พระมหากษัตริย์ พระองค์ใดเสด็จไปตีเมืองเชียงใหม่ครั้งแรกคงตีไม่ได้ ต้องตีครั้งที่ 2 จึงจะได้ ดังนั้น เมื่อพระองค์ประทับล้อมเมืองเชียงใหม่อยู่ 9 วัน จึงดำรัสสั่งให้ถอยทัพกลับลงมา ฝ่ายโปมะยุง่วน เห็นไทยถอย จึงให้กองทัพออกติดตามตี จนกองหลังของกองทัพกรุงธนบุรีระส่ำระสาย มาจนถึงกองทัพหลวง พระเจ้ากรุงธนบุรีเห็นดังนั้น จึงเสด็จลงไปคุมกองหลัง ทรงพระแสงดาบนำทหารเข้าต่อสู้ข้าศึกด้วยพระองค์เอง ทำให้ทหารพากันฮึกเหิม กลับเข้าต่อสู้ข้าศึกถึงตะลุมบอน ข้าศึกต้านทานไม่ไหวก็ถอยหนีกลับไป เมื่อกองทัพถอนกลับมาที่เมืองพิชัยแล้วเดินทางกลับกรุงธนบุรี
การได้เขมรมาอยู่ในขัณฑสีมา
ฝ่ายกรุงกัมพูชา สมเด็จพระนารายณ์ราชา เมื่อได้ข่าวว่าพม่ายกกองทัพลงมาทางเมืองเหนือ เห็นเป็นโอกาสที่จะซ้ำเติมไทย จึงให้นักพระโสทศเจ้าเมืองเปียม ยกกองทัพมาตีเมืองตราด และเมืองจันทบุรี เมื่อปลายปีขาล ซึ่งในห้วงนั้น พระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จไปตีเมืองเชียงใหม่ กองทัพเมืองจันทรบุรีตีกองทัพเขมรแตกกลับไป พอเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จกลับจากการทัพเชียงใหม่ ทรงทราบพฤติกรรมซ้ำเติมไทยของเขมรครั้งนี้ ก็ทรงขัดเคือง ครั้นพักรี้พลพอสมควรแล้ว พอถึงปลายฤดูฝน ก็ทรงให้เตรียมทัพไปตีกรุงกัมพูชา ทรงตั้งพระยายมราชซึ่งรั้งตำแหน่งสมุหนายก เป็นเจ้าพระยาจักรี แทนเจ้าพระยาจักรีแขก ซึ่งถึงแก่อสัญกรรมครั้งไปสงครามเมืองเหนือ และตั้งพระยาราชวังสัน บุตรเจ้าพระยาจักรีแขก เป็นพระยายมราช แล้วดำรัสสั่งให้เจ้าพระยาจักรี เป็นแม่ทัพบกคุมกำลัง 10,000 คน ยกไปทางเมืองปราจีนบุรี และได้พาพระรามราชาไปในทางกองทัพด้วย เพื่อจะได้ให้เกลี้ยกล่อมพวกเขมรด้วยกัน ให้กองทัพบกเข้าตีเมืองพระตะบอง เมืองโพธิสัตว์ เข้าไปจนถึงเมืองบันทายเพชร ซึ่งเป็นราชธานีของกรุงกัมพูชา ส่วนกำลังทางเรือมีจำนวนเรือรบ 100 ลำ เรือทะเล 100 ลำ กำลังพล 15,000 คน ให้พระยาโกษาธิบดีเป็นกองหน้า พระเจ้ากรุงธนบุรีเป็นจอมพลในกองหลวง ยกออกจากกรุงธนบุรี เมื่อวันแรม เดือน 11 ไปประทับที่ปากน้ำเมืองจันทบุรี แล้วให้พระยาโกษาธิบดีกองหน้ายกกำลังไปตีเมืองกำพงโสมก่อน ต่อมาอีก 6 วัน พระเจ้ากรุงธนบุรีก็ยกกองทัพหลวงตามลงไป พระองค์เสด็จถึงปากน้ำเมืองบันทายมาศ เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 12 ให้เกลี้ยกล่อม พระยาราชาเศรษฐี เจ้าเมืองบันทายมาศ ให้มาอ่อนน้อม แต่พระยาราชาเศรษฐีไม่ยอมมาอ่อนน้อม จึงมีรับสั่งให้เข้าตีเมืองบันทายมาศ และตีได้เมื่อวันขึ้น 10 ค่ำ เดือน 11 พระยาราชาเศรษฐีลงเรือ หนีออกทะเลไปได้ เมื่อได้เมืองบันทายมาศแล้ว ก็ให้กระบวนทัพเรือ เข้าคลองขุดไปยังเมืองพนมเปญ ฝ่ายเจ้าพระยาจักรี ยกกำลังทางบกตีได้เมืองพระตะบอง เมืองโพธิสัตว์ และเมืองบริบูรณ์ได้โดยลำดับ ยังแต่จะถึงเมืองบันทายเพชร สมเด็จพระนารายณ์ราชาเห็นว่าจะสู้ไม่ได้ จึงทิ้งเมืองบันทายเพชร อพยพครอบครัว หนีไปเมืองบาพนม เมื่อเจ้าพระยาจักรีได้เมืองบันทายเพชรแล้ว ก็ลงไปเฝ้าพระเจ้ากรุงธนบุรี ที่เมืองพนมเปญ พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงมีรับสั่ง ให้เจ้าพระยาจักรียกกำลังตามไปยังเมืองบาพนม แล้วพระองค์จึงเสด็จยกทัพหลวงตามไป เมื่อได้ความว่า สมเด็จพระนารายณ์ราชา หนีต่อไปยังเมืองญวนแล้ว จึงเสด็จกลับมาที่เมืองพนมเปญ เจ้าพระยาจักรีเมื่อยกกำลังไปถึงเมืองบาพนมแล้วไม่มีการต่อสู้ เมื่อจัดการบ้านเมืองเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็กลับมาเฝ้าพระเจ้ากรุงธนบุรีที่เมืองพนมเปญ ฝ่ายพระยาโกษาธิบดีตีได้เมืองกำพงโสมแล้ว เตรียมการจะเข้าตีเมืองกำปอดต่อไป แต่พระยาปังกลิมา เจ้าเมืองกำปอดมายอมอ่อนน้อมก่อน จึงได้พามาเฝ้าพระเจ้ากรุงธนบุรี ที่เมืองพนมเปญ พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงมอบกรุงกัมพูชา ให้พระรามราชาปกครอง แล้วเลิกทัพกลับในเดือนอ้าย ปีเถาะ พ.ศ. 2314 เมื่อกองทัพกรุงธนบุรีถอนกำลังกลับแล้ว สมเด็จพระนารายณ์ราชา ก็ขอกำลังญวน มาป้องกันตัว แล้วกลับมาอยู่ที่แพรกปรักปรัด ไม่กล้าเข้าไปอยู่ที่เมืองบันทายเพชรอย่างเดิม ฝ่ายพระรามราชาก็ตั้งอยู่ที่เมืองกำปอด เมืองกัมพูชาจึงแยกออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายใต้ขึ้นอยู่กับสมเด็จพระนารายณ์ราชา ฝ่ายเหนือขึ้นกับพระรามราชา ต่อมาเมื่อญวนเกิดกบฏไกเซิน ราชวงศ์ญวนพ่ายแพ้พวกกบฏ สมเด็จพระนารายณ์ราชาขาดญวนมาสนับสนุน จึงได้ขอปรองดองกับพระรามราชา โดยให้พระรามราชาครองกรุงกัมพูชา ส่วนพระนารายณ์ราชาขออยู่ในฐานะรองลงมา พระรามราชาจึงบอกเข้ามายังกรุงธนบุรี พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงโปรดให้อภิเษกนักองนนท์ เป็นสมเด็จพระรามราชา เจ้ากรุงกัมพูชา ทรงตั้งนักองตนซึ่งเป็นสมเด็จพระนารายณ์ ให้เป็นที่มหาอุปโยราช และให้นักองธรรมเป็นที่มหาอุปราช ตั้งแต่นั้นมา กรุงกัมพูชาก็เป็นประเทศราช ขึ้นต่อกรุงธนบุรี เช่นเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยา
พม่าตีเมืองพิชัย ครั้งที่ 1
เมื่อปีเถาะ พ.ศ. 2314 ในแว่นแคว้นกรุงศรีสัตนาคนหุต เจ้าสุริยวงศ์ เจ้าเมืองหลวงพระบางเกิดวิวาทกับ เจ้าบุญสาร เจ้าเมืองเวียงจันทน์ เจ้าสุริยวงศ์ยกกำลังไปตีเมืองเวียงจันทน์ เจ้าบุญสารเกรงว่าจะสู้ไม่ได้ จึงขอให้ พระเจ้าอังวะส่งกำลังมาช่วย ขณะนั้นทางอังวะเสร็จศึกจีนแล้ว พระเจ้ามังระเจ้ากรุงอังวะจึงส่งกำลัง 5,000 คน มีโปสุพลาเป็นแม่ทัพ ยกมาช่วยเมืองเวียงจันทน์ เจ้าสุริยวงศ์ทราบเรื่อง จึงต้องถอยกำลังมารักษาเมืองหลวงพระบาง เพราะอยู่บนเส้นทางที่กองทัพพม่าจะยกไปเวียงจันทน์ โปสุพลาเข้าตีเมืองหลวงพระบางได้แล้ว ก็ไปตั้งอยู่ที่เมืองเชียงใหม่ เพื่อคอยป้องกันไทยยกกำลังขึ้นไป เมื่อกองทัพยกผ่านเมืองน่าน จึงแบ่งกำลังให้ชิกชิงโบ นายทัพหน้ายกเข้ามายึดได้เมืองลับแล แล้วเลยไปตีเมืองพิชัยเมื่อฤดูแล้ง ปลายปีมะโรง พ.ศ. 2315 พระยาพิชัยรักษาเมืองไว้มั่น และขอกำลังจากเมืองพิษณุโลกไปช่วย กองทัพเมืองพิษณุโลกไปถึงก็เข้าตีค่ายพม่า พระยาพิชัยก็ยกกำลังออกตีกระหนาบ ได้รบพุ่งกันถึงขั้นตะลุมบอน ฝ่ายพม่าสู้ไม่ได้ก็แตกหนีไป
พม่าตีเมืองพิชัย ครั้งที่ 2
เมื่อต้นปีมะเส็ง พ.ศ. 2316 พวกเมืองเวียงจันทน์เกิดวิวาทกันเอง พวกหนึ่งจึงไปขอกำลังจากโปสุพลาที่เชียงใหม่ไปช่วย โปสุพลายกกำลังไประงับเหตุเสร็จสิ้นแล้ว ได้ค้างฤดูฝนอยู่ที่เมืองเวียงจันทน์ แล้วบังคับให้เจ้าบุญสารส่งบุตรธิดา กับเสนาบดีผู้ใหญ่ไปเป็นตัวจำนำอยู่ที่เมืองอังวะ เมื่อสิ้นฤดูฝนโปสุพลาก็ยกกองทัพกลับจากเมืองเวียงจันทน์ เลยถือโอกาสมาตีเมืองพิชัย เพื่อทดสอบกำลังของฝ่ายไทย หรือมิฉะนั้นก็เป็นการแก้มือที่แพ้ไทยไปครั้งก่อน ครั้งนี้ เจ้าพระยาสุรสีห์ และพระยาพิชัย คอยระมัดระวังติดตามการเคลื่อนไหวของข้าศึกอยู่ก่อนแล้ว จึงได้วางแผนการรบ โดยยกกำลังไปตั้งซุ่มสกัดข้าศึก ณ ชัยภูมิบนเส้นทางเดินทัพของข้าศึก ฝ่ายไทยก็ตีทัพโปสุพลาแตกกลับไป เมื่อวันแรม 7 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะเส็ง พ.ศ. 2316 การรบครั้งนี้ เมื่อเข้ารบประชิดพระยาพิชัยถือดาบสองมือ นำกำลังเข้าประจัญบาญกับข้าศึกอย่างองอาจกล้าหาญ จนดาบหัก กิตติศัพท์ครั้งนี้เป็นที่เลื่องลือ จึงได้ชื่อว่า พระยาพิชัยดาบหัก ตั้งแต่นั้นมา
ไทยตีเมืองเชียงใหม่ ครั้งที่ 2
พระเจ้ามังระเสร็จศึกกับจีนเมื่อปีเถาะ พ.ศ. 2314 และทราบว่าพระเจ้ากรุงธนบุรี ยกกองทัพขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่ เกรงว่าไทยจะแข็งแกร่งขึ้น จึงคิดมาตีเมืองไทยให้ราบคาบอีกครั้งหนึ่ง การดำเนินสงครามก็ใช้วิธีที่เคยใช้ได้ผลมาแล้วคือ ยกกำลังลงมาจากเชียงใหม่ทางหนึ่ง อีกทางหนึ่งยกมาทางด่านเจดีย์สามองค์ กำลังทั้งสองส่วนนี้จะยกมาบรรจบกันที่กรุงธนบุรี ดังนั้นจึงส่งกำลังเพิ่มเติมเข้ามาให้โปสุพลา แล้วให้โปสุพลาเป็นแม่ทัพ ยกลงมาจากเชียงใหม่ ส่วนกำลังที่จะยกมาทางด่านเจดีย์สามองค์นั้น พระเจ้าอังวะให้ปะกันหวุ่น ซึ่งได้เลื่อนขึ้นเป็นเจ้าเมืองเมาะตะมะ ตำแหน่งเทศาภิบาลมณฑลหัวเมืองมอญฝ่ายได้เป็นแม่ทัพ
ปะกันหวุ่นได้เตรียมการตั้งแต่ปีมะเส็ง พ.ศ. 2316 โดยให้เกณฑ์มอญตามหัวเมืองที่ต่อแดนไทย 3,000 คน มอบภารกิจให้แพกิจาคุมกำลัง 500 คน มาทำทางที่จะยกกองทัพเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ วางแผนตั้งยุ้งฉางไว้ตามเส้นทาง ตั้งแต่เชิงเขาบันทัดด้านแดนพม่า มาจนถึงตำบลสามสบ ท่าดินแดงในแดนไทย
ครั้งนั้นมีพระยามอญเป็นหัวหน้า 4 คน คือพระยาเจ่ง เจ้าเมืองเตริน เป็นหัวหน้ามาทำทางอยู่ในป่าเมืองเมาะตะมะ พม่าได้ทำทารุณกรรมพวกมอญด้วยประการต่าง ๆ พวกมอญโกรธแค้นจึงคบคิดกัน จับแพกิจากับทหารพม่าฆ่าเสีย แล้วรวมกำลังกันยกกลับไป มีพวกมอญมาเข้าด้วยเป็นอันมาก เมื่อเห็นเป็นโอกาส จึงยกไปตีเมืองเมาะตะมะได้ แล้วขยายผลยกขึ้นไปตีเมืองสะโตง และเมืองหงสาวดี ได้ทั้งสองเมือง แล้วขยายผลต่อไปโดยเข้าตีเมืองย่างกุ้ง รบพุ่งติดพันกับพม่าอยู่
พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงทราบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว ทรงเห็นว่าพม่าจะต้องปราบปรามมอญอยู่นาน เป็นโอกาสที่ไทยจะชิงตีเมืองเชียงใหม่ ตัดกำลังพม่าเสียทางหนึ่งก่อน จึงมีรับสั่งให้เกณฑ์กำลังหัวเมืองฝ่ายเหนือมีจำนวน 20,000 คน ไปรวมพลรออยู่ที่บ้านระแหงแขวงเมืองตาก แล้วให้เกณฑ์คนในกรุงธนบุรี และหัวเมืองชั้นในเป็นกองทัพหลวงมีจำนวน 15,000 คน พระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จโดยกระบวนเรือ ออกจากพระนคร เมื่อวันอังคาร แรม 11 ค่ำ เดือน 12 ปีมะเมีย พ.ศ. 2317 ขึ้นไปทางเมืองกำแพงเพชร แล้วให้ประชุมทัพที่บ้านระแหง ตรงที่ตั้งเมืองตากปัจจุบันนี้
ในขณะที่ฝ่ายไทยประชุมทัพอยู่ที่เมืองตากนั้น ก็ได้ข่าวมาว่า พระเจ้าอังวะให้อะแซหวุ่นกี้ ยกกำลังไปปราบพวกมอญ ที่ขึ้นไปตีเมืองย่างกุ้งเป็นผลสำเร็จ พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงมีพระราชดำริว่า โอกาสที่จะตีเมืองเชียงใหม่เหลือน้อยแล้ว พม่าคงติดตามมอญมาเมืองเมาะตะมะ และเมื่อพวกมอญหนีเข้ามาอาศัยเมืองไทย เช่นเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยา พม่าก็จะยกกำลังติดตามมา ถ้าตีเชียงใหม่ได้ช้าหรือไม่สำเร็จ ก็อาจถูกพม่ายกเข้ามาตีตัดด้านหลัง ทั้งทางด้านเมืองกาญจนบุรี และด้านเมืองตาก เมื่อพระองค์ได้ทรงปรึกษากับแม่ทัพนายกองแล้วเห็นว่า มีเวลาพอจะตีเมืองเชียงใหม่ได้ นับว่าเป็นการเสี่ยงที่ใคร่ครวญแล้ว พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงมีดำรัสให้เจ้าพระยาจักรี เป็นแม่ทัพใหญ่ คุมกองทัพหัวเมืองเหนือ ยกขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่กับเจ้าพระยาสุรสีห์ ส่วนกองทัพหลวงตั้งรอฟังข่าวทางเมืองเมาะตะมะอยู่ที่เมืองตาก เพื่อคอยแก้สถานการณ์ กองทัพเจ้าพระจักรีกับเจ้าพระยาสุรสีห์ ยกกำลังขึ้นไปทางเมืองนครลำปาง
ฝ่ายโปสุพลาจึงให้โปมะยุง่วนอยู่รักษาเมืองเชียงใหม่ แล้วจัดกองทัพให้พระยาจ่าบ้านกับพระยากาวิละคุมกำลังชาวเมือง 1,000 คน เป็นกองหน้า โปสุพลายกกำลัง 9,000 คน ยกตามมาหมายจะไปตั้งต่อสู้ที่เมืองนครลำปาง พระยาจ่าบ้านกับพระยากาวิละเป็นไทยชาวลานนา รู้ว่าไทยข้างเมืองใต้พอเป็นที่พึ่งได้ ก็พาพวกกองหน้ามาสามิภักดิ์ต่อเจ้าพระยาจักรี เจ้าพระยาจักรีจึงให้ทั้งสองพระยาถือน้ำกระทำสัตย์ แล้วจึงให้นำทัพไทยยกขึ้นไปเชียงใหม่ เมื่อโปสุพลาทราบเรื่อง จึงรีบถอยกำลังกลับไปรักษาเมืองเชียงใหม่ ให้วางกำลังตั้งค่ายสกัดทาง อยู่ริมฝั่งแม่น้ำพิงเก่าข้างเหนือเมืองลำพูนกองหนึ่ง ส่วนโปสุพลากับโปมะยุง่วนไปเตรียมต่อสู้ที่เมืองเชียงใหม่
ขณะเมื่อเจ้าพระยาจักรีได้เมืองลำปางนั้น พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงทราบว่ามอญเสียที แตกหนีพม่าลงมาเมืองร่างกุ้ง อะแซหวุ่นกี้ยกกองทัพติดตามลงมา พวกมอญกำลังอพยพครอบครัวหนีเข้ามาอยู่เมืองไทยเป็นอันมาก พระองค์จึงดำรัสสั่งลงมาทางกรุงธนบุรี ให้พระยายมราชแขก คุมกองทัพออกไปตั้งกักด่านที่ตำบลท่าดินแดง แขวงเมืองท่าขนุน ในลำน้ำไทรโยค คอยรับครัวมอญ ที่จะเข้ามาทางด่านพระเจดีย์สามองค์ ให้พระยากำแหงวิชิต คุมกำลัง 2,000 คน ตั้งอยู่ที่บ้านระแหง คอยรับครัวมอญที่จะเข้ามาทางด่านเมืองตาก แล้วพระองค์เสด็จยกทัพหลวง ออกจากบ้านระแหง เมื่อวันศุกร์ แรม 5 ค่ำ เดือนอ้าย ปีมะเมีย พ.ศ. 2317 ตามกองทัพเจ้าพระยาจักรีขึ้นไปยังเมืองเชียงใหม่
กองทัพเจ้าพระยาจักรี ยกขึ้นไปจากเมืองนครลำปางถึงเมืองลำพูน พบกองทัพพม่าตั้งค่ายสกัดอยู่ที่ริมน้ำพิงเก่า ก็ให้เข้าโจมตีค่ายพม่า ได้รบพุ่งติดพันกันอยู่หลายวัน กองทัพหลวงพระเจ้ากรุงธนบุรียกไปถึงเมืองลำพูน เมื่อวันอังคาร ขึ้น 2 ค่ำ เดือนยี่ แล้วตั้งทัพอยู่ที่เมืองลำพูน เจ้าพระยาจักรี เจ้าพระยาสุรสีห์ และเจ้าพระยาสวรรค์โลก ระดมตีค่ายพม่าแตกกลับไปเมืองเชียงใหม่ แล้วก็ไล่ติดตามไปล้อมเมืองเชียงใหม่ไว้ โดยให้ตั้งค่ายล้อมเมืองเชียงใหม่จำนวน 34 ค่าย ชักปีกกาตลอดถึงกัน 3 ด้าน คือด้านตะวันออก ด้านใต้ และด้านตะวันตก คงเหลือแต่ด้านเหนือ ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของเจ้าพระยาสวรรค์โลก ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงมีรับสั่งให้ขุดคู วางขวากและวางปืนจุกช่องเตรียมไว้ทุกค่าย แล้วให้ขุดคูทางเดินเข้าไปประชิดตัวเมือง สำหรับให้คนเดินบังทางปืนเข้าไป ถ้าหากว่าข้าศึกยกออกมาตี ก็ให้ไล่คลุกคลีติดพันตามเข้าเมืองไป
โปสุพลา โปมะยุง่วน เห็นฝ่ายไทยตั้งค่ายล้อมเมืองดังกล่าว จึงคุมกำลังออกมาตั้งค่ายประชิด แล้วยกกำลังเข้าปล้นค่ายไทยหลายครั้ง แต่ถูกฝ่ายไทยตีโต้ถอยกลับเข้าเมืองไปทุกครั้ง สุดท้ายจึงได้แต่รักษาเมืองมั่นไว้ ขณะนั้นพวกชาวเมืองเชียงใหม่ ที่หลบหนีพม่าไปซุ่มอยู่ในป่าเขา เห็นฝ่ายไทยไปตั้งค่ายล้อมพม่าอยู่ ก็พากันออกมาเข้ากับกองทัพไทยเป็นอันมาก พวกที่อยู่ในเมือง ก็พากันหลบหนีเล็ดลอดออกมาเข้ากับฝ่ายไทยอยู่ไม่ขาดสาย จนได้ครอบครัวชาวเชียงใหม่ ที่มาเข้ากับกองทัพไทยมีจำนวนกว่า 5,000 คน
ขณะนั้น เหตุการณ์ข้างเหนือกับข้างใต้ ได้เกิดกระชั้นกันเข้าทุกขณะ กล่าวคือมีข่าวว่า พม่ายกกำลังตามครัวมอญ เข้ามาทางด่านบ้านนาเกาะดอนเหล็ก แขวงเมืองตากมีกำลังประมาณ 2,000 คน พระเจ้ากรุงธนบุรี จึงดำรัสสั่งให้เจ้ารามลักษณ์ หลานเธอแบ่งพลจากกองทัพหลวง 1,800 คน ยกลงมาทางบ้านจอมทองเพื่อรับมือกับข้าศึกที่ยกเข้ามาทางด้านนี้ แต่ต่อมาเมื่อทรงทราบว่ากำลังพม่ามีปฏิบัติการไม่เข้มแข็ง จึงทรงให้ยกเลิกภารกิจนี้ แล้วดำรัสให้มีตราถึงพระยากำแหงวิชิต ให้แบ่งกำลังที่เมืองตากออกไปตั้งรักษาด่านบ้านนาเกาะเหล็ก คอยรับครัวมอญที่จะตามเข้ามาทีหลังต่อไป
พระเจ้ากรุงธนบุรีได้เสด็จยกกองทัพหลวง จากเมืองลำพูนขึ้นไปเชียงใหม่ เมื่อวันเสาร์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือนยี่ ตั้งค่ายหลวงประทับที่ริมน้ำใกล้เมืองเชียงใหม่ ในวันนั้น เจ้าพระยาจักรียกกำลังเข้าตีข้าค่ายพม่า ซึ่งออกมาตั้งรับอยู่นอกเมือง ข้างด้านใต้กับด้านตะวันตก ได้หมดทุกค่าย เจ้าพระยาสุรสีห์ก็ยกกำลังเข้าตีค่ายพม่า ที่ออกมาตั้งรับตรงปากประตูท่าแพด้านตะวันออก ได้ทั้ง 3 ค่าย และในค่ำวันนั้นเอง โปสุพลากับโปมะยุง่วนก็ทิ้งเมืองเชียงใหม่ อพยพผู้คนหนีออกไปทางประตูช้างเผือกข้างด้านเหนือ ฝ่ายไทยยกกำลังออกไล่ติดตาม และชิงครอบครัวพลเมืองกลับคืนมาได้เป็นจำนวนมาก พระเจ้ากรุงธนบุรีได้เสด็จโดยขบวนพยุหยาตรา เข้าเหยียบเมืองเชียงใหม่ในวันรุ่งขึ้น ตรงกับวันอาทิตย์ ขึ้น 14 ค่ำ เดือนยี่ ทรงตั้งพระยาจ่าบ้านเป็นพระยาวิเชียรปราการเจ้าเมืองเชียงใหม่ ให้พระยากาวิละเป็นพระยานครลำปางให้พระยาลำพูนเป็นพระยาวัยวงศา ครองเมืองลำพูนตามเดิม
การตีได้เมืองเชียงใหม่ครั้งนี้ ฝ่ายไทยยึดได้พาหนะและเครื่องศัตราวุธของข้าศึกเป็นอันมาก มีปืนใหญ่น้อยรวม 2,110 กระบอก กับม้า 200 ตัว เป็นต้น ต่อมาอีกสองวันได้มีใบบอกเมืองตากว่า มีกองทัพพม่ายกตามครัวมอญล่วงแดนเข้ามา พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงมีรับสั่งให้เจ้าพระยาจักรี คุมกองทัพอยู่จัดการเมืองเชียงใหม่ให้เรียบร้อย ส่วนพระองค์ก็เสด็จยกกองทัพหลวงลงมายังเมืองตาก เมื่อวันศุกร์ แรม 4 ค่ำ เดือนยี่ ฝ่ายเจ้าพระยาจักรีก็ให้พวกท้าวพระยา ออกไปเที่ยวเกลี้ยกล่อมผู้คนพลเมืองที่หนีภัย ไปหลบซ่อนอยู่ตามป่าเขา ให้กลับคืนถิ่นที่อยู่ตามเดิม ครั้งนั้น เจ้าฟ้าเมืองน่านได้เข้ามาสามิภักดิ์ เป็นข้าขอบขัณฑสีมาอีกเมืองหนึ่ง จึงได้เมืองเชียงใหม่ เมืองลำพูน เมืองนครลำปาง เมืองน่าน และเมืองแพร่ กลับมาอยู่ในพระราชอาณาเขตไทย นับตั้งแต่ ปีมะเมีย พ.ศ. 2317 เป็นต้นมาตราบจนทุกวันนี้
กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าเมื่อวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๓๑๐
แต่ก่อนหน้านั้นราว ๓ เดือนกว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเมื่อยังเป็นพระยาตาก ได้พาสมัครพรรคพวกไพร่พลไทยจีนจำนวนหนึ่ง ตีฝ่ากองทัพพม่ามุ่งหน้าไปทางชายทะเลตะวันออกพระยาตากไม่ใช่ทั้งคนแรกและคนสุดท้าย ที่ได้ละทิ้งหน้าที่หลบหนีไป เพราะระบบการเมืองและสังคมของราชอาณาจักรศรีอยุธยาได้ล่มสลายลงก่อนที่พม่าจะระเบิดป้อมทลายกำแพงแล้วแต่นานไม่ถึง ๙ เดือนหลังจากเสียกรุง พระยาตากได้ประกาศพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ ที่คนทั่วไปเรียกกันภายหลังว่าพระยาตาก ยกกองทัพเรือจากเมืองจันทบุรีมายึดกรุงศรีอยุธยาคืน แล้วฟื้นฟูราชอาณาจักรศรีอยุธยาขี้นมาใหม่ ชื่อกรุงธนบุรี พระเจ้าตาก อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ เขียนไว้ในหนังสือการเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ดังนี้สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี นักธรรมชาติวิทยาชาวเดนมาร์กผู้เคยพบเห็นพระองค์และรายงานไว้ว่า ทรงเป็น "ชายร่างเล็ก" แต่พระราชประวัติและวีรกรรมของพระองค์ยิ่งใหญ่นัก เป็นเหตุให้มีผู้แต่งเติมเสริมต่อเรื่องราวของพระองค์ออกไปจนดูราวกับ "นิยาย" ทั้งๆ ที่สาระสำคัญของพระราชประวัติสั้นนิดเดียว ดังนี้สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงพระราชสมภพในฐานะสามัญชนลูกชาวจีน มีอาชีพค้าขายทางเกวียน และแม้ยังมีถิ่นฐานบ้านช่องและญาติพี่น้องอยู่ในภาคกลาง โดยเฉพาะที่พระนครศรีอยุธยาและลพบุรี แต่ก็ได้ทำการค้าอยู่ในหัวเมืองเหนือชายแดนเมื่อสบโอกาสก็ได้เข้ารับราชการในหัวเมืองไกล คือ ตาก-ระแหง และในที่สุดก็ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองตากทรงเสกสมรสกับสามัญชนด้วยกัน ซึ่งมิได้มาจากตระกูลใหญ่นัก
ในสงครามครั้งเสียกรุง ได้กวาดต้อนไพร่พลหลบพม่าลงมาเป็นกำลังแก่กรุงศรีอยุธยา ได้บำเหน็จความชอบจากการนั้นระหว่างที่พม่าล้อมกรุงอยู่ก็ได้ทำการต่อสู้ จนปรากฏชื่อว่าเป็นนายทัพที่เข้มแข็งคนหนึ่ง ไพร่พลที่นำมาจากเมืองตาก-ระแหงก็ยังคุมกันติดเป็นกองของตนเอง ซึ่งปฏิบัติงานตามคำสั่งของรัฐบาล ในที่สุดก่อนที่กรุงจะเสียแก่พม่า ก็ได้นำกำลังคนจำนวนน้อยของตนเอง และอาจรวมผู้อื่นที่เข้าสวามิภักดิ์เพิ่มขึ้นบ้าง ประกอบด้วยไพร่พลทั้งไทยและจีน พากันตีแหกพม่ามุ่งไปยังหัวเมืองฝั่งตะวันออก และเริ่มหน้าใหม่ให้แก่ประวัติศาสตร์ของตนเองและของประเทศไทย
เส้นทางพระเจ้าตากหนี วันเสาร์ ตอนเที่ยงคืน ขึ้น ๔ ค่ำ เดือนยี่ ปีจออัฐศก จุลศักราช ๑๑๒๘ หรือ พ.ศ. ๒๓๐๙ เกิดเพลิงไหม้ขึ้นในพระนคร ไหม้ตั้งแต่ท่าทรายติดลามมาถึงสะพานช้างวงคลองข้าวเปลือก แล้วข้ามมาติดป่ามะพร้าว ป่าโทน ป่าถ่าน ป่าทอง ป่ายา วัดราชบูรณะ วัดมหาธาตุ วัดฉัททันต์ ติดกุฎีวิหารและบ้านเรือนมากกว่าหมื่นหลังไฟไหม้ในพระนครยังไม่ดับ พระยาตากก็ยกสมัครพรรคพวกไพร่พลไทยจีนออกจากค่ายวัดพิชัย เดินทัพไปทางบ้านหันตราพม่ายกพลติดตามทัน ได้ต่อรบกันเป็นสามารถ พม่าต่อต้านมิได้ก็ถอยกลับไปพระยาตากเดินทัพต่อไปทางบ้านข้าวเม่า จนถึงบ้านสามบัณฑิต เวลาสองยามเศษ เมื่อมองกลับไปเห็นแสงไฟรุ่งโรจน์โชตนาการยังไหม้กรุงอยู่ ก็ให้หยุดพักทัพ วันอาทิตย์ รุ่งเช้า พระยาตากเดินทัพไปถึงบ้านโพสามหาว หรือโพสาวหาญ หรือโพสังหาร พม่ายกพลติดตามไปอีก ได้ต่อรบกันเป็นสามารถ ทัพพม่าแตกกระจัดกระจายพ่ายแพ้ไปพระยาตากให้เดินทัพต่อไป ตอนเย็นถึงบ้านพรานนก หยุดพักแรม ให้ทแกล้วทหารออกไปลาดเลี้ยวเที่ยวหาอาหาร พบกองทัพพม่ายกมาจากบางคาง (ปราจีนเก่า) พม่าไล่ติดตามมา พระยาตากจึงขึ้นม้าพร้อมไพร่พลออกรบพม่าก่อน กองทัพพม่าแตกพ่ายกระจายไปทแกล้วทหารเห็นกำลังบุญฤทธิ์พระยาตากเป็นอัศจรรย์ ก็ยกย่องว่าเป็น "จอมกษัตริย์สมมุติวงศ์" เท่ากับแสดงสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมเป็นพระมหากษัตริย์ รุ่งขึ้นขุนชำนาญไพรสณฑ์และนายกองช้างเมืองนครนายกมีจิตสวามิภักดิ์ เอาช้างมาถวาย ๖ ช้าง นำเสด็จถึงบ้านบางดง เข้าหยุดประทับในที่นั้น แล้วสั่งให้ขุนหมื่นพันทนายบ้านยอมอ่อนน้อม แต่ไม่สำเร็จ กลับท้าทายอีก แล้วตั้งค่ายจะสู้รบ
รุ่งขึ้น พระเจ้าตากยกเข้าตีค่ายได้ช้าง ๗ ช้างพระเจ้าตากยกพลไปประทับที่ตำบลหนองไม้ซุง ตามทางเมืองนครนายก แล้วประทับรอนแรมไปอีกสองวันก็ถึงบ้านนาเริ่งออกจากบ้านนาเริ่งวันหนึ่งถึงเมืองปราจีนบุรี ข้ามแม่น้ำที่ด่านกบ (แจะ) (ประจันตคาม ปราจีนบุรี) ให้พักรี้พลหุงอาหาร กินเสร็จแล้วเดินทัพข้ามทุ่งไปจนตกเย็น หยุดพักทัพรอสมัครพรรคพวกที่ตามไม่ทันอยู่ ๓ วัน (เอกสารบางเล่มบอกว่าอยู่ชายดงศรีมหาโพธิ์)ฝ่ายพม่าเกณฑ์ทัพเรือให้ขึ้นมาสมทบกับทัพบกตั้งอยู่ปากน้ำเจ้าโล้ (โจ้โล้) ยกไปขึ้นที่ท่าข้าม ติดตามกองทัพพระเจ้าตากได้รบกันหนักจนพม่าแตกกระจัดกระจายพ่ายไปจากนั้นพระเจ้าตากยกพลนิกายไปทางบ้านทองหลาง บ้านสะพานทอง (อ.พานทอง?) บางปลาสร้อย ก็เป็นอันพ้นกองทัพพม่า
ทำไมต้องหนี?
พระยาตาก ทำไมต้องหนีจากกรุงศรีอยุธยา? อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ อธิบายไว้ในหนังสือการเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ดังต่อไปนี้ราว ๓ เดือนก่อนกรุงแตก พระยาตากซึ่งขณะนั้นออกมาตั้งอยู่ในค่ายวัดพิชัยนอกกำแพงเมือง ก็ได้พาสมัครพรรคพวกไพร่พลไทยจีนจำนวนไม่มากนัก ตีฝ่าพม่าออกไปในนาทีนั้น พระยาตากก็ขาดออกไปจากรัฐบาลราชอาณาจักรอยุธยาในราชวงศ์บ้านพลูหลวงโดยเด็ดขาดพระยาตากไม่ใช่ทั้งคนแรกและคนสุดท้าย ในบรรดาข้าราชการที่รักษาพระนครครั้งนั้น ซึ่งได้ละทิ้งหน้าที่หลบหนีไป มีทั้งข้าราชการและประชาชนพากันหลบหนีออกจากพระนครอยู่ตลอดมา ทั้งเพราะความอดอยาก และทั้งเพราะรู้อยู่แล้วว่ากรุงศรีอยุธยาจะไม่รอดจากเงื้อมมือพม่า เนื่องจากราชอาณาจักรศรีอยุธยาได้ล่มสลายลงก่อนที่พม่าจะระเบิดป้อมทลายกำแพงแล้วสิ่งที่ล่มสลายไปก่อนคือ ระบบการเมืองและสังคมของกรุงศรีอยุธยาเอง พระยาตากไม่มีฐานกำลังของตนเองในพระนครศรีอยุธยา ผู้คนที่นำลงมาด้วยจากเมืองตากก็เป็นขุนนางบ้านนอกด้วยกัน ยิ่งเมื่อไปตั้งอยู่ในค่ายวัดพิชัยนอกเมืองแล้ว ก็คงขาดเสบียงอาหารอย่างหนัก เพราะไม่มีใครคิดจะส่งเสบียงให้ ถึงแม้จะกลับเข้าเมือง ก็คงไม่มีโอกาสได้เสบียงเลี้ยงกองทัพ เพียงด้วยเหตุผลเรื่องเสบียงอย่างเดียว โดยยังไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ ก็เห็นได้ชัดแล้วว่าพระยาตากจะอยู่ในพระนครต่อไปไม่ได้ ไพร่พลที่อยู่ด้วยนั้นจะคุมไว้ก็คงลำบาก เพราะต่างก็จะต้องหลบเร้นหนีหายเพื่อหาอาหารประทังชีวิต มีเหลืออยู่ทางเดียวเท่านั้นคือตีฝ่าพม่าออกไปทั้งกอง หนีไปตายเอาดาบหน้า โดยวิธีนี้ก็จะสามารถคุมกำลังกันติด อันจะเป็นเหตุให้สามารถหาเสบียงอาหารได้สะดวกกว่าปล่อยไพร่พลหนีหายกระจัดกระจายไม่เป็นทัพเป็นกองแล้วพระยาตากก็ตีฝ่าพม่ามุ่งหน้าไปยังหัวเมืองชายทะเลฝั่งตะวันออก
ทำไมต้องมุ่งตะวันออก?
ทำไมพระยาตากต้องไปหัวเมืองชายทะเลตะวันออก?ประการแรก จะตีฝ่าพม่ากลับไปเมืองตาก เป็นสิ่งที่เป็นไปเกือบไม่ได้ เพราะพม่ายึดไว้หมดแล้ว ฐานกำลังถ้าจะมีอยู่บ้างก็คงแตกกระจัดกระจายหนีไปหมดแล้ว ใช้อะไรไม่ได้ประการที่สอง ทางด้านตะวันออกยังค่อนข้างปลอดภัยจากกองทัพพม่ามากกว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชาธิบายว่า พ้นจากเมืองชลบุรีไปทางตะวันออกก็พ้นพม่าเสียแล้วประการที่สาม หัวเมืองชายทะเลด้านตะวันออกเป็นศูนย์กลางของการติดต่อกับส่วนอื่นๆ ของราชอาณาจักร เช่น เมืองจันทบูรเป็นจุดเริ่มต้นของการเดินเรือข้ามอ่าวไทยลงสู่ปักษ์ใต้ ทั้งอาจติดต่อกับเขมรและพุทไธมาศได้สะดวก ถ้าถึงที่สุดแล้วเมืองจันทบูรยังเป็นปากทางที่จะหนีไปที่อื่นๆ ได้ง่ายประการที่สี่ มีชาวจีนสายแต้จิ๋วตั้งถิ่นฐานอยู่แล้ว ย่อมมีโอกาสและกาสมัครพรรคพวกได้อีก มุ่งหน้ายึดเมืองระยองเมื่อเสด็จถึงบ้านนาเกลือ (บางละมุง) นายกล่ำเป็นนายชุมนุมคุมไพร่พลอยู่ที่นั่น คอยสกัดคิดประทุษร้าย พระเจ้าตากเสด็จทรงช้างทรงพระแสงปืนต้นรางแดงกับหมู่พลโยธาหาญ เข้าไปในหว่างพลทหารซึ่งนายกล่ำอยู่นั้น นายกล่ำกับพรรคพวกเกรงกลัวอานุภาพ วางอาวุธถวายบังคมอ่อนน้อมวันรุ่งขึ้นนายกล่ำคุมไพร่นำเสด็จไปถึงพัทยา หยุดประทับแรมรุ่งขึ้นไปประทับแรมที่นาจอมเทียน ทุ่งไก่เตี้ย สัตหีบ แห่งละคืนรุ่งขึ้นเดินทัพทางริมทะเลถึงหินโด่ง และน้ำเก่า เข้าแขวงเมืองระยองผู้รั้งเมืองระยองและกรมการทั้งปวงชวนกันมาต้อนรับเสด็จ ถวายธัญญาหารเกวียนหนึ่ง เสด็จไปประทับอยู่วัดลุ่ม ๒ วัน รับสั่งให้จัดลำเลียงอาหารขุดค่ายคูขณะนั้นมีผู้แจ้งเหตุว่า กรมการเมืองระยองมีขุนรามหมื่นส้อง นายทองอยู่นกเล็ก ขุนจ่าเมือง เป็นต้น คบคิดกันคุมพรรคพวกจะยกเข้าทำประทุษร้าย
พระเจ้าตากจึงทรงวางแผนปราบปรามจนราบคาบล้มตายแตกยับเยิน จึงตรัสให้ยับยั้งอยู่บำรุงทแกล้วทหารให้มีกำลังอยู่เมืองระยองประมาณ ๗-๘ วันเมื่อเสด็จสถิตอยู่เมืองระยอง พระเจ้าตากมีพระราชดำริให้ข้าหลวงไปเกลี้ยกล่อมพระยาจันทบูรให้ยอมอ่อนน้อม เพื่อไม่ให้เกิดสงคราม พระยาจันทบูรทำอุบายผัดผ่อนเรื่อยมาระหว่างรอเวลาให้พระยาจันทบูรยอมอ่อนน้อม พวกขุนรามหมื่นส้องกับนายทองอยู่นกเล็กที่แตกไปจากเมืองระยองลอบเข้ามาลักโคกระบือช้างม้าไปเนืองๆ
พระเจ้าตากจึงเสด็จกรีธาทหารออกจากเมืองระยอง ไปบ้านประแส บ้านไข้ บ้านคา บ้านกล่ำ บ้านแกลง ที่อ้ายขุนรามหมื่นส้องตั้งอยู่นั้นเพื่อปราบปราม ขุนรามหมื่นส้องแตกหนีไปอยู่กับพระยาจันทบูรเมื่อได้ครอบครัวช้างม้าโคกระบือล้อเกวียนที่ถูกขุนรามหมื่นส้องลักพาคืนมาแล้ว ก็เสด็จยกพลนิกรกลับมาเมืองระยอง บำรุงทแกล้วทหารรวบรวมเครื่องสรรพาวุธปืนใหญ่น้อย เกลี้ยกล่อมอาณาประชาราษฎร์อันแตกตื่นออกไปอยู่ป่าดงได้เป็นอันมาก พระเจ้าตากก็เสด็จรอท่าพระยาจันทบูรอยู่
เลียบเมืองชลบุรี
เมื่อทรงทราบว่านายทองอยู่นกเล็ก ตั้งอยู่เมืองชลบุรี ประพฤติพาลทุจริต คอยทำร้ายข่มเหงอาณาประชาราษฎร์ พระเจ้าตากจึงรับสั่งให้ยกโยธาหาญไปปราบเสด็จไปทางบ้านหนองมน แล้วหยุดประทับที่วัดหลวง ดำรัสให้สหายนายทองอยู่นกเล็กไปว่ากล่าวเกลี้ยกล่อมก่อน นายทองอยู่นกเล็กก็ยอมอ่อนน้อมโดยดี เข้ามาเฝ้าที่วัดหลวง แล้วนำเสด็จเข้าไปในเมืองชลบุรี ประทับอยู่เก๋งจีน
พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) พรรณนาต่อไปว่า
"แล้วนายทองอยู่นกเล็ก จึงนำเสด็จทรงช้างพระที่นั่ง นายบุญมีมหาดเล็กเป็นควาญท้าย เสด็จเลียบทอดพระเนตรเมืองชลบุรี แล้วนายทองอยู่นกเล็กจึงพาขุนหมื่นกรมการถวายบังคม ทรงพระกรุณาให้นายทองอยู่นกเล็กเป็น พระยาอนุราชบุรีศรีมหาสมุทร..."
เหตุการณ์ตอนนี้ อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ อธิบายไว้ในหนังสือการเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ว่าข้ามลำน้ำบางปะกงมาทางฝั่งตะวันออกตามชายทะเลนั้น ชุมชนใหญ่ที่มีกำลังมากมีอยู่ ๒ แห่ง คือ ชลบุรีหรือบางปลาสร้อยแห่งหนึ่ง และจันทบุรีแห่งหนึ่งบางปลาสร้อยนั้นมีกำลังกล้าแข็งเสียจนกระทั่งพระเจ้ากรุงธนบุรีหลบหลีกไปเสียเมื่อเสด็จไประยองแม้ภายหลังทรงสามารถเกลี้ยกล่อมให้นายทองอยู่นกเล็กเข้าเป็นพวกได้ ก็ต้องทรงประนีประนอมกับนายทองอยู่อย่างมาก นอกจากทรงยกย่องนายทองอยู่ไว้สูง คือเป็นพระยาอนุราชบุรีศรีมหาสมุทรแล้ว ยังพระราชทานสิ่งของเครื่องยศที่สูงค่าด้วยที่สุดเท่าที่ได้พระราชทานผู้นำท้องถิ่นทั้งหมดที่เข้าสวามิภักดิ์แล้วยังมีข้อตกลงที่เกือบเหมือนการยอมให้นายทองอยู่เป็นชุมนุมอิสระอีกชุมนุมหนึ่ง เพียงแต่ขึ้นกับพระองค์ซึ่งตั้งอยู่ที่ระยองเพียงในนามเท่านั้น
ตีเมืองจันทบูร
เมื่อพระเจ้าตากเสด็จกลับไปประทับอยู่เมืองระยอง ฝ่ายพระยาจันทบูรเชื่อคำยุยงของขุนรามหมื่นส้อง แต่งอุบายให้พระสงฆ์มาเชิญเสด็จไปเมืองจันทบูร แล้วจะจับกุมพระองค์พระเจ้าตากเสด็จพร้อมพหลพลนิกายตามพระสงฆ์ไปถึงบ้านพลอยแหวน พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) พรรณนาว่า... "ฝ่ายพระยาจันทบูรก็ให้หลวงปลัดกับคนที่ชื่อ, ออกมานำทัพเป็นกลอุบาย, ให้กองทัพหลวงเลี้ยวไปทางใต้เมือง จะให้ข้ามน้ำไปอยู่ฟากตะวันออก จะคอยทำร้ายเมื่อพลทหารข้ามน้ำนั้น พระองค์ทรงทราบ จึงให้นายบุญมีมหาดเล็กขึ้นม้าควบไปห้ามทหารกองหน้ามิให้ไปตามทางหลวงปลัดนำนั้น ให้กลับมาตามทางขวาง ตรงเข้าประตูท่าช้าง เสด็จประทับ ณ วัดแก้ว ริมเมืองจันทบุรี จึงให้พลทหารตั้งล้อมพระวิหารวัดแก้ว แล้วเสด็จประทับอยู่ที่นั้น..."
พระยาจันทบูรให้กรมการเมืองออกมาเชิญเสด็จ แต่พระเจ้าตากปฏิเสธ มีพระมหากรุณาตรัสให้ไปบอกว่า พระยาจันทบูรควรออกมาอ่อนน้อม แล้วส่งตัวขุนรามหมื่นส้องผู้เป็นปัจจามิตรคืนมา จึงจะเข้าไปในเมืองพระยาจันทบูรมิได้ทำตามรับสั่ง ซ้ำมิหนำยังมีพิรุธหลอกล่อหลายครั้ง พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) พรรณนาว่า... "จึงตรัสว่าพระยาจันทบูรมิได้ตั้งอยู่ในสัตยภาพแล้ว และเห็นว่าขุนรามหมื่นส้องจะช่วยป้องกันเมืองไว้ได้ ก็ให้ตกแต่งการไว้ให้มั่นคงเถิด เราจะตีเอาให้จงได้ แล้วจึงตรัสสั่งโยธาหาญทั้งปวงให้หุงอาหารรับพระราชทานแล้ว เหลือนั้นสั่งให้เทเสีย ต่อยหม้อข้าวหม้อแกงให้จงสิ้น ในเพลากลางคืนวันนี้ตีเอาเมืองจันทบูรให้ได้ไปหาข้าวกินเช้าเอาในเมือง ถ้ามิได้ก็ให้ตายเสียด้วยกันเถิด" ราวตีสามคืนนั้น พระเจ้าตากเสด็จทรงช้างพระที่นั่งเข้าทลายประตูใหญ่ พร้อมทแกล้วทหารไทยจีนบุกเข้าเมืองได้ทุกด้านพระยาจันทบูรก็พาบุตรภรรยาหนีลงเรือไปสู่ปากน้ำพุทไธมาศฐานะของชลบุรีกับจันทบูรเมืองชลบุรีกับเมืองจันทบูรสมัยนั้นมีฐานะอย่างไรแน่? อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ อธิบายไว้ในหนังสือ การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ว่านอกจากเมืองชลบุรีหรือบางปลาสร้อย เมืองจันทบูรก็เป็นเมืองใหญ่อีกเมืองหนึ่ง เกินกว่าที่กำลังของพระเจ้ากรุงธนบุรีจะยึดได้ง่ายๆ พระองค์เสด็จออกจากอยุธยาได้ ๑๗ วันก็มาถึงพัทยา อีก ๓ วันต่อมาก็เสด็จไปถึงสัตหีบ และพระระยองก็ได้มาเชิญเสด็จเข้าระยองในเวลาต่อมาหมายความว่ารวมเวลาไม่ถึงเดือนก็สามารถได้เมืองระยองไว้ในพระราชอำนาจ แต่จำเป็นที่พระองค์ต้องรอเวลาอีกกว่า ๔ เดือนจึงจะสามารถยึดจันทบูรได้นี่อาจเป็นเหตุผลที่ในระยะแรก พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงทรงพยายามใช้การเจรจากับผู้นำเมืองจันทบูร เพื่อให้ได้รับความร่วมมือแทนที่จะใช้กำลัง และทรงปล่อยให้การเจรจายืดเยื้ออยู่เป็นเวลานานบางปลาสร้อยกับจันทบูร มีร่องรอยและพยานหลักฐานชัดเจนว่า ผู้นำไม่ได้เป็นเจ้าเมืองเก่าที่อยุธยาตั้งขึ้น หากเป็นคนที่ตั้งตัวขึ้นเป็นใหญ่ในท้องถิ่นเอง โดยอาศัยความวุ่นวายปั่นป่วนที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นของตน และความอ่อนแอของรัฐบาลกลางที่ถูกข้าศึกล้อมไว้
ตีเมืองตราด
เมื่อได้เมืองจันทบูรแล้ว พระเจ้าตากให้ยกทัพทั้งทางบกและทะเลไปถึงบ้านทุ่งใหญ่ เมืองตราด อันเป็นที่ชุมนุมพ่อค้าวาณิชนายสำเภาทั้งปวงฝ่ายจีนเจียมผู้เป็นใหญ่กว่าชาวสำเภาทั้งปวงยอมสวามิภักดิ์ จึงพาธิดามาถวายพระเจ้าตากต่อเรือรบพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรีจดว่า เมื่อได้เมืองตราดแล้วพระเจ้าตากเสด็จกลับมาประทับอยู่เมืองจันทบูร "ยับยั้งอยู่ต่อเรือรบได้ ๑๐๐ ลำเศษ"
บริเวณปากแม่น้ำจันทบูรมีซากเรือจมอยู่ริมตลิ่ง เชื่อกันว่าบริเวณนี้น่าจะเป็นอู่ต่อเรือรบหรือซ่อมเรือของพระเจ้าตาก เตรียมที่จะยกเข้ายึดกรุงศรีอยุธยาคืนให้จงได้นโยบายทางการเมืองของพระเจ้าตากการที่พระเจ้าตากประสบความสำเร็จได้หัวเมืองชายทะเลตะวันออกไว้ทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด ก็เพราะกลุ่มของพระเจ้าตาก หรืออย่างน้อยตัวพระเจ้าตากเอง มีจุดมุ่งหมายทางการเมืองเด่นชัดว่าจะรื้อฟื้นพระราชอาณาจักรศรีอยุธยาขึ้นมาใหม่ และประกาศนโยบายนี้ตั้งแต่เริ่มออกจากค่ายวัดพิชัยที่อยุธยา แต่กลุ่มอื่นๆ อีกหลายกลุ่ม เพียงแต่รวมตัวกันเพื่อป้องกันตนเองหรือปล้นสะดมผู้อื่น หรือถ้าจะมีจุดมุ่งหมายทางการเมืองก็เพียงรักษาหัวเมืองหรือท้องถิ่นของตนให้ปลอดภัย อาจถึงขนาดตั้งตนเป็นใหญ่คือตั้งตนเป็นพระเจ้าแผ่นดิน แต่ก็ไม่มีนโยบายชัดเจนจนเปิดเผยว่าจะรื้อฟื้นพระราชอาณาจักรศรีอยุธยาขึ้นมาใหม่ประเด็นนี้ อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ อธิบายไว้ในหนังสือการเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ว่า พระยาตากประกาศนโยบายทางการเมืองนี้ ตั้งแต่เริ่มออกจากพระนครศรีอยุธยา แต่ก็ประกาศด้วย "ภาษาทางการเมือง" ที่เข้าใจได้ในยุคนั้น นั่นก็คือประกาศพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ไทยการประกาศตนเป็นพระมหากษัตริย์ ทำให้กองกำลังของพระยาตากกลายเป็นกลุ่มการเมืองที่ติดอาวุธไปทันที ไม่ใช่เป็นแต่เพียงกลุ่มโจรผู้ร้ายซึ่งคงมีอยู่ชุกชุมทั่วไปในขณะนั้น กลุ่มของพระยาตากจึงแตกต่างจากกลุ่มโจรอย่างเห็นได้ชัด
แม้จะแตกต่างจากกลุ่มอื่นๆ ทั่วไปในภาคกลางขณะนั้นในด้านนโยบายการเมือง แต่ในทางปฏิบัติแล้วไม่สู้จะแตกต่างกันเท่าใดนัก เพราะต้องอาศัยการปล้นสะดมเพื่อสั่งสมกำลังและเสบียงอาหารอยู่นั่นเอง แต่กลุ่มพระยาตากมีความแตกต่าง ตรงที่เมื่อปล้นได้ทรัพย์สินเงินทองและเสบียงอาหารแล้วก็เดินทัพต่อไป เพราะมีจุดมุ่งหมายทางการเมืองที่ใหญ่กว่าการเกาะกลุ่มกันเพื่อเอาชีวิตรอด
แต่กองโจรอื่นๆ ปล้นแล้วก็วนเวียนอยู่ถิ่นเดิมที่คุ้นเคยและปลอดภัย เพื่อจะปล้นอีกเมื่อขาดแคลน เพราะมีจุดหมายการปล้นเพื่อเลี้ยงชีพ ไม่ใช่อย่างอื่น การประกาศเช่นนี้ทำให้กลุ่มของพระองค์อาจได้รับความร่วมมือหรือการถวายตัวของขุนนางอย่างน้อยก็ระดับชั้นผู้น้อยบ้าง เช่น ขุนชำนาญไพรสณฑ์ พระเชียงเงิน ส่วนขุนนางชั้นผู้ใหญ่ขึ้นไปกว่าหัวหมื่นพันทนายบ้านเล็กๆ เหล่านี้ คงยังมิได้ตัดสินใจจะเข้าสวามิภักดิ์จนกระทั่งเมื่อได้ระยองแล้ว และกลุ่มของพระยาตากกลายเป็นกลุ่มการเมืองที่มีกำลังและอนาคตอยู่บ้างแล้วเท่านั้น นโยบายประกาศตนเป็นกษัตริย์ เพื่อยืนยันถึงนโยบายรื้อฟื้นพระราชอาณาจักรอยุธยานั้น ย่อมมีเสน่ห์แก่ขุนนางและเชื้อสายขุนนางในส่วนกลางเป็นธรรมดา เพียงแต่ว่าปูมหลังของพระยาตากอาจเป็นที่เหยียดหยามของเหล่าตระกูลขุนนางอยุธยา และในระยะแรกกลุ่มของพระยาตากก็ยังไม่มีความสำเร็จที่เห็นได้ชัด ว่าจะสามารถทำได้ตามนโยบาย นอกจากนี้ ก่อนกรุงแตกพระยาตากคือกบฏ ย่อมเป็นที่น่ารังเกียจแก่ขุนนางชั้นสูงเป็นธรรมดากิตติศัพท์ของพระเจ้ากรุงธนบุรี ในฐานะผู้มีนโยบายจะรื้อฟื้นกรุงศรีอยุธยา ระบือออกไปกว้างขวางยิ่งเมื่อได้ทรงตั้งมั่นในเมืองระยองแล้วเมื่อหลังเสียกรุงแล้ว โอกาสของการรักษาพระราชอาณาจักรก็ยิ่งริบหรี่ลง ชุมนุมของพระเจ้ากรุงธนบุรีซึ่งมีฐานที่มั่นอยู่ทางหัวเมืองชายทะเลด้านตะวันออก จึงเป็นความหวังเดียวของขุนนางส่วนกลาง เพราะหัวหน้าชุมนุมนี้ได้ประกาศนโยบายนี้อย่างชัดเจนมาแต่ต้น จึงไม่ประหลาดที่พวกเชื้อสายตระกูลขุนนางส่วนกลางจำนวนหนึ่งพากันเข้าสวามิภักดิ์ต่อพระองค์กันมากขึ้นกิตติศัพท์การ "กู้กรุงศรีอยุธยา" ของพระเจ้ากรุงธนบุรี ย่อมล่วงรู้อย่างดีถึงสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ซึ่งขณะนั้นประทับอยู่ที่บ้านบางช้าง (อัมพวา) เมืองราชบุรี จึงได้แนะนำนายบุญมาซึ่งเป็นพระราชอนุชาให้เข้าถวายตัวกับพระเจ้ากรุงธนบุรี เพราะมีผู้นับถือมาก การกู้กรุงศรีอยุธยาก็มีทางจะสำเร็จได้มีหลักฐานการตั้งตนเป็นกษัตริย์ของชุมนุมกลุ่มอื่นๆ อยู่บ้าง แต่ล้วนทำขึ้นเมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่ข้าศึกแล้ว และไม่มีกษัตริย์ในราชวงศ์บ้านพลูหลวงเหลืออยู่เป็นประธานของราชอาณาจักรอีก การตั้งตนเป็นกษัตริย์จึงหมายถึงการแยกตัวออกจากราชอาณาจักร ดังจะเห็นได้ว่าไม่มีชุมนุมใดเดือดร้อนใจที่จะยกกำลังเข้ายึดกรุงศรีอยุธยาจากชุมนุมของนายทองสุก สุกี้เชื้อมอญที่พม่าตั้งไว้การตั้งตนเป็นกษัตริย์ของพระเจ้ากรุงธนบุรี จึงมีเนื้อหาที่แตกต่างจากชุมนุมอื่น และเป็นที่เข้าใจได้พอสมควรในท้องที่ภาคกลางและภาคตะวันออก
ยกทัพเรือเข้ากรุง
เมื่อถึงเวลาพร้อมแล้ว พระเจ้าตากจึงทรงพระราชอุตสาหะ ยกพลทหารพร้อมสรรพด้วยเครื่องศาสตราวุธเป็นอันมาก ออกมาจากเมืองจันทบุรีมาโดยทางทะเลฆ่าเจ้าเมืองชลบุรีพระเจ้าตากทรงทราบว่า พระยาอนุราชเมืองชลบุรีกับพรรคพวกมิได้ละพยศอันร้าย กลับกระทำโจรกรรมออกตีชิงสำเภาและเรือลูกค้าวาณิชอีก จึงให้หยุดทัพเรือประทับที่เมืองชลบุรี แล้วให้หาพระยาอนุราชลงมาเฝ้า ณ เรือพระที่นั่ง มีพระราชบริหารให้พิพากษาโทษประหารชีวิตเสีย พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาพรรณนาว่า...
"พระยาอนุราชคงกระพันในตัว แทงฟันหาเข้าไม่ เพราะด้วยสะดือเป็นทองแดง จึงให้พันธนาการแล้วเอาลงถ่วงน้ำเสียในทะเลก็ถึงแก่กรรม" ยึดค่ายโพธิ์สามต้นพระเจ้าตากยกทัพเรือเข้าปากน้ำเมืองสมุทรปราการ แล้วให้เร่งเข้าตีเมืองธนบุรีฝ่ายกรมการพวกที่อยู่รักษาเมืองธนบุรีหนีขึ้นไปโพธิ์สามต้นกรุงเก่า แจ้งเหตุแก่สุกี้ผู้เป็นพระนายกอง พระนายกองก็ให้จัดพลทหารพม่า มอญ ไทย เป็นทัพเรือตั้งสกัดอยู่เพนียด แต่แล้วก็แตกหนีไปพระเจ้าตากยกเข้าตีค่ายโพธิ์สามต้น แล้วเข้าควบคุมค่ายไว้ได้ นี่เท่ากับประสบความสำเร็จในการยึดกรุงศรีอยุธยาคืน พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) พรรณนาว่า... "แล้วจึงให้เชิญเสด็จพระบรมศพพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์แห่แหนมา ณ โพธิ์สามต้น ถวายพระเพลิง..."เมืองธนบุรีเมื่อตีค่ายโพธิ์สามต้นได้ก็เท่ากับยึดราชอาณาจักรศรีอยุธยาสำเร็จ แต่แทนที่พระเจ้าตากจะประทับอยู่อยุธยา พระองค์กลับเสด็จลงไปประทับอยู่เมืองธนบุรี
ทำไมพระเจ้าตากเสด็จลงไปประทับอยู่เมืองธนบุรี?
คำถามนี้มีคำอธิบายหลายอย่าง แต่คำอธิบายที่น่าเชื่อถือมีว่า "มีรายงานบางฉบับว่า พระเจ้ากรุงธนบุรีไม่ถึงกับชนะที่ค่ายโพธิ์สามต้นอย่างเด็ดขาด เพราะขณะนั้นกองทัพของพระองค์ยังไม่สู้ใหญ่นัก การจะเอาชนะชุมนุมมอญที่โพธิ์สามต้นอย่างเด็ดขาด น่าจะเป็นเรื่องยากและต้องเสียรี้พลสูง เพราะชุมนุมนี้ได้ตั้งมาก่อนกรุงแตกแล้ว เนื่องจากเป็นที่ตั้งทัพใหญ่ของพม่า อีกทั้งได้อาญาสิทธิ์จากผู้พิชิตอีกด้วย ก็คงสามารถเก็บรวบรวมผู้คนหรือแม้แต่ขุนนางเก่าไว้ได้ไม่น้อย..." "และเพราะไม่มีพระราชอำนาจเด็ดขาดในท้องที่แถบอยุธยานี้เอง ที่ทำให้ตัดสินพระทัยในอันที่จะเสด็จมาอยู่ ณ เมืองธนบุรีแทน" พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ซึ่งเขียนในสมัยกรุงธนบุรี กล่าวถึงการเสด็จมาประทับที่เมืองธนบุรีแต่เพียงว่า เมื่อตีค่ายโพธิ์สามต้นได้แล้ว "จึงให้รับบุราณขัตติยวงศาซึ่งได้ความลำบากกับทั้งพระบรมวงศ์ลงมาทะนุบำรุงไว้ ณ เมืองธนบุรี" ข้อความทั้งเล่มในพระราชพงศาวดารฉบับนี้ ไม่มีตอนใดบอกว่าพระเจ้าตาก "ย้ายราชธานี" ลงมาอยู่เมืองธนบุรี พระเจ้าตากต้องการสร้างเมืองธนบุรีให้เป็นราชธานีหรือเปล่า? เรื่องนี้มีคำอธิบายน่าสนใจว่า "อาจกล่าวได้ว่าตลอดรัชกาลไม่ปรากฏหลักฐานที่ชี้ชัดว่า ทรงมีพระราชดำริในการยกเมืองธนบุรีขึ้นเป็นราชธานีถาวรเลย... ด้วยเหตุฉะนั้นจึงยากที่จะตัดสินได้แน่ว่า พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงมีพระราชดำริในการสร้างเมืองธนบุรีขึ้นเป็นเมืองหลวงใหม่อย่างจริงจังหรือไม่"
การรบพม่าที่บางกุ้ง
เมื่อเจ้าตากตีกรุงศรีอยุธยาคืนกลับมาได้ กิตติศัพท์ก็เลื่องลือออกไป มีผู้มาอ่อนน้อมด้วยเป็นอันมาก พวกชาวต่างประเทศที่มาค้าขาย เห็นว่าเจ้าตากได้เป็นใหญ่ในราชธานี ก็พากันนับถือว่าเป็นพระเจ้าแผ่นดินไทย เมื่อเจ้าตากมาตั้งมั่นอยู่ที่เมืองธนบุรีแล้ว จึงทำพิธีราชาภิเษก เมื่อปีกุน พ.ศ. 2310 ประกาศพระเกียรติยศเป็น พระเจ้ากรุงศรีอยุธยามหากษัตริย์แทนโบราณราชแต่ก่อน แล้วปูนบำเหน็จ นายทัพ นายกอง ที่มีความชอบ แต่งตั้งให้มียศศักดิ์ตามทำเนียมราชการ ครั้งกรุงศรีอยุธยา ครั้งนั้น นายสุดจินดาได้เป็นที่พระมหามนตรี เจ้ากรมตำรวจ แล้วได้ไปชวนหลวงยกบัตรเมืองราชบุรีผู้เป็นพี่ คือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ในเวลาต่อมา เข้ามารับราชการเป็นที่พระราชนรินทร์ เจ้ากรมตำรวจด้วย ราชอาณาเขตของพระเจ้ากรุงธนบุรีเมื่อราชาภิเษก อยู่ในเขตภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต้ตอนบน ด้านเหนือสุดถึงเขตเมืองนครสวรรค์ ตั้งแต่ปากน้ำโพลงมา ด้านตะวันออกถึงเมืองตราดจดแดนเขมร ด้านใต้ถึงเขตเมืองชุมพร คิดเป็นพื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของราชอาณาจักรครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี แต่บรรดาเมืองต่าง ๆ นอกจากหัวเมืองทางด้านตะวันออก ถูกพม่าย่ำยีจนเป็นเมืองร้างอยู่เกือบทั้งหมด เกิดการขาดแคลนอาหาร เพราะราษฎรไม่ได้ทำนาถึง 2 ปี พระเจ้ากรุงธนบุรีต้องใช้วิธีซื้อข้าวสารจากพ่อค้าต่างเมือง ซึ่งเรียกราคาสูงมากตกถังละ 4 ถึง 5 บาท รวมทั้งเครื่องนุ่งห่ม นำมาแจกจ่ายราษฎรที่ขาดแคลน ทำให้ผู้คนกลับเข้ามาอยู่ตามภูมิลำเนา เป็นเหตุให้พวกเจ้ากรุงธนบุรีมีกำลังคนมากขึ้น ด้านการปกครองหัวเมือง พระเจ้ากรุงธนบุรีก็ทรงตั้งข้าราชการออกไปปกครอง ซึ่งน่าจะมีอยู่ 11 เมือง คือ ลพบุรี อ่างทอง กรุงเก่า ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี ตราด นครชัยศรี สมุทรสงคราม และเพชรบุรี พระเจ้ากรุงธนบุรีต้องแบ่งทหารออกไป ตั้งประจำอยู่ตามหัวเมืองหลายแห่ง เช่นให้ทหารจีน ไปตั้งค่ายอยู่ที่ตำบลบางกุ้ง ที่ต่อแดนระหว่างเมืองสมุทรสงครามกับเมืองราชบุรี เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีขึ้นมาตีกรุงศรีอยุธยา เพื่อขับไล่พม่าออกไปนั้น ทางพม่าพระเจ้าอังวะทราบข่าวจากเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต เมืองเวียงจันทน์ แต่เนื่องจากขณะนั้น พระเจ้าอังวะกำลังกังวลอยู่กับการที่จะเกิดสงครามกับจีน ประกอบกับเห็นว่าเมืองไทยถูกย่ำยีอย่างยับเยิน เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่น่าจะร้ายแรงอะไร ดังนั้น จึงเป็นแต่ให้มีท้องตราสั่งแมงกี้มารหญ่า เจ้าเมืองทวาย ให้คุมกำลังมาตรวจตราดูสถานการณ์และรักษาความสงบ ราบคาบในเมืองไทย พระยาทวายจึงเกณฑ์ กำลังพล 20,000 คน ยกกำลังเข้ามาทางเมืองไทรโยค เมื่อฤดูแล้ง ปลายปีกุน พ.ศ. 2310 ในเวลานั้น เมืองกาญจนบุรี และเมืองราชบุรี ซึ่งอยู่ในเส้นทางเดินทัพของพม่า จึงยังคงเป็นเมืองร้างอยู่ทั้งสองเมือง เรือรบของพม่ายังอยู่ที่เมืองไทรโยค ค่ายคูของพม่าที่ตั้งอยู่ตามริมน้ำเมืองราชบุรีก็ยังคงอยู่ เมื่อพระยาทวายยกกองทัพเข้ามา จึงเดินทัพมาได้โดยสดวก ปราศจากการขัดขวางใด ๆ จนล่วงเข้ามาถึงบางกุ้ง เห็นค่ายทหารของพระเจ้ากรุงธนบุรีตั้งอยู่ จึงให้กองทัพเข้าล้อมไว้ เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีทราบข่าวทัพพม่ายกเข้ามา ก็จัดกำลังให้พระมหามนตรี เป็นแม่ทัพหน้า พระเจ้ากรุงธนบุรีเป็นทัพหลวง ยกกำลังทางเรือออกไปเมืองสมุทรสงคราม เมื่อถึงบางกุ้ง ก็ให้ยกกำลังเข้าโจมตีข้าศึกในวันนั้น ทหารไทยใช้อาวุธสั้นเข้าไล่ตะลุมบอนข้าศึกล้มตายเป็นอันมาก ที่เหลือตายก็แตกหนี พระยาทวายเป็นเหลือกำลังที่จะต่อสู้ ก็ถอยกำลังกลับไปเมืองทวายทางด่านเจ้าขว้าว ซึ่งเป็นด่านทางเมืองราชบุรี กองทัพไทยยึดได้เรือรบของพม่าทั้งหมด และได้เครื่องศัตราวุธ รวมทั้งเสบียงอาหารอีกด้วยเป็นอันมาก
ปราบชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก
ครั้นถึงปีชวด พ.ศ. 2311 เมื่อย่างเข้าฤดูฝน สงครามทางด้านพม่าสงบลง พระเจ้ากรุงธนบุรีก็ให้เตรียมเรือรบ และกำลังพล เพื่อจะขึ้นไปตีเมืองพิษณุโลกให้ได้ในปีนั้น ครั้นถึง เดือน 11 อันเป็นฤดูน้ำนอง พระเจ้ากรุงธนบุรีก็เสด็จยกกำลังทางเรือขึ้นไปเมืองเหนือ เมื่อเจ้าพิษณุโลกทราบข่าว จึงให้หลวงโกษา ชื่อยัง คุมกำลังมาตั้งรับที่ตำบลบางเกยชัยซึ่งอยู่ในแขวงเมืองนครสวรรค์ อยู่เหนือปากน้ำโพขึ้นไปเล็กน้อย เมื่อกองทัพพระเจ้ากรุงธนบุรียกไปถึง ก็ได้รบพุ่งกันเป็นสามารถ ฝ่ายข้าศึกยิงปืนมาถูกพระชงฆ์ของพระเจ้ากรุงธนบุรี กองทัพกรุงธนบุรีเห็นว่าจะรบพุ่งต่อไปไม่สำเร็จ ก็ถอยทัพกลับคืนมาพระนคร ฝ่าย เจ้าพระยาพิษณุโลก ครั้นทราบว่า กองทัพของตนทำให้ฝ่ายกรุงธนบุรีล่าถอยกลับไปก็ได้ใจเชื่อว่าฝ่ายตนชนะแล้ว คงจะตั้งตัวเป็นใหญ่กว่าชุมนุมทั้งปวงได้ จึงตั้งพิธีราชาภิเษกตั้งตัวขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ แต่พอราชาภิเษกแล้วได้ 7 วัน ก็เกิดโรคฝีขึ้นในลำคอถึงพิราลัย พระอินทร์อากรผู้เป็นน้องชายจึงขึ้นครองเมืองแทน แต่ไม่กล้าตั้งตัวเป็นเจ้า ตั้งแต่นั้นมา ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลกก็อ่อนแอลง เพราะผู้คนพลเมืองไม่นิยมนับถือพระอินทร์อากร เหมือนเจ้าพิษณุโลก เมื่อเหตุการณ์นี้ทราบไปถึงเจ้าพระฝาง เจ้าพระฝางเห็นเป็นโอกาสที่จะขยายอำนาจของตน จึงยกกองทัพมาตีเมืองพิษณุโลก ตั้งล้อมเมืองอยู่ 2 เดือน ชาวเมืองก็ลอบเปิดประตูเมือง ให้กองทัพเจ้าพระฝางเข้าเมือง เจ้าพระฝางก็จับพระอินทร์อากรประหารชีวิต แล้วกวาดต้อนผู้คนและเก็บทรัพย์สมบัติในเมืองพิษณุโลก พากลับไปเมืองสวางคบุรี บรรดาชาวเมืองพิษณุโลก และเมืองพิจิตร ที่หลบหนีการกวาดต้อนได้ ก็พากันอพยพครอบครัวมาพึ่งพระเจ้ากรุงธนบุรี เป็นอันมาก
ปราบชุมนุมเจ้าพิมาย
พระเจ้ากรุงธนบุรี เห็นว่าการรวมเมืองไทยนั้น ควรจะปราบชุมนุมเล็ก ๆ ก่อน ชุมนุมที่จะไปปราบครั้งนี้คือชุมนุมเจ้าพิมาย พระองค์จึงให้พระมหามนตรี กับพระราชวรินทรยกกำลังไปตีด่านกระโทก ซึ่งทางฝ่ายเจ้าพิมายให้พระยาวรวงศาธิราชเป็นผู้รักษาด่านอยู่ ส่วนพระองค์ยกไปตีด่านจอหอ ซึ่งมีพระยาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้รักษาด่าน ทั้งสองทัพตีได้ด้านทั้งสองในเวลาใกล้เคียงกัน กรมหมื่นเทพพิพิธเห็นว่าจะสู้ไม่ได้ จึงเตรียมหนีไปกรุงศรีสัตนาคนหุต แต่ถูกขุนชนะกรมการเมืองพิมายจับตัวไว้ได้เสียก่อน แล้วนำตัวมาถวายพระเจ้ากรุงธนบุรี ในตอนแรกพระเจ้ากรุงธนบุรีเห็นว่าเป็นโอรสกษัตริย์คิดจะเลี้ยงไว้ แต่กรมหมื่นเทพพิพิธมีขัตติยมานะ ไม่ยอมอ่อนน้อมด้วย พระองค์จึงให้ประหารเสีย แล้วตั้งให้ขุนชนะเป็นพระยาคำแหงสงคราม ครองเมืองนครราชสีมาต่อ
เมื่อเลิกทัพกลับกรุงธนบุรีแล้ว พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงพระราชทานความดีความชอบแก่แม่ทัพนายกองทั้งหลาย ที่สำคัญตั้งพระราชวรินทร์เป็นพระยาอภัยรณฤทธิ์ และตั้งพระมหามนตรีเป็นพระยาอนุชิตราชา ในตำแหน่งจางวางกรมตำรวจ ทั้ง 2 คน
การรักษาขอบขัณฑสีมาด้านเขมร
เมื่อต้น ปีฉลู พ.ศ. 2312 หลังจากได้พื้นที่ทางด้านตะวันออกได้บริบูรณ์ เหมือนครั้งกรุงศรีอยุธยา โดยปราบปรามชุมนุมเจ้าพิมายได้แล้ว พระเจ้ากรุงธนบุรีก็เตรียมกำลังเพื่อยกไปตีชุมนุมเจ้านคร ขณะที่เตรียมการอยู่นั้น ทางเมืองจันทบุรีได้มีใบบอกเข้ามาว่า ญวนได้ยกกำลังทางเรือมาที่เมืองบันทายมาศ เล่าลือกันว่าจะเข้ามาตีกรุงธนบุรี พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงให้เตรียมรักษาปากน้ำทั้ง 4 ทาง และให้พระยาพิชัยนายทหารจีนซึ่งเป็นข้าหลวงเดิม เลื่อนขึ้นเป็นพระยาโกษาธิบดี มีหน้าที่รักษาปากน้ำ แต่ต่อมาได้ทราบความว่า ที่ญวนยกมาครั้งนี้มิใช่มาตีเมืองไทย แต่มาด้วยเหตุภายในของกัมพูชา เนื่องจากนักองนนท์ (หรือนักองโนน) ซึ่งเป็นพระรามราชาชิงราชสมบัติกับ นักองตนซึ่งเป็นสมเด็จพระนารายณ์ราชาเจ้ากรุงกัมพูชา นักองตนไปขอกำลังญวนมาช่วย นักองนนท์สู้ไม่ได้ จึงหนีมาพึ่งพระเจ้ากรุงธนบุรี ขอให้ช่วยในฐานะที่เป็นข้าขอบขันฑสีมาเหมือนครั้งกรุงศรีอยุธยา พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงมีศุภอักษรไปยังสมเด็จพระนารายณ์ราชาว่า กรุงศรีอยุธยาได้เป็นปกติเช่นเดิมแล้ว ให้ทางกรุงกัมพูชา ส่งต้นไม้ทองเงิน กับเครื่องราชบรรณาการเข้ามาถวาย ตามราชประเพณีดังแต่ก่อน แต่สมเด็จพระนารายณ์ราชาตอบมาว่า พระเจ้ากรุงธนบุรีมิใช่เชื้อพระวงศ์ของพระมหากษัตริย์ ซึ่งครองกรุงศรีอยุธยา จึงไม่ยอมถวายต้นไม้ทองเงิน พระเจ้ากรุงธนบุรีก็ขัดเคือง จึงมีรับสั่งให้จัดกำลัง ยกไปเมืองเขมร โดยแบ่งออกเป็นสองกองทัพ ให้พระยาอภัยรณฤทธิ์ กับ พระยาอนุชิตราชา คุมกำลัง 2,000 คน ยกไปจากเมืองนครราชสีมาลงทางช่องเสม็ดไปตีเมืองเสียมราฐทางหนึ่ง ให้พระยาโกษาธิบดี คุมพล 2,000 ยกไปทางเมืองปราจีณบุรี เพื่อไปตีเมืองพระตะบองอีกทางหนึ่ง ทั้งสองเมืองนี้อยู่คนละฝั่งของทะเลสาบเขมร และสามารถเดินทางต่อไปถึงกรุงกัมพูชาได้ทั้งสอง การทำศึกครั้งนี้ จะเห็นว่ากำลังที่ยกไปไม่มาก เมื่อฝ่ายไทยยึดเมืองทั้งสองได้แล้ว ก็จะดูทีท่าของสมเด็จพระนารายณ์ราชา ว่าจะยอมอ่อนน้อมหรือไม่ ถ้าไม่ยอมอ่อนน้อม ก็คงจะต้องรอกองทัพหลวง ที่พระเจ้ากรุงธนบุรีจะได้เสด็จยกตามลงไป ตีกรุงกัมพูชาในฤดูแล้ง เนื่องจากเวลานั้น ไทยทำศึกอยู่สองด้าน คือได้ส่งกำลังไปตีชุมนุมเจ้านครด้วย ดังนั้น พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงต้องรอผลการปราบปรามชุมนุมเจ้านครอยู่ที่กรุงธนบุรี ก่อนที่จะให้มีการปฏิบัติการขั้นต่อไป เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงทราบว่า กองทัพเจ้าพระยาจักรีถอยกลับมาตั้งอยู่ที่เมืองไชยา ทรงพระดำริเห็นว่าลำพังกองทัพ เจ้าพระยาจักรีคงจะตีเอาเมืองนครศรีธรรมราชไม่ได้ และโอกาสที่จะตีเมืองนครศรีธรรมราชอยู่ในฤดูฝน มีเวลาพอที่จะทำสงครามเสร็จในฤดูแล้ง จากนั้นจะได้เสด็จไปกรุงกัมพูชาต่อไป ดังนั้น เมื่อทราบว่าทางกองทัพที่ยกไปตีกรุงกัมพูชา ยึดได้เมืองเสียมราฐ และพระตะบองได้แล้ว พระองค์จึงเสด็จทางเรือ เมื่อเดือน 8 ปีฉลู พร้อมกองทัพหลวง จากกรุงธนบุรีลงไปตีเมืองนครศรีธรรมราช และได้ทรงยับยั้งอยู่ที่เมืองนครศรีธรรมราชจนถึง เดือน 4 ปีฉลู
ฝ่ายพระยาอภัยรณฤทธิ์ พระยาอนุชิตราชา ได้ยกกำลังเข้าตีเมืองเสียมราฐได้เมื่อต้นฤดูฝน สมเด็จพระนารายณ์ราชา เจ้ากรุงกัมพูชาให้ออกญากลาโหม คุมกองทัพยกมาเพื่อตีเมืองเสียมราฐกลับคืน โดยยกกำลังมาทางน้ำมาตามทะเลสาบเขมร พระยาทั้งสองของไทยก็ตีกองทัพเขมรแตกกลับไป ออกญากลาโหมบาดเจ็บสาหัสในที่รบ ครั้นแม่ทัพฝ่ายไทย คือพระยาทั้งสองได้รับท้องตราว่า พระเจ้ากรุงธนบุรีจะเสด็จไปตีเมืองนครศรีธรรมราชในฤดูฝน และเมื่อถึงฤดูแล้ง จะเสด็จยกทัพหลวงไปตีกรุงกัมพูชา จึงได้ตั้งรอกองทัพหลวงอยู่ที่เมืองเสียมราฐ ครั้นล่วงถึงฤดูแล้ง ยังไม่ได้ยินข่าวว่า กองทัพหลวงจะยกไปตามกำหนด ก็แคลงใจ ด้วยไม่ทราบว่า พระเจ้ากรุงธนบุรีติดมรสุมอยู่ที่เมืองนครศรีธรรมราช ทราบแต่เพียงว่า พระเจ้ากรุงธนบุรีตีเมืองนครศรีธรรมราชได้ตั้งแต่เดือน 10 ครั้นเห็นเงียบหายไปนานหลายเดือน ก็เกิดข่าวลือว่า พระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จไปสิ้นพระชนม์ที่เมืองนครศรีธรรมราช เมื่อข่าวนี้ทราบไปถึงพระยาทั้งสองก็ตกใจ เกรงจะเกิดความไม่สงบขึ้นที่กรุงธนบุรี จึงได้ปรึกษากัน แล้วตกลงให้ถอนกำลังกลับมาทางเมืองนครราชสีมา ส่วนพระยาอนุชิตราชาได้ยกล่วงมาถึงเมืองลพบุรี เมื่อทราบว่าข่าวนั้นไม่เป็นความจริง จึงหยุดกำลังรออยู่ ฝ่ายพระยาโกษาธิบดี ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองพระตะบอง เมื่อทราบว่ากองทัพไทยทางเมืองเสียมราฐถอนกำลังกลับไป ก็เกรงว่าถ้าตนตั้งอยู่ที่พระตะบองต่อไป เขมรจะรวบรวมกำลังมาเข้าโจมตีได้ จึงได้ถอนกำลังกลับมาทางเมืองปราจีนบุรี แล้วมีใบบอกกล่าวโทษพระยาทั้งสองที่ได้ถอนทัพกลับมา เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีกลับมาถึงกรุงธนบุรี ได้ทราบความตามใบบอกของพระยาโกษาธิบดี จึงมีรับสั่งให้ข้าหลวง หาตัวพระยาอนุชิตราชามาถามความทั้งหมด พระยาอนุชิตราชาก็กราบทูลไปตามความเป็นจริง พระเจ้ากรุงธนบุรีทราบความแล้ว ก็ตรัสสรรเสริญว่าเป็นการกระทำที่สมควรแล้ว แล้วพระองค์จึงตรัสสั่งให้กองทัพไทยที่ยกไปตีเขมรทั้งหมด กลับคืนพระนคร ให้ระงับการตีกรุงกัมพูชาไว้ก่อน
ปราบชุมนุมเจ้านคร
การยกกำลังไปปราบปรามชุมนุมเจ้านครนั้น เป็นเวลาเดียวกันกับที่เกิดเหตุการณ์ทางเขมร ดังที่กล่าวมาแล้ว พระเจ้ากรุงธนบุรีจำเป็นต้องแบ่งกำลังออกไปปฏิบัติการสองทาง แต่เนื่องจากพระองค์ได้เตรียมการไปปราบปรามชุมนุมเจ้านครไว้แล้ว เหตุการณ์ทางเขมรเป็นเหตุการณ์ที่แทรกซ้อนขึ้นมา แต่ก็มีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการในระดับหนึ่ง เพื่อรักษาเกียรติภูมิของไทย ที่กรุงกัมพูชาเคยเป็นข้าขอบขัณฑสีมาของไทยมาก่อน แต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ดังนั้นในด้านเขมรจึงส่งกำลังไปเพียงเล็กน้อย เพื่อยึดฐานปฏิบัติการขั้นต้นไว้ก่อน คอยเวลาที่กำลังส่วนใหญ่ ที่เสร็จภารกิจการปราบปรามชุมนุมเจ้านครแล้ว มาดำเนินการขยายผลต่อไป การดำเนินการชุมนุมเจ้านคร พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงให้เจ้าพระยาจักรี (แขก) เป็นแม่ทัพใหญ่ พระยายมราช พระยาศรีพิพัฒน์ พระยาเพชรบุรี เป็นนายกอง คุมกำลังทางบกมีกำลังพล 5,000 คน ยกไปตีเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อประมาณเดือน 4 ปีฉลู พ.ศ. 2312 เมื่อกองทัพยกไปถึงเมืองชุมพร เมืองไชยา ตามลำดับกรมการเมืองทั้งสอง ก็เข้ามาอ่อนน้อมแต่โดยดี แต่เนื่องจากแม่ทัพนายกองที่ยกไปครั้งนั้น ไม่สามัคคีกัน เมื่อกองทัพยกลงไปถึงแดนเมืองนครศรีธรรมราช ข้ามแม่น้ำหลวง (แม่น้ำตาปี) ไปถึงท่าหมาก แขวงอำเภอลำพูน พบข้าศึกตั้งค่ายสกัดอยู่ กองทัพกรุงธนบุรีเข้าตีค่ายข้าศึกไม่พร้อมกัน จึงเสียทีข้าศึก พระยาศรีพิฒน์ และพระยาเพชรบุรีตายในที่รบ พระยาจักรีก็ถอยทัพกลับมาตั้งอยู่ที่เมืองไชยา ส่วนพระยายมราชก็มีใบบอก กล่าวโทษพระยาจักรีว่า มิได้เป็นใจด้วยราชการ
เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงทราบ ก็ทรงพระดำริเห็นว่า ลำพังกองทัพข้าราชเห็นจะตีเอาเมืองนครศรีธรรมราชไม่ได้ เมื่อทรงประมาณสถานการณ์แล้วเห็นว่า ทางด้านเขมรกองทัพไทยตีได้เมืองเสียมราฐ และพระตะบองแล้ว โอกาสที่จะตีเมืองนครศรีธรรมราชอยู่ในฤดูฝน และจะทำศึกด้านนี้เสร็จทันในฤดูแล้ง ซึ่งเป็นห้วงเวลาที่เหมาะสมในการไปตีกรุงกัมพูชา ดังนั้นพระองค์จึงเสด็จโดยกระบวนเรือ ออกจากกรุงธนบุรี เมื่อเดือน 8 ปีฉลู พร้อมกองทัพหลวงมีกำลังพล 10,000 คน ลงไปตีเมืองนครศรีธรรมราช กระบวนทัพไปถูกพายุที่บางทะลุ แขวงเมืองเพชรบุรี (บริเวณหาดเจ้าสำราญ ปัจจุบัน) ต้องหยุดซ่อมแซมเรือระยะหนึ่ง จากนั้นจึงยกกำลังไปยังเมืองไชยา แล้วจัดกำลังทางบก ให้พระยายมราชเป็นกองหน้า ให้เจ้าพระยาจักรีกับพระยาพิชัยราชา คุมกำลังทัพหลวงยกลงไปทางหนึ่ง พระเจ้ากรุงธนบุรีคุมกำลังลงไปอีกทางหนึ่ง กำหนดให้เข้าตีเมืองนครศรีธรรมราชพร้อมกันทั้งสองทาง ครั้งนั้น เจ้านครสำคัญว่ากองทัพกรุงธนบุรี ยกลงไปแต่ทางบกทางเดียวเช่นคราวก่อน จึงไม่ได้เตรียมการต่อสู้ทางเรือ กำลังทางเรือของพระเจ้ากรุงธนบุรียกไปถึงปากพญา อันเป็นปากน้ำเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อวันพฤหัสบดี แรม 6 ค่ำ เดือน 10 พอเจ้านครทราบก็ตกใจ ให้อุปราชจันทร์นำกำลังไปตั้งค่ายต่อสู้ที่ท่าโพธิ อันเป็นท่าขึ้นเมืองนครศรีธรรมราช อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 30 เส้น พระเจ้ากรุงธนบุรียกกำลังเข้าตีค่ายท่าโพธิแตก จับอุปราชจันทร์ได้ เจ้าเมืองนครเห็นสถานการณ์เช่นนั้น ก็ไม่คิดต่อสู้ต่อไป จึงทิ้งเมือง แล้วพาครอบครัวหนีไปเมืองสงขลา พระเจ้ากรุงธนบุรีก็ได้เมืองนครศรีธรรมราช ส่วนเจ้าพระยาจักรียกกำลังไปทางบก ไปถึงเมืองนครศรีธรรมราช หลังจากพระเจ้ากรุงธนบุรีตีเมืองได้ 8 วัน จึงถูกภาคทัณฑ์โทษที่ไปไม่พ้นตามกำหนด และให้เจ้าพระยาจักรีกับพระยาพิชัยราชา คุมกำลังทางบก ทางเรือ ไปตามจับเจ้านครเป็นการแก้ตัว จากนั้นพระเจ้ากรุงธนบุรี ก็ยกกองทัพหลวงออกจากเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อวันศุกร์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 11 ตามลงไปยังเมืองสงขลา กองทัพเจ้าพระยาจักรีกับพระยาอภัยราชายกไปถึงเมืองสงขลา ได้ทราบความว่าพระยาพัทลุงกับหลวงสงขลา พาเจ้านครหนีลงไปทางใต้ ก็ยกกำลังไปถึงเมืองเทพา อันเป็นเมืองขึ้นของสงขลาอยู่ต่อแดนเมืองมลายู สืบทราบว่าเจ้านครหนีไปอาศัยพระยาปัตตานีศรีสุลต่านอยู่ที่เมืองปัตตานี เจ้าพระยาจักรีจึงมีศุกอักษรไปยังพระยาปัตตานี ขอให้ส่งตัวเจ้านครมาให้ พระยาปัตตานีเกรงกลัว จึงจับเจ้านครพร้อมสมัคพรรคพวกส่งมาให้ เจ้าพระยาจักรีนำกำลังมาเฝ้าพระเจ้ากรุงธนบุรีที่เมืองสงขลา เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีจัดการเมืองสงขลาและพัทลุงเรียบร้อยแล้ว ก็เสด็จกลับมาเมืองนครศรีธรรมราช มาถึงเมื่อวันศุกร์ ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 12 แต่เนื่อจากในห้วงเวลานั้นเป็นมรสุมแรงทะเลมีคลื่นใหญ่ และฝนตกชุกยังเดินทางไม่ได้ จึงยับยั้งอยู่ที่เมืองนครศรีธรรมราชจนถึง เดือน 4 ปีฉลู สิ้นมรสุมแล้วจึงตั้งเจ้านราสุริยวงศ์ผู้เป็นหลานเธอ ให้ครองเมืองนครศรีธรรมราช แล้วให้เลิกทัพกลับพระนคร
ปราบชุมนุมเจ้าพระฝาง
ล่วงมาถึงปีขาล พ.ศ. 2313 มีข่าวมาถึงกรุงธนบุรีว่า เมื่อเดือน 6 ปีขาล เจ้าพระฝางให้ส่งกำลังลงมาลาดตระเวณถึงเมืองอุทัยธานี และเมืองชัยนาท เป็นทำนองว่าจะคิดลงมาตีกรุงธนบุรี พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงมีรับสั่งให้เตรียมกองทัพ จะยกไปตีเมืองเหนือในปีนั้น ขณะนั้นพวกฮอลันดาจากเมืองยะกะตรา (จาร์กาตา) ส่งปืนใหญ่มาถวาย และแขกเมืองตรังกานู ก็นำปืนคาบศิลาเข้ามาถวาย จำนวน 2,000 กระบอก พอเหมาะแก่พระราชประสงค์ของพระเจ้ากรุงธนบุรี ที่จะใช้ทำศึกต่อไปในครั้งนี้ พระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จโดยกระบวนทัพเรือ ยกกำลังออกจากกรุงธนบุรี เมื่อวันเสาร์ แรม 14 ค่ำ เดือน 8 ไปประชุมพล ณ ที่แห่งใดไม่ปรากฎหลักฐาน จัดกำลังเป็น 3 ทัพ ทัพที่ 1 พระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จไปโดยขบวนเรือมีกำลังพล 12,000 คน ทัพที่ 2 พระยาอนุชิตราชา ซึ่งได้เลื่อนขึ้นเป็นพระยายมราช ถือพล 5,000 คน ยกไปทางบกข้างฟากตะวันออกของแม่น้ำแควใหญ่ กองทัพที่ 3 พระยาพิชัยราชา ถือพล 5,000 คน ยกไปทางข้างฟากตะวันตก ฝ่ายเจ้าพระยาฝาง เมื่อทราบว่ากองทัพกรุงธนบุรียกกำลังขึ้นไปดังกล่าว จึงให้หลวงโกษา ยังคุมกำลังมาตั้งรับอยู่ที่เมืองพิษณุโลก กองทัพหลวงของพระเจ้ากรุงธนบุรี ยกขึ้นไปถึงเมืองพิษณุโลก เมื่อ วันเสาร์ แรม 2 ค่ำ เดือน 9 พระเจ้ากรุงธนบุรีมีรับสั่งให้เข้าปล้นเมืองในค่ำวันนั้น ก็ได้เมืองพิษณุโลก หลวงโกษา ยัง หนีไปเมืองเมืองสวางคบุรี พระเจ้ากรุงธนบุรีได้เมืองพิษณุโลกแล้ว กองทัพที่ยกไปทางบกยังขึ้นไปไม่ถึงทั้งสองทัพ ด้วยเป็นฤดูฝนหนทางลำบาก พระองค์ประทับที่เมืองพิษณุโลกอยู่ 9 วัน กองทัพพระยายมราชจึงเดินทางไปถึง และต่อมาอีก 2 วัน กองทัพพระยาพิชัยจึงยกมาถึง เมื่อกำลังพร้อมแล้ว พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงทรงให้กำลังทางบก รีบยกตามข้าศึกที่แตกหนีไปยังสวางคบุรี พร้อมกันทั้งสองทาง รับกำลังทางเรือให้คอยเวลาน้ำเหนือหลากลงมาก่อน ด้วยทรงพระราชดำริว่า ในเวลานั้นน้ำในแม่น้ำยังน้อย หนทางต่อไปลำน้ำแคบ และตลิ่งสูง ถ้าข้าศึกยกกำลังมาดักทางเรือจะเสียเปรียบข้าศึก ทรงคาดการณ์ว่าน้ำจะหลากลงมาในไม่ช้า และก็เป็นจริงตามนั้น พระเจ้ากรุงธนบุรี ก็เสด็จยกกำลังทางเรือขึ้นไปจากเมืองพิษณุโลก กองทัพพระยายมราชกับพระยาพิชัยราชา เมื่อยกไปถึงเมืองสวางคบุรีแล้วก็ล้อมเมืองไว้ เจ้าพระฝางรักษาเมืองไว้ได้ 3 วัน ก็นำกำลังยกออกจากเมือง ตีฝ่าวงล้อมหนีขึ้นไปทางเหนือ ชุมนุมเจ้าพระฝางก็ตกอยู่ในอำนาจกรุงธนบุรี เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีปราบชุมนุมเจ้าพระฝางได้แล้ว ก็เท่ากับได้เมืองเหนือกลับมาทั้งหมด พระองค์ได้ประทับจัดการปกครองเมืองเหนืออยู่ตลอดฤดูน้ำ เกลี้ยกล่อมราษฎรที่แตกฉานซ่านเซ็น ให้กลับมาอยู่ตามภูมิลำเนาเดิม จัดการสำรวจไพร่พลในเมืองเหนือทั้งปวง พบว่า เมืองพิษณุโลกมีพลเมือง15,000 คน เมืองสวรรคโลก มี 7,000 คน เมืองพิชัย รวมทั้งเมือง สวรรคบุรี มี 9,000 คน เมืองสุโขทัย มี 5,000 คน เมืองกำแพงเพชร และเมืองนครสวรรค์ มีเมืองละ 3,000 คนเศษ จากนั้นได้ทรงตั้งข้าราชการซึ่งมีบำเหน็จความชอบในการสงครามครั้งนั้นคือ
พระยายมราช ให้เป็นเจ้าพระยาสุรสีห์พิษณวาธิราช อยู่สำเร็จราชการเมืองพิษณุโลก
พระยาพิชัยราชา ให้เป็นเจ้าพระยาพิชัยราชา สำเร็จราชการเมืองสวรรคโลก
พระยาสีหราชเดโชชัย ให้เป็นพระยาพิชัย
พระยาท้ายน้ำ ให้เป็นพระยาสุโขทัย
พระยาสุรบดินทร์ เมืองชัยนาท ให้เป็นพระยากำแพงเพชร
พระยาอนุรักษ์ภูธร ให้เป็นพระยานครสวรรค์
เจ้าพระยาจักรี (แขก) นั้นอ่อนแอในสงคราม มีรับสั่งให้เอาออกเสียจากตำแหน่งสมุหนายก
พระยาอภัยรณฤทธิ์ ให้เป็นพระยายมราช และให้บัญชาการกระทรวงมหาดไทยแทนสมุหนายกด้วย เมื่อจัดการหัวเมืองเหนือเสร็จแล้ว จึงเสด็จกลับกรุงธนบุรี
พม่าตีเมืองสวรรคโลก
ในเวลานั้นพม่ายังปกครองเมืองเชียงใหม่อยู่ พระเจ้าอังวะตั้งอภัยคามณี ซึ่งได้เลื่อนยศเป็นโปมะยุง่วน มาเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่ ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยายังไม่เสียแก่พม่า เมื่อกองทัพกรุงธนบุรียกขึ้นไปตีเมืองสวางคบุรี พวกเจ้าพระฝางหนีไปพึ่งพม่าทางเชียงใหม่ โปมะยุง่วน เห็นเป็นโอกาสที่จะแผ่อาณาเขตต่อลงมาทางใต้ จึงยกกองทัพลงมาตีเมืองสวรรคโลก เมื่อเดือน 3 ปีขาล พ.ศ. 2313 ขณะนั้น เจ้าพระยาพิชัยราชาเพิ่งไปอยู่เมืองสวรรคโลกยังไม่ถึง 3 เดือน กำลังรี้พลยังน้อยอยู่ แต่เมืองสวรรคโลกมีป้อมปราการสร้างไว้แต่โบราณ ยังมั่นคงแข็งแรงดีอยู่ เจ้าพระยาพิชัยราชาจึงรักษาเมืองมั่นไว้ แล้วบอกหัวเมืองใกล้เคียง ขอกำลังมาช่วยรบพม่า กองทัพเชียงใหม่ก็ตั้งล้อมเมืองไว้ ครั้นเจ้าพระยาสุรสีห์ พระยาพิชัย พระยาสุโขทัย ยกกองทัพไปถึง จึงเข้าตีกระหนาบ กองทัพพม่าก็แตกพ่ายกลับไปโดยง่าย
ไทยตีเมืองเชียงใหม่ครั้งแรก
ครั้งพม่ายกมาตีเมืองสวรรคโลกนั้น พระเจ้ากรุงธนบุรีเพิ่งเสด็จยกทัพกลับจากเมืองเหนือไม่นาน ครั้นได้ทราบความตามใบบอกว่า โปมะยุง่วน เจ้าเมืองเชียงใหม่ยกทัพลงมาทางใต้ ก็ทรงกังวลด้วยเมืองเหนือยังไม่เป็นปึกแผ่น พระองค์จึงรวบรวมผู้คนเข้าเป็นกองทัพหลวง เสด็จยกกองทัพกลับขึ้นไปเมืองเหนืออีก ในเดือน 4 ปีขาล เมื่อเสด็จไปถึงเมืองนครสวรรค์ จึงทราบว่าพวกเจ้าเมืองทางเหนือ ได้ยกกำลังมาช่วยเมืองสวรรคโลก ตีกองทัพข้าศึกแตกกลับไปแล้ว พระเจ้ากรุงธนบุรีเห็นเป็นโอกาสอันควร ที่จะยกทัพขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่ พระองค์จึงยกกองทัพหลวงไปตั้งที่เมืองพิชัย แล้วเรียกกองทัพหัวเมืองเข้ามาสมทบ จากนั้นจึงยกกำลังขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่ เมื่อต้นปี เถาะ พ.ศ. 2314 ด้วยกำลังพล 15,000 คน ให้เจ้าพระยาสุรสีห์เป็นนายทัพหน้า คุมพลพวกหัวเมืองยกขึ้นไปก่อน พระเจ้ากรุงธนบุรีเป็นจอมทัพยกทัพหลวงตามไป เดินทัพไปทางเมืองสวรรคโลก เมืองเถิน เมืองลี้ ครั้งนั้น เจ้าเมืองรายทาง มีพระยาแพร่มังชัยเป็นต้น เข้ามาสวามิภักดิ์ ส่วนที่ไม่ได้เข้ามาสวามิภักดิ์ก็ไม่ได้ต่อสู้ กองทัพกรุงธนบุรียกขึ้นไปถึงเมืองลำพูนโดยสดวก โปมะยุง่วนไม่ได้จัดกำลังมาต่อสู้ระหว่างทาง เป็นแต่แต่งกองทัพ ออกมาตั้งค่ายอยู่นอกเมือง พอกองทัพหน้าของเจ้าพระยาสุรสีห์ไปถึง ก็เข้าโจมตีค่ายข้าศึก แตกหนีกลับเข้าไปในเมือง โปมะยุง่วนก็ให้กองทัพตั้งรักษาเมืองไว้อย่างมั่นคง กองทัพกรุงธนบุรีไปถึง ก็ให้เข้าล้อมเมืองไว้ แล้วเข้าตีเมืองครั้งหนึ่ง รบกันอยู่เกือบครึ่งคืน ตั้งแต่ เวลา 3 นาฬิกาจนรุ่งสว่าง ไม่สามารถเข้าเมืองได ้ ต้องถอนกำลังกลับออกมา พระเจ้ากรุงธนบุรีมีดำรัสว่า เมืองเชียงใหม่มีป้อมปราการมั่นคงนัก พระมหากษัตริย์ พระองค์ใดเสด็จไปตีเมืองเชียงใหม่ครั้งแรกคงตีไม่ได้ ต้องตีครั้งที่ 2 จึงจะได้ ดังนั้น เมื่อพระองค์ประทับล้อมเมืองเชียงใหม่อยู่ 9 วัน จึงดำรัสสั่งให้ถอยทัพกลับลงมา ฝ่ายโปมะยุง่วน เห็นไทยถอย จึงให้กองทัพออกติดตามตี จนกองหลังของกองทัพกรุงธนบุรีระส่ำระสาย มาจนถึงกองทัพหลวง พระเจ้ากรุงธนบุรีเห็นดังนั้น จึงเสด็จลงไปคุมกองหลัง ทรงพระแสงดาบนำทหารเข้าต่อสู้ข้าศึกด้วยพระองค์เอง ทำให้ทหารพากันฮึกเหิม กลับเข้าต่อสู้ข้าศึกถึงตะลุมบอน ข้าศึกต้านทานไม่ไหวก็ถอยหนีกลับไป เมื่อกองทัพถอนกลับมาที่เมืองพิชัยแล้วเดินทางกลับกรุงธนบุรี
การได้เขมรมาอยู่ในขัณฑสีมา
ฝ่ายกรุงกัมพูชา สมเด็จพระนารายณ์ราชา เมื่อได้ข่าวว่าพม่ายกกองทัพลงมาทางเมืองเหนือ เห็นเป็นโอกาสที่จะซ้ำเติมไทย จึงให้นักพระโสทศเจ้าเมืองเปียม ยกกองทัพมาตีเมืองตราด และเมืองจันทบุรี เมื่อปลายปีขาล ซึ่งในห้วงนั้น พระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จไปตีเมืองเชียงใหม่ กองทัพเมืองจันทรบุรีตีกองทัพเขมรแตกกลับไป พอเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จกลับจากการทัพเชียงใหม่ ทรงทราบพฤติกรรมซ้ำเติมไทยของเขมรครั้งนี้ ก็ทรงขัดเคือง ครั้นพักรี้พลพอสมควรแล้ว พอถึงปลายฤดูฝน ก็ทรงให้เตรียมทัพไปตีกรุงกัมพูชา ทรงตั้งพระยายมราชซึ่งรั้งตำแหน่งสมุหนายก เป็นเจ้าพระยาจักรี แทนเจ้าพระยาจักรีแขก ซึ่งถึงแก่อสัญกรรมครั้งไปสงครามเมืองเหนือ และตั้งพระยาราชวังสัน บุตรเจ้าพระยาจักรีแขก เป็นพระยายมราช แล้วดำรัสสั่งให้เจ้าพระยาจักรี เป็นแม่ทัพบกคุมกำลัง 10,000 คน ยกไปทางเมืองปราจีนบุรี และได้พาพระรามราชาไปในทางกองทัพด้วย เพื่อจะได้ให้เกลี้ยกล่อมพวกเขมรด้วยกัน ให้กองทัพบกเข้าตีเมืองพระตะบอง เมืองโพธิสัตว์ เข้าไปจนถึงเมืองบันทายเพชร ซึ่งเป็นราชธานีของกรุงกัมพูชา ส่วนกำลังทางเรือมีจำนวนเรือรบ 100 ลำ เรือทะเล 100 ลำ กำลังพล 15,000 คน ให้พระยาโกษาธิบดีเป็นกองหน้า พระเจ้ากรุงธนบุรีเป็นจอมพลในกองหลวง ยกออกจากกรุงธนบุรี เมื่อวันแรม เดือน 11 ไปประทับที่ปากน้ำเมืองจันทบุรี แล้วให้พระยาโกษาธิบดีกองหน้ายกกำลังไปตีเมืองกำพงโสมก่อน ต่อมาอีก 6 วัน พระเจ้ากรุงธนบุรีก็ยกกองทัพหลวงตามลงไป พระองค์เสด็จถึงปากน้ำเมืองบันทายมาศ เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 12 ให้เกลี้ยกล่อม พระยาราชาเศรษฐี เจ้าเมืองบันทายมาศ ให้มาอ่อนน้อม แต่พระยาราชาเศรษฐีไม่ยอมมาอ่อนน้อม จึงมีรับสั่งให้เข้าตีเมืองบันทายมาศ และตีได้เมื่อวันขึ้น 10 ค่ำ เดือน 11 พระยาราชาเศรษฐีลงเรือ หนีออกทะเลไปได้ เมื่อได้เมืองบันทายมาศแล้ว ก็ให้กระบวนทัพเรือ เข้าคลองขุดไปยังเมืองพนมเปญ ฝ่ายเจ้าพระยาจักรี ยกกำลังทางบกตีได้เมืองพระตะบอง เมืองโพธิสัตว์ และเมืองบริบูรณ์ได้โดยลำดับ ยังแต่จะถึงเมืองบันทายเพชร สมเด็จพระนารายณ์ราชาเห็นว่าจะสู้ไม่ได้ จึงทิ้งเมืองบันทายเพชร อพยพครอบครัว หนีไปเมืองบาพนม เมื่อเจ้าพระยาจักรีได้เมืองบันทายเพชรแล้ว ก็ลงไปเฝ้าพระเจ้ากรุงธนบุรี ที่เมืองพนมเปญ พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงมีรับสั่ง ให้เจ้าพระยาจักรียกกำลังตามไปยังเมืองบาพนม แล้วพระองค์จึงเสด็จยกทัพหลวงตามไป เมื่อได้ความว่า สมเด็จพระนารายณ์ราชา หนีต่อไปยังเมืองญวนแล้ว จึงเสด็จกลับมาที่เมืองพนมเปญ เจ้าพระยาจักรีเมื่อยกกำลังไปถึงเมืองบาพนมแล้วไม่มีการต่อสู้ เมื่อจัดการบ้านเมืองเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็กลับมาเฝ้าพระเจ้ากรุงธนบุรีที่เมืองพนมเปญ ฝ่ายพระยาโกษาธิบดีตีได้เมืองกำพงโสมแล้ว เตรียมการจะเข้าตีเมืองกำปอดต่อไป แต่พระยาปังกลิมา เจ้าเมืองกำปอดมายอมอ่อนน้อมก่อน จึงได้พามาเฝ้าพระเจ้ากรุงธนบุรี ที่เมืองพนมเปญ พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงมอบกรุงกัมพูชา ให้พระรามราชาปกครอง แล้วเลิกทัพกลับในเดือนอ้าย ปีเถาะ พ.ศ. 2314 เมื่อกองทัพกรุงธนบุรีถอนกำลังกลับแล้ว สมเด็จพระนารายณ์ราชา ก็ขอกำลังญวน มาป้องกันตัว แล้วกลับมาอยู่ที่แพรกปรักปรัด ไม่กล้าเข้าไปอยู่ที่เมืองบันทายเพชรอย่างเดิม ฝ่ายพระรามราชาก็ตั้งอยู่ที่เมืองกำปอด เมืองกัมพูชาจึงแยกออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายใต้ขึ้นอยู่กับสมเด็จพระนารายณ์ราชา ฝ่ายเหนือขึ้นกับพระรามราชา ต่อมาเมื่อญวนเกิดกบฏไกเซิน ราชวงศ์ญวนพ่ายแพ้พวกกบฏ สมเด็จพระนารายณ์ราชาขาดญวนมาสนับสนุน จึงได้ขอปรองดองกับพระรามราชา โดยให้พระรามราชาครองกรุงกัมพูชา ส่วนพระนารายณ์ราชาขออยู่ในฐานะรองลงมา พระรามราชาจึงบอกเข้ามายังกรุงธนบุรี พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงโปรดให้อภิเษกนักองนนท์ เป็นสมเด็จพระรามราชา เจ้ากรุงกัมพูชา ทรงตั้งนักองตนซึ่งเป็นสมเด็จพระนารายณ์ ให้เป็นที่มหาอุปโยราช และให้นักองธรรมเป็นที่มหาอุปราช ตั้งแต่นั้นมา กรุงกัมพูชาก็เป็นประเทศราช ขึ้นต่อกรุงธนบุรี เช่นเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยา
พม่าตีเมืองพิชัย ครั้งที่ 1
เมื่อปีเถาะ พ.ศ. 2314 ในแว่นแคว้นกรุงศรีสัตนาคนหุต เจ้าสุริยวงศ์ เจ้าเมืองหลวงพระบางเกิดวิวาทกับ เจ้าบุญสาร เจ้าเมืองเวียงจันทน์ เจ้าสุริยวงศ์ยกกำลังไปตีเมืองเวียงจันทน์ เจ้าบุญสารเกรงว่าจะสู้ไม่ได้ จึงขอให้ พระเจ้าอังวะส่งกำลังมาช่วย ขณะนั้นทางอังวะเสร็จศึกจีนแล้ว พระเจ้ามังระเจ้ากรุงอังวะจึงส่งกำลัง 5,000 คน มีโปสุพลาเป็นแม่ทัพ ยกมาช่วยเมืองเวียงจันทน์ เจ้าสุริยวงศ์ทราบเรื่อง จึงต้องถอยกำลังมารักษาเมืองหลวงพระบาง เพราะอยู่บนเส้นทางที่กองทัพพม่าจะยกไปเวียงจันทน์ โปสุพลาเข้าตีเมืองหลวงพระบางได้แล้ว ก็ไปตั้งอยู่ที่เมืองเชียงใหม่ เพื่อคอยป้องกันไทยยกกำลังขึ้นไป เมื่อกองทัพยกผ่านเมืองน่าน จึงแบ่งกำลังให้ชิกชิงโบ นายทัพหน้ายกเข้ามายึดได้เมืองลับแล แล้วเลยไปตีเมืองพิชัยเมื่อฤดูแล้ง ปลายปีมะโรง พ.ศ. 2315 พระยาพิชัยรักษาเมืองไว้มั่น และขอกำลังจากเมืองพิษณุโลกไปช่วย กองทัพเมืองพิษณุโลกไปถึงก็เข้าตีค่ายพม่า พระยาพิชัยก็ยกกำลังออกตีกระหนาบ ได้รบพุ่งกันถึงขั้นตะลุมบอน ฝ่ายพม่าสู้ไม่ได้ก็แตกหนีไป
พม่าตีเมืองพิชัย ครั้งที่ 2
เมื่อต้นปีมะเส็ง พ.ศ. 2316 พวกเมืองเวียงจันทน์เกิดวิวาทกันเอง พวกหนึ่งจึงไปขอกำลังจากโปสุพลาที่เชียงใหม่ไปช่วย โปสุพลายกกำลังไประงับเหตุเสร็จสิ้นแล้ว ได้ค้างฤดูฝนอยู่ที่เมืองเวียงจันทน์ แล้วบังคับให้เจ้าบุญสารส่งบุตรธิดา กับเสนาบดีผู้ใหญ่ไปเป็นตัวจำนำอยู่ที่เมืองอังวะ เมื่อสิ้นฤดูฝนโปสุพลาก็ยกกองทัพกลับจากเมืองเวียงจันทน์ เลยถือโอกาสมาตีเมืองพิชัย เพื่อทดสอบกำลังของฝ่ายไทย หรือมิฉะนั้นก็เป็นการแก้มือที่แพ้ไทยไปครั้งก่อน ครั้งนี้ เจ้าพระยาสุรสีห์ และพระยาพิชัย คอยระมัดระวังติดตามการเคลื่อนไหวของข้าศึกอยู่ก่อนแล้ว จึงได้วางแผนการรบ โดยยกกำลังไปตั้งซุ่มสกัดข้าศึก ณ ชัยภูมิบนเส้นทางเดินทัพของข้าศึก ฝ่ายไทยก็ตีทัพโปสุพลาแตกกลับไป เมื่อวันแรม 7 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะเส็ง พ.ศ. 2316 การรบครั้งนี้ เมื่อเข้ารบประชิดพระยาพิชัยถือดาบสองมือ นำกำลังเข้าประจัญบาญกับข้าศึกอย่างองอาจกล้าหาญ จนดาบหัก กิตติศัพท์ครั้งนี้เป็นที่เลื่องลือ จึงได้ชื่อว่า พระยาพิชัยดาบหัก ตั้งแต่นั้นมา
ไทยตีเมืองเชียงใหม่ ครั้งที่ 2
พระเจ้ามังระเสร็จศึกกับจีนเมื่อปีเถาะ พ.ศ. 2314 และทราบว่าพระเจ้ากรุงธนบุรี ยกกองทัพขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่ เกรงว่าไทยจะแข็งแกร่งขึ้น จึงคิดมาตีเมืองไทยให้ราบคาบอีกครั้งหนึ่ง การดำเนินสงครามก็ใช้วิธีที่เคยใช้ได้ผลมาแล้วคือ ยกกำลังลงมาจากเชียงใหม่ทางหนึ่ง อีกทางหนึ่งยกมาทางด่านเจดีย์สามองค์ กำลังทั้งสองส่วนนี้จะยกมาบรรจบกันที่กรุงธนบุรี ดังนั้นจึงส่งกำลังเพิ่มเติมเข้ามาให้โปสุพลา แล้วให้โปสุพลาเป็นแม่ทัพ ยกลงมาจากเชียงใหม่ ส่วนกำลังที่จะยกมาทางด่านเจดีย์สามองค์นั้น พระเจ้าอังวะให้ปะกันหวุ่น ซึ่งได้เลื่อนขึ้นเป็นเจ้าเมืองเมาะตะมะ ตำแหน่งเทศาภิบาลมณฑลหัวเมืองมอญฝ่ายได้เป็นแม่ทัพ
ปะกันหวุ่นได้เตรียมการตั้งแต่ปีมะเส็ง พ.ศ. 2316 โดยให้เกณฑ์มอญตามหัวเมืองที่ต่อแดนไทย 3,000 คน มอบภารกิจให้แพกิจาคุมกำลัง 500 คน มาทำทางที่จะยกกองทัพเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ วางแผนตั้งยุ้งฉางไว้ตามเส้นทาง ตั้งแต่เชิงเขาบันทัดด้านแดนพม่า มาจนถึงตำบลสามสบ ท่าดินแดงในแดนไทย
ครั้งนั้นมีพระยามอญเป็นหัวหน้า 4 คน คือพระยาเจ่ง เจ้าเมืองเตริน เป็นหัวหน้ามาทำทางอยู่ในป่าเมืองเมาะตะมะ พม่าได้ทำทารุณกรรมพวกมอญด้วยประการต่าง ๆ พวกมอญโกรธแค้นจึงคบคิดกัน จับแพกิจากับทหารพม่าฆ่าเสีย แล้วรวมกำลังกันยกกลับไป มีพวกมอญมาเข้าด้วยเป็นอันมาก เมื่อเห็นเป็นโอกาส จึงยกไปตีเมืองเมาะตะมะได้ แล้วขยายผลยกขึ้นไปตีเมืองสะโตง และเมืองหงสาวดี ได้ทั้งสองเมือง แล้วขยายผลต่อไปโดยเข้าตีเมืองย่างกุ้ง รบพุ่งติดพันกับพม่าอยู่
พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงทราบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว ทรงเห็นว่าพม่าจะต้องปราบปรามมอญอยู่นาน เป็นโอกาสที่ไทยจะชิงตีเมืองเชียงใหม่ ตัดกำลังพม่าเสียทางหนึ่งก่อน จึงมีรับสั่งให้เกณฑ์กำลังหัวเมืองฝ่ายเหนือมีจำนวน 20,000 คน ไปรวมพลรออยู่ที่บ้านระแหงแขวงเมืองตาก แล้วให้เกณฑ์คนในกรุงธนบุรี และหัวเมืองชั้นในเป็นกองทัพหลวงมีจำนวน 15,000 คน พระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จโดยกระบวนเรือ ออกจากพระนคร เมื่อวันอังคาร แรม 11 ค่ำ เดือน 12 ปีมะเมีย พ.ศ. 2317 ขึ้นไปทางเมืองกำแพงเพชร แล้วให้ประชุมทัพที่บ้านระแหง ตรงที่ตั้งเมืองตากปัจจุบันนี้
ในขณะที่ฝ่ายไทยประชุมทัพอยู่ที่เมืองตากนั้น ก็ได้ข่าวมาว่า พระเจ้าอังวะให้อะแซหวุ่นกี้ ยกกำลังไปปราบพวกมอญ ที่ขึ้นไปตีเมืองย่างกุ้งเป็นผลสำเร็จ พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงมีพระราชดำริว่า โอกาสที่จะตีเมืองเชียงใหม่เหลือน้อยแล้ว พม่าคงติดตามมอญมาเมืองเมาะตะมะ และเมื่อพวกมอญหนีเข้ามาอาศัยเมืองไทย เช่นเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยา พม่าก็จะยกกำลังติดตามมา ถ้าตีเชียงใหม่ได้ช้าหรือไม่สำเร็จ ก็อาจถูกพม่ายกเข้ามาตีตัดด้านหลัง ทั้งทางด้านเมืองกาญจนบุรี และด้านเมืองตาก เมื่อพระองค์ได้ทรงปรึกษากับแม่ทัพนายกองแล้วเห็นว่า มีเวลาพอจะตีเมืองเชียงใหม่ได้ นับว่าเป็นการเสี่ยงที่ใคร่ครวญแล้ว พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงมีดำรัสให้เจ้าพระยาจักรี เป็นแม่ทัพใหญ่ คุมกองทัพหัวเมืองเหนือ ยกขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่กับเจ้าพระยาสุรสีห์ ส่วนกองทัพหลวงตั้งรอฟังข่าวทางเมืองเมาะตะมะอยู่ที่เมืองตาก เพื่อคอยแก้สถานการณ์ กองทัพเจ้าพระจักรีกับเจ้าพระยาสุรสีห์ ยกกำลังขึ้นไปทางเมืองนครลำปาง
ฝ่ายโปสุพลาจึงให้โปมะยุง่วนอยู่รักษาเมืองเชียงใหม่ แล้วจัดกองทัพให้พระยาจ่าบ้านกับพระยากาวิละคุมกำลังชาวเมือง 1,000 คน เป็นกองหน้า โปสุพลายกกำลัง 9,000 คน ยกตามมาหมายจะไปตั้งต่อสู้ที่เมืองนครลำปาง พระยาจ่าบ้านกับพระยากาวิละเป็นไทยชาวลานนา รู้ว่าไทยข้างเมืองใต้พอเป็นที่พึ่งได้ ก็พาพวกกองหน้ามาสามิภักดิ์ต่อเจ้าพระยาจักรี เจ้าพระยาจักรีจึงให้ทั้งสองพระยาถือน้ำกระทำสัตย์ แล้วจึงให้นำทัพไทยยกขึ้นไปเชียงใหม่ เมื่อโปสุพลาทราบเรื่อง จึงรีบถอยกำลังกลับไปรักษาเมืองเชียงใหม่ ให้วางกำลังตั้งค่ายสกัดทาง อยู่ริมฝั่งแม่น้ำพิงเก่าข้างเหนือเมืองลำพูนกองหนึ่ง ส่วนโปสุพลากับโปมะยุง่วนไปเตรียมต่อสู้ที่เมืองเชียงใหม่
ขณะเมื่อเจ้าพระยาจักรีได้เมืองลำปางนั้น พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงทราบว่ามอญเสียที แตกหนีพม่าลงมาเมืองร่างกุ้ง อะแซหวุ่นกี้ยกกองทัพติดตามลงมา พวกมอญกำลังอพยพครอบครัวหนีเข้ามาอยู่เมืองไทยเป็นอันมาก พระองค์จึงดำรัสสั่งลงมาทางกรุงธนบุรี ให้พระยายมราชแขก คุมกองทัพออกไปตั้งกักด่านที่ตำบลท่าดินแดง แขวงเมืองท่าขนุน ในลำน้ำไทรโยค คอยรับครัวมอญ ที่จะเข้ามาทางด่านพระเจดีย์สามองค์ ให้พระยากำแหงวิชิต คุมกำลัง 2,000 คน ตั้งอยู่ที่บ้านระแหง คอยรับครัวมอญที่จะเข้ามาทางด่านเมืองตาก แล้วพระองค์เสด็จยกทัพหลวง ออกจากบ้านระแหง เมื่อวันศุกร์ แรม 5 ค่ำ เดือนอ้าย ปีมะเมีย พ.ศ. 2317 ตามกองทัพเจ้าพระยาจักรีขึ้นไปยังเมืองเชียงใหม่
กองทัพเจ้าพระยาจักรี ยกขึ้นไปจากเมืองนครลำปางถึงเมืองลำพูน พบกองทัพพม่าตั้งค่ายสกัดอยู่ที่ริมน้ำพิงเก่า ก็ให้เข้าโจมตีค่ายพม่า ได้รบพุ่งติดพันกันอยู่หลายวัน กองทัพหลวงพระเจ้ากรุงธนบุรียกไปถึงเมืองลำพูน เมื่อวันอังคาร ขึ้น 2 ค่ำ เดือนยี่ แล้วตั้งทัพอยู่ที่เมืองลำพูน เจ้าพระยาจักรี เจ้าพระยาสุรสีห์ และเจ้าพระยาสวรรค์โลก ระดมตีค่ายพม่าแตกกลับไปเมืองเชียงใหม่ แล้วก็ไล่ติดตามไปล้อมเมืองเชียงใหม่ไว้ โดยให้ตั้งค่ายล้อมเมืองเชียงใหม่จำนวน 34 ค่าย ชักปีกกาตลอดถึงกัน 3 ด้าน คือด้านตะวันออก ด้านใต้ และด้านตะวันตก คงเหลือแต่ด้านเหนือ ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของเจ้าพระยาสวรรค์โลก ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงมีรับสั่งให้ขุดคู วางขวากและวางปืนจุกช่องเตรียมไว้ทุกค่าย แล้วให้ขุดคูทางเดินเข้าไปประชิดตัวเมือง สำหรับให้คนเดินบังทางปืนเข้าไป ถ้าหากว่าข้าศึกยกออกมาตี ก็ให้ไล่คลุกคลีติดพันตามเข้าเมืองไป
โปสุพลา โปมะยุง่วน เห็นฝ่ายไทยตั้งค่ายล้อมเมืองดังกล่าว จึงคุมกำลังออกมาตั้งค่ายประชิด แล้วยกกำลังเข้าปล้นค่ายไทยหลายครั้ง แต่ถูกฝ่ายไทยตีโต้ถอยกลับเข้าเมืองไปทุกครั้ง สุดท้ายจึงได้แต่รักษาเมืองมั่นไว้ ขณะนั้นพวกชาวเมืองเชียงใหม่ ที่หลบหนีพม่าไปซุ่มอยู่ในป่าเขา เห็นฝ่ายไทยไปตั้งค่ายล้อมพม่าอยู่ ก็พากันออกมาเข้ากับกองทัพไทยเป็นอันมาก พวกที่อยู่ในเมือง ก็พากันหลบหนีเล็ดลอดออกมาเข้ากับฝ่ายไทยอยู่ไม่ขาดสาย จนได้ครอบครัวชาวเชียงใหม่ ที่มาเข้ากับกองทัพไทยมีจำนวนกว่า 5,000 คน
ขณะนั้น เหตุการณ์ข้างเหนือกับข้างใต้ ได้เกิดกระชั้นกันเข้าทุกขณะ กล่าวคือมีข่าวว่า พม่ายกกำลังตามครัวมอญ เข้ามาทางด่านบ้านนาเกาะดอนเหล็ก แขวงเมืองตากมีกำลังประมาณ 2,000 คน พระเจ้ากรุงธนบุรี จึงดำรัสสั่งให้เจ้ารามลักษณ์ หลานเธอแบ่งพลจากกองทัพหลวง 1,800 คน ยกลงมาทางบ้านจอมทองเพื่อรับมือกับข้าศึกที่ยกเข้ามาทางด้านนี้ แต่ต่อมาเมื่อทรงทราบว่ากำลังพม่ามีปฏิบัติการไม่เข้มแข็ง จึงทรงให้ยกเลิกภารกิจนี้ แล้วดำรัสให้มีตราถึงพระยากำแหงวิชิต ให้แบ่งกำลังที่เมืองตากออกไปตั้งรักษาด่านบ้านนาเกาะเหล็ก คอยรับครัวมอญที่จะตามเข้ามาทีหลังต่อไป
พระเจ้ากรุงธนบุรีได้เสด็จยกกองทัพหลวง จากเมืองลำพูนขึ้นไปเชียงใหม่ เมื่อวันเสาร์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือนยี่ ตั้งค่ายหลวงประทับที่ริมน้ำใกล้เมืองเชียงใหม่ ในวันนั้น เจ้าพระยาจักรียกกำลังเข้าตีข้าค่ายพม่า ซึ่งออกมาตั้งรับอยู่นอกเมือง ข้างด้านใต้กับด้านตะวันตก ได้หมดทุกค่าย เจ้าพระยาสุรสีห์ก็ยกกำลังเข้าตีค่ายพม่า ที่ออกมาตั้งรับตรงปากประตูท่าแพด้านตะวันออก ได้ทั้ง 3 ค่าย และในค่ำวันนั้นเอง โปสุพลากับโปมะยุง่วนก็ทิ้งเมืองเชียงใหม่ อพยพผู้คนหนีออกไปทางประตูช้างเผือกข้างด้านเหนือ ฝ่ายไทยยกกำลังออกไล่ติดตาม และชิงครอบครัวพลเมืองกลับคืนมาได้เป็นจำนวนมาก พระเจ้ากรุงธนบุรีได้เสด็จโดยขบวนพยุหยาตรา เข้าเหยียบเมืองเชียงใหม่ในวันรุ่งขึ้น ตรงกับวันอาทิตย์ ขึ้น 14 ค่ำ เดือนยี่ ทรงตั้งพระยาจ่าบ้านเป็นพระยาวิเชียรปราการเจ้าเมืองเชียงใหม่ ให้พระยากาวิละเป็นพระยานครลำปางให้พระยาลำพูนเป็นพระยาวัยวงศา ครองเมืองลำพูนตามเดิม
การตีได้เมืองเชียงใหม่ครั้งนี้ ฝ่ายไทยยึดได้พาหนะและเครื่องศัตราวุธของข้าศึกเป็นอันมาก มีปืนใหญ่น้อยรวม 2,110 กระบอก กับม้า 200 ตัว เป็นต้น ต่อมาอีกสองวันได้มีใบบอกเมืองตากว่า มีกองทัพพม่ายกตามครัวมอญล่วงแดนเข้ามา พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงมีรับสั่งให้เจ้าพระยาจักรี คุมกองทัพอยู่จัดการเมืองเชียงใหม่ให้เรียบร้อย ส่วนพระองค์ก็เสด็จยกกองทัพหลวงลงมายังเมืองตาก เมื่อวันศุกร์ แรม 4 ค่ำ เดือนยี่ ฝ่ายเจ้าพระยาจักรีก็ให้พวกท้าวพระยา ออกไปเที่ยวเกลี้ยกล่อมผู้คนพลเมืองที่หนีภัย ไปหลบซ่อนอยู่ตามป่าเขา ให้กลับคืนถิ่นที่อยู่ตามเดิม ครั้งนั้น เจ้าฟ้าเมืองน่านได้เข้ามาสามิภักดิ์ เป็นข้าขอบขัณฑสีมาอีกเมืองหนึ่ง จึงได้เมืองเชียงใหม่ เมืองลำพูน เมืองนครลำปาง เมืองน่าน และเมืองแพร่ กลับมาอยู่ในพระราชอาณาเขตไทย นับตั้งแต่ ปีมะเมีย พ.ศ. 2317 เป็นต้นมาตราบจนทุกวันนี้
การรบพม่าที่บางแก้ว
การรบพม่าที่บางแก้ว
พระเจ้ากรุงธนบุรี เสด็จยกทัพหลวงกลับลงมาจากเชียงใหม่ถึงเมืองตาก เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 3 พอดีกองทัพพม่าที่ยกตามครัวมอญมาทางด่านแม่ละเมา ใกล้จะยกมาถึงเมืองตาก จึงมีรับสั่งให้หลวงมหาเทพ กับจมื่นไวยวรนาถ คุมกำลัง 2,000 คน ยกไปตีทัพพม่า และได้ปะทะกันในวันนั้น พอตกค่ำฝ่ายพม่าก็ถอยหนีไป จึงมีรับสั่งให้ยกกำลังสวนทางที่พม่าถอยหนีไปนั้น ให้พระยากำแหงวิชิตรีบยกกำลังออกไปก้าวสกัดตัดหลังกองทัพพม่า เพื่อตัดรอนกำลังส่วนนี้ให้หมดสภาพไป เมื่อทรงทราบว่า กองทัพพระยากำแหงวิชิต ตีทัพพม่าที่ยกเข้ามาทางด่านแม่ละเมา ให้ถอยหนีกลับไปโดยสิ้นเชิงแล้ว พอกรุงธนบุรีมีใบบอกขึ้นไปว่า มีครัวมอญเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์เป็นอันมาก ก็ทรงประมาณสถานการณ์ได้ว่า คงมีกองทัพพม่า ติดตามครัวมอญเข้ามาทางนั้นอีก ก็เสด็จยกกองทัพหลวงโดยชลมารค ลงมาจากบ้านระแหง เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 3 รีบมาทั้งกลางวันกลางคืน สิ้นเวลา 5 วันก็ถึงกรุงธนบุรี เมื่อพระองค์เสด็จมาถึง พวกครัวมอญได้อพยพมาถึงกรุงธนบุรี ก่อนหน้านั้นแล้ว พระยามอญที่เป็นหัวหน้ามี 4 คน คือ พระยาเจ่ง พระยากลางเมือง ตละเซี่ยง และตละเกล็บ พระเจ้ากรุงธนบุรีมีรับสั่งให้ครัวมอญ ไปตั้งภูมิลำเนาอยู่ที่ปากเกร็ด แขวงเมืองนนทบุรี และที่สามโคก แขวงเมืองปทุมธานี และสำรวจได้ชายฉกรรจ์ที่เข้ามาครั้งนั้น จำนวน 3,000 คนเศษ แล้วทรงตั้งพระยาบำเรอภักดิ์ครั้งกรุงเก่า มีเชื้อสายมอญ ให้เป็นที่พระยารามัญวงศ์ มียศเสมอจตุสดมภ์ เป็นหัวหน้าควบคุมกองมอญทั่วไป ส่วนพระยามอญ และพวกหัวหน้า ก็ทรงตั้งให้มียศศักดิ์เป็นข้าราชการทุกคน
ทางด้านพม่า อะแซหวุ่นกี้ยกกองทัพตามพวกมอญมาถึงเมืองเมาะตะมะ เมื่อเดือนอ้าย ปีมะเมีย พ.ศ. 2317 แล้วให้งุยอคงหวุ่น คุมกำลังพล 5,000 คน ยกกำลังตามครัวมอญมาทางด่านเจดีย์สามองค์ ด้วยเห็นว่า เมื่อครั้งเป็นที่ฉับกุงโบ เคยรบชนะไทยครั้งที่เข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา ครั้งยกมาถึงท่าดินแดงเห็นไทยตั้งค่ายอยู่ ก็เข้าตีค่ายไทย กองทัพของพระยายมราชมีกำลังน้อยกว่า ก็แตกถอยหนีมาอยู่ที่ปากแพรก พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงมีรับสั่งให้รีบเกณฑ์กองทัพในกรุงธนบุรี ให้พระองค์เจ้าจุ้ยลูกเธอ กับพระยาธิเบศร์บดีจางวางมหาดเล็ก นำกำลังพล 3,000 คน ออกไปตั้งรักษาเมืองราชบุรี แล้วให้เจ้ารามลักษณ์หลานเธอนำกำลังพล 1,000 คน ยกขึ้นไปหนุน และให้มีตราขึ้นไปยังกองทัพหัวเมืองเหนือ ให้ยกลงมาด้วย แล้วมีรับสั่งให้เรือเร็ว ขึ้นไปเร่งกองทัพกรุงธนบุรี ที่กำลังเดินทางกลับจากเมืองเหนือ ให้รีบเดินทางกลับมาโดยเร็ว เนื่องจากยังไม่รู้ว่า กองทัพพม่าจะยกกำลังเข้ามามากน้อยเพียงใด
ครั้นถึงวันจันทร์ แรม 4 ค่ำ เดือน 3 พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงทราบว่า กองทัพกรุง ฯ จะลงมาถึงในวันนี้ จึงเสด็จลงประทับอยู่ที่ตำหนักแพ แล้วให้ตำรวจลงเรือเร็วขึ้นไปคอยสั่งกองทัพ ให้เลยออกไปเมืองราชบุรีทีเดียว อย่าให้ผู้ใดแวะบ้านเป็นอันขาด เรือในกองทัพเมื่อมาถึง ได้ทราบกระแสรับสั่ง ก็เลยมาหน้าตำหนักแพ ถวายบังคมลา แล้วเลี้ยวเข้าคลองบางกอกใหญ่ไปทุกลำ มีพระเทพโยธาคนเดียวที่แวะเข้าที่บ้าน เมื่อทรงทราบก็ทรงพิโรธ และได้ทรงประหารชีวิตพระเทพโยธาด้วยพระหัตถ์ พวกกองทัพทั้งปวงก็เกรงพระราชอาชญา พากันรีบยกกำลังออกไปเมืองราชบุรีตามรับสั่ง
การที่พม่ายกกำลังเข้ามาครั้งนี้ อะแซหวุ่นกี้ประสงค์จะให้ตามมานำครัวมอญกลับไป แต่งุยอคงหวุ่นถือตัวว่าเคยชนะไทยมาก่อน ดังนั้น เมื่อตีกองทัพพระยายมราชแขกแตก ถอยลงมาทางท่าดินแดงแล้ว ก็ยกกำลังเข้ามาถึงปากแพรก พระยายมราชก็ถอยร่นมาตั้งอยู่ที่ดงรังหนองขาว งุยอคงหวุ่นจึงแบ่งกำลังออกเป็นสองส่วน ให้มองจายิด คุมกำลัง 2,000 คน ตั้งค่ายอยู่ที่ปากแพรก เที่ยวปล้นทรัพย์จับผู้คนในแขวงเมืองกาญจนบุรี เมืองสุพรรณบุรีและเมืองนครชัยศรี ตัวงูยอคงหวุ่นเองมีกำลัง 3,000 คน ยกลงมาทางฝั่งตะวันตก เพื่อไปปฏิบัติการในแขวงเมืองราชบุรี เมืองสมุทรสงคราม และเมืองเพชรบุรี ครั้นยกกำลังมาถึงบางแก้ว ทราบว่ามีกำลังของฝ่ายไทย ยกออกไปตั้งอยู่ที่เมืองราชบุรี จึงให้ตั้งค่ายมั่นลงที่บางแก้ว 3 ค่าย ชัยภูมิที่ตั้งค่ายนี้เป็นที่ดอน อยู่ชายป่าด้านตะวันตก ไม่ได้ลงมาตั้งทางริมแม่น้ำ เช่นที่บ้านลุกแก หรือตอกละออม เช่นที่พม่าเคยมาตั้งครั้งตีกรุงศรีอยุธยา ทั้งนี้ เพื่อให้สะดวกต่อการปฏิบัติภารกิจในครั้งนี้ และยังป้องกันตัวจากฝ่ายไทยได้ดีกว่า นอกจากนั้น ก็ยังสามารถตั้งอยู่ได้จนถึงฤดูฝน
ฝ่ายไทย พระองค์เจ้าจุ้ยตั้งอยู่ที่เมืองราชบุรี เมื่อทราบว่าพม่าตั้งค่ายอยู่ที่บางแก้ว ด้วยกำลังพล 3,000 คน จึงยกกำลังไปตั้งที่ตำบลโคกกระต่าย ในทุ่งธรรมเสน ห่างจากค่ายพม่าประมาณ 80 เส้น แล้วให้หลวงมหาเทพ คุมกองหน้า ไปตั้งค่ายโอบพม่าทางด้านตะวันตก และให้เจ้ารามลักษณ์นำกำลังยกไปตั้งค่าย โอบทางด้านตะวันออก แล้วบอกความเข้ามายังกรุงธนบุรี
ครั้นถึงวันอังคาร แรม 6 ค่ำ เดือน 3 เมืองนครชัยศรีบอกมาว่า มีพวกพม่ามาปฏิบัติการถึงแขวงเมืองสุพรรณบุรี เมืองนครชัยศรี พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงมีรับสั่งให้พระยาพิชัยไอศวรรย์ ผู้ว่าที่โกษาธิบดียกกำลัง 1,000 คน ไปรักษาเมืองนครชัยศรี จากนั้นให้เตรียมทัพหลวงมีกำลังพล 9,000 คน เมื่อทรงทราบว่า พม่ายกกำลังมาตั้งค่ายอยู่ที่แขวงเมืองราชบุรี จึงเสด็จยกกำลังออกจากพระนคร เมื่อวันอาทิตย์ แรม 11 ค่ำ เดือน 3 ปีมะเมีย พ.ศ. 2317 เมื่อเสด็จถึงเมืองราชบุรี ทรงทราบว่า พม่ากระทำการดูหมิ่นไทย ก็ทรงขัดเคือง เมื่อได้ข่าวว่า มีกำลังพม่าเพิ่มเติมมาที่ปากแพรกอีก 1,000 คน จึงมีรับสั่งให้พระยาสีหราชเดโชชัย กับพระยาวิเศษชัยชาญ ยกกำลัง 2,000 คน ขึ้นไปช่วย พระยายมราชแขกที่หนองขาว จากนั้นจึงเสด็จยกกองทัพหลวงจากเมืองราชบุรี ไปตามทางฟากตะวันตก ไปตั้งค่ายหลวงที่ตำบลเขาพระ เหนือค่ายโคกกระต่ายขึ้นไปประมาณ 40 เส้น ครั้นทราบว่ามีกำลังพม่ายกเข้ามาทางด่านประตูสามบาน ด่านประตูเจ้าขว้างอีกทางหนึ่ง จึงเกรงว่าข้าศึกจะตีตัดทางลำเลียงด้านหลัง จึงมีรับสั่งให้พระองค์เจ้าจุ้ย กับพระยาราชาเศรษฐี ยกกำลังลงมารักษาเมืองราชบุรี
ครั้นถึงวันพฤหัสบดี ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 4 พระเจ้ากรุงธนบุรี เสด็จไปทอดพระเนตรค่ายทหารไทย ที่ตั้งโอบทหารพม่าที่บางแก้ว เมื่อทรงพิจารณาภูมิประเทศแล้ว จึงมีรับสั่งให้ไปตั้งค่ายล้อมพม่าเพิ่มเติมอีกจนรอบ แล้วให็เจ้าพระยาอินทรอภัย ไปตั้งรักษาหนองน้ำที่เขาช่องพราน อันเป็นที่ข้าศึกอาศัยเลี้ยงช้างม้าพาหนะ และเป็นเส้นทางเดินลำเลียงเสบียงอาหารของข้าศึกแห่งหนึ่ง ให้พระยารามัญวงศ์คุมกองมอญที่เข้ามาใหม่ ไปรักษาหนองน้ำที่เขาชะงุ้ม ซึ่งอยู่ในเส้นทางลำเลียงของข้าศึก ด้านเหนือขึ้นไป ระยะทางประมาณ 100 เส้น
ฝ่ายงุยอคงหวุ่น เห็นการปฏิบัติการของฝ่ายไทยเข้มแข็งรัดกุม จะนิ่งเฉยอยู่ต่อไปไม่ได้ จึงให้ยกกำลังมาปล้นค่าย เจ้าพระยาอินทรอภัยที่เขาช่องพรานถึงสามครั้ง แต่ก็แตกกลับไปทุกครั้งในคืนเดียวกัน เห็นจะเป็นอันตราย จึงให้คนเร็วเล็ดลอดไปบอกกองทัพที่ปากแพรก ให้ยกมาช่วย
พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงมีพระราชดำริว่า ถ้าล้อมค่ายบางแก้วไว้ ให้พม่าสิ้นเสบียงอาหาร ก็จะยอมแพ้ ออกมาให้จับเป็นเชลยทั้งหมด จึงมีรับสั่งมิให้เข้าตีค่ายพม่า แต่ให้ล้อมไว้ให้มั่น แล้วให้พระยาเทพอรชุน กับพระดำเกิงรณภพ คุมกองอาจารย์ และทนายเลือก รวม 745 คน เป็นกองโจร ไปช่วยเจ้าพระยาอินทรอภัย ตีตัดกำลังข้าศึกที่เขาช่องพรานอีกกองหนึ่ง
ด้านพม่า อะแซหวุ่นกี้คอยอยู่ที่เมืองเมาะตะมะ เห็นกองทัพงุยอคงหวุ่นหายไปนาน จึงให้ตะแคงมรหน่อง ยกกำลัง 3,000 คน ตามเข้ามา เมื่อมาถึงปากแพรก ได้ทราบว่า งุยอคงหวุ่นถูกฝ่ายไทยล้อมไว้ที่บางแก้ว จึงให้มองจายิดยกกำลัง 2,000 คน ลงมาช่วยงุยอคงหวุ่นที่บางแก้ว ส่วนตนเองยกกำลังลงมาตีค่าย พระยายมราชแขกที่หนองขาว ไม่สามารถเอาชนะฝ่ายไทยได้ จึงถอยกำลังไปตั้งอยู่ที่ปากแพรก
ฝ่ายมองจายิด เมื่อมาถึงเขาชะงุ้ม เห็นกองมอญมีกำลังน้อยกว่า ก็เข้าล้อมไว้ พอตกค่ำ งุยอคงหวุ่นทราบว่า มีกำลังฝ่ายตนยกมาช่วย ก็ยกกำลังออกปล้นค่ายหลวงมหาเทพ หมายจะตีหักออกไป แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ ต้องถอยกลับเข้าค่าย พระยาธิเบศร์บดีซึ่งตั้งอยู่ทางด้านเหนือ ก็ยกไปช่วยแก้กองมอญ ออกมาจากที่ล้อมได้ แต่กำลังไม่พอจะต่อสู้พม่าได้ ก็พากันล่าถอยลงมา มองจายิดจึงเข้าไปรวมกำลังกับฝ่ายตน ที่ค่ายเขาชะงุ้มได้ ในวันนั้น พระยานครสวรรค์ยกกำลังไปถึงเมืองราชบุรี จึงมีรับสั่งให้ขึ้นไปช่วยพระยาธิเบศร์บดีในค่ำวันนั้น แล้วให้กำลังทั้ง 3 กอง ไปตั้งค่ายล้อมพม่าทางด้านเหนือ ป้องกันพม่าทั้งสองพวกมิให้เข้าถึงกันได้
ในเดือน 4 เจ้าพระยาจักรียกกองทัพกลับจากเมืองเชียงใหม่ และได้ตามออกไป พร้อมทั้งพาทูตเมืองน่าน มาถวายต้นไม้ทองเงิน เครื่องราชบรรณาการของเจ้าฟ้าเมืองน่าน ซึ่งมาอ่อนน้อม ยอมเป็นข้าขอบขัณฑสีมา ออกไปเฝ้าด้วย พระเจ้ากรุงธนบุรีสรรเสริญความชอบเจ้าพระยาจักรี พระราชทานบำเหน็จ แล้วมีรับสั่งให้เจ้าพระยาจักรี ถืออาญาสิทธิ์ไปบัญชาการล้อมพม่าที่บางแก้ว เจ้าพระยาจักรีจึงยกกำลังไปตั้งค่ายมั่นอยู่ที่เหนือพระมหาธาตุเขาพระ อยู่เหนือค่ายหลวงขึ้นไป ส่วนพระเจ้ากรุงธนบุรี เสด็จถอยมาประทับอยู่ที่ค่ายโคกกระต่าย ด้วยเหมาะที่จะให้การสนับสนุนได้ทุกด้าน แล้วมีรับสั่งให้หลวงบำเรอภักดิ์ คุมกองกำลังทหารกองนอก 400 คน เป็นกองโจรไปคอยตีสะกัด ไม่ให้พม่าที่เขาชะงุ้ม ออกลาดตระเวณหาอาหารและน้ำใช้ได้สะดวก
ในคืนวันข้างขึ้น เดือน 4 พม่าในค่ายบางกุ้ง ยกกำลังออกปล้นค่ายพระยาพิพัฒน์โกษา แล้วปล้นค่ายหลวงราชนิกุลอีก แต่ก็ไม่เป็นผลเช่นเคย พม่าขัดสนเสบียงอาหาร ต้องกินเนื้อสัตว์พาหนะแต่น้ำในบ่อยังมีอยู่ พม่าต้องอาวุธปืนใหญ่น้อยของไทย เจ็บป่วยล้มตาย จนต้องขุดหลุมลงอาศัยกันโดยมาก ครั้นถึงวันพฤหัสบดี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 เวลาบ่าย พระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จทรงม้าไปที่ค่ายหลวงมหาเทพ ซึ่งตั้งล้อมพม่าอยู่ทางด้านตะวันตก มีรับสั่งให้จักกายเทวะมอญเข้าไปร้องบอกแก่พม่าในค่าย ให้ออกมายอมอ่อนน้อมแต่โดยดี งุยอคงหวุ่นจึงขอเจรจากับ ตละเกล็บหัวหน้ามอญที่มาอยู่กับไทย และได้เป็นที่พระยาราม แต่ก็ยังไม่เป็นผล
เมื่อเจ้าพระยาสุรสีห์กับพวกผู้ว่าราชการหัวเมืองฝ่ายเหนือ คุมกองทัพหัวเมืองลงไปถึง จึงรับสั่งให้เจ้าพระยาสุรสีห์ คุมกองทัพหัวเมืองทั้งปวง ไปตั้งประชิดค่ายพม่าที่เขาชะงุ้มกันไว้ ไม่ให้เข้ามาช่วยพม่าที่ค่ายบางแก้วได้ ทั้งนี้เพื่อคิดจะจับพวกพม่าที่ค่ายบางแก้ว ให้ได้เสียก่อนภารกิจอื่น แม้จะมีข่าวคราวความเคลื่อนไหวของข้าศึก ณ ที่แห่งอื่น ๆ เช่น เมืองคลองวาฬหรือเมืองกุย บอกเข้ามาว่า พวกพม่าที่ยกเข้ามาจากเมืองมะริด ตีบ้านทับสะแกได้แล้ว ลงไปตีเมืองกำเนิดนพคุณ ผู้รั้งกรมการเมืองนำกำลังราษฎรเข้าต่อสู้ ข้าศึกได้เผาเมืองกำเนิดนพคุณ แล้วยกเลยไปทางเมืองปะทิว ซึ่งขึ้นแก่เมืองชุมพร ในกรณีนี้ ได้มีรับสั่งให้มีตราตอบไปว่า ให้ทำลายหนองน้ำและบ่อน้ำ ตามเส้นทางที่จะขึ้นมาเมืองเพชรบุรีให้หมด แห่งใดทำลายไม่ได้ ก็ให้เอาของโสโครก และของที่มีพิษ ใส่ในแหล่งน้ำดังกล่าว อย่าให้ข้าศึกอาศัยใช้ได้
ต่อมา เมื่อทราบเรื่องจากเชลยที่จับมาได้ ว่าพม่าที่เขาชะงุ้มพยายามเล็ดลอด ขนเสบียงมาให้พม่าในค่ายบางแก้ว และได้บอกไปยังตะแคงมรหน่อง ขอกำลังมาเพิ่มเติมให้ทางค่ายเขาชะงุ้ม เพื่อจะได้ตีหักมาช่วยที่ค่ายบางแก้ว จึงมีรับสั่งให้เพิ่มเติมกองโจรให้มากยิ่งขึ้น แล้วให้หลวงภักดีสงคราม นายกองนอกซึ่งอยู่ในกองเจ้าพระยาอินทรอภัย คุมกำลังกองนอก ลอบขึ้นไปทำลายหนองและบ่อน้ำ ในเส้นทางที่จะมาจากปากแพรกเสีย อย่าให้ข้าศึกเพิ่มกำลังเข้ามาได้
ต่อมาพม่าในค่ายเขาชะงุ้ม ก็ทำค่ายวิหลั่น บังตัวออกมาปล้นค่ายเจ้าพระยาสุรสีห์ในเวลาเที่ยงคืน แต่ถูกฝ่ายไทยตีแตกกลับไป จากนั้นก็ไปปล้นค่ายจมื่นศรีสรรักษ์แต่ไม่เป็นผล ต้องถอยกลับเข้าค่ายไป ต่อมาเมื่อวันอังคาร แรม 5 ค่ำ เดือน 4 ก็ยกกำลังออกมาปล้นค่ายพระยานครสวรรค์ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านใต้ ตั้งแต่เวลา 3 นาฬิกาจนรุ่งสว่าง พระเจ้ากรุงธนบุรีรีบเสด็จขึ้นไป มีรับสั่งให้กองอาจารย์และทนายเลือก เข้าช่วยรบ จนถึงเวลา 8 นาฬิกา พม่าจึงถอยหนีกลับเข้าค่ายไป
งุยอคงหวุ่น เห็นสภาพการณ์เช่นนั้น จึงขอเจรจากับฝ่ายไทยอีก โดยให้นายทัพคนหนึ่งออกมาหาพระยาราม พระยารามจึงพาไปที่เจ้ารามลักษณ์ และเจ้าพระยาจักรี วิงวอนขอให้ปล่อยทัพพม่ากลับไป แต่ฝ่ายไทยไม่ยินยอม ฝ่ายพม่า จึงขอกลับไปปรึกษากันก่อน ต่อมาเมื่อวันศุกร์ แรม 8 ค่ำ เดือน 4 งุยอคงหวุ่นให้พม่าตัวนาย 7 คน ออกมาเจรจาอีกว่า พวกพม่าจะยอมอ่อนน้อม ถวายช้างม้าพาหนะ และเครื่องศัตราวุธทั้งหมด ของเพียงให้ปล่อยตัวกลับไป ทางฝ่ายไทยตอบว่า ถ้าออกมาอ่อนน้อมจะยอมไว้ชีวิต แต่จะปล่อยกลับไปไม่ได้ ในวันนั้นอุตมสิงหจอจัว ปลัดทัพของยุงอคงหวุ่น ได้พานายหมวดนายกองพม่ารวม 14 คน นำเครื่องศัตราวุธของตนออกมาส่งให้ไทย จึงได้นำไปเฝ้าพระเจ้ากรุงธนบุรี อุตมสิงหจอจัวกราบทูลว่า จะขอถือน้ำทำราชการกับไทยต่อไปจนชีวิตจะหาไม่ จึงมีรับสั่งให้อุตมสิงหจอจัว ออกไปพูดเกลี้ยกล่อม ให้พวกพม่าออกมาอ่อนน้อม พวกพม่าในค่ายก็ขอปรึกษากันก่อน
ครั้นถึงวันเสาร์ แรม 9 ค่ำ เดือน 4 พระเจ้ากรุงธนบุรีมีรับสั่งให้พระยานครราชสีมา ซึ่งยกกำลังเดินทางมาถึง ให้ไปตั้งค่ายประชิดพม่าที่เขาชะงุ้ม และมีการเจรจาอีกครั้งระหว่างยุงอคงหวุ่น กับอุตมสิงหจอจัว แต่ก็ยังไม่ได้ข้อยุติ จากการประมาณสถานการณ์เห็นว่า พม่าจะยังไม่ยกเข้ามาในปีนี้ ด้วยจวนจะเข้าฤดูฝน ยังไม่จำเป็นต้องเกณฑ์กองทัพหัวเมือง จึงเป็นแต่ให้มีตราเกณฑ์ข้าวสาร เมืองนครศรีธรรมราช 600 เกวียน เมืองไชยา เมืองพัทลุง และเมืองจันทบุรี เป็นข้าวสารเมืองละ 400 เกวียน ให้ส่งมาขึ้นฉางไว้สำรองราชการสงคราม ถ้าหาข้าวได้ไม่ครบตามจำนวนเกณฑ์ ก็ให้ส่งเป็นเงินแทน โดยคิดราคาข้าวสารเกวียนละ 40 บาท ข้าวเปลือกเกวียนละ 20 บาท
ในที่สุดเมื่อวันแรม 15 ค่ำ เดือน 4 งุยอคงหวุ่น และพวกนายทัพนายกองพม่าในค่ายบางแก้ว ก็ออกมายอมอ่อนน้อมทั้งหมด หลังจากที่ฝ่ายไทยล้อมค่ายพม่าได้ 47 วัน ก็ได้ค่ายพม่าทั้ง 3 ค่าย ได้เชลยรวม 1,328 คน ที่ตายไปเสียเมื่อถูกล้อมอีกกว่า 1,600 คน
เมื่อได้ค่ายพม่าที่บางแก้วแล้ว รุ่งขึ้น ณ วันเสาร์ ขึ้นค่ำ 1 เดือน 5 ปีมะแม พ.ศ. 2318 พระเจ้ากรุงธนบุรีก็มีรับสั่งให้ พระยาอนุชิตราชายกกำลังพล 1,000 คน ขึ้นไปทางริมน้ำฟากตะวันตก ให้หลวงมหาเทพยกกำลังพล 1,000 ขึ้นไปทางริมน้ำฟากตะวันออก ให้ไปตีค่ายพม่าที่ปากแพรก พร้อมกับกองทัพของพระยายมราชแขก แล้วมีรับสั่งให้เจ้าพระยาจักรีขึ้นไปตีค่ายพม่าที่เขาชะงุ้ม ในค่ำวันนั้นเวลาเที่ยงคืน พม่าในค่ายเขาชะงุ้ม ยกค่ายวิหลั่นออกมาปล้นค่ายพระมหาสงคราม หมายจะเข้ามาช่วยพวกของตนที่ค่ายบางแก้ว พม่าเอาไฟเผาค่ายพระมหาสงคราม เจ้าพระยาจักรีไปช่วยทันชิงเอาค่ายกลับคืนมาได้ พม่าย้ายไปปล้นค่ายจมื่นศรีสรรักษ์แต่ถูกฝ่ายไทยต่อสู้ จนต้องล่าถอยกลับเข้าค่าย
ต่อมาเมื่อวันอังคาร ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 5 เวลากลางคืน พม่าในค่ายเขาชะงุ้มก็ทิ้งค่ายหนีกลับไปทางเหนือ กองทัพไทยไล่ติดตามไปฆ่าฟันพม่าล้มตาย และจับเป็นเชลยได้เป็นอันมาก เมื่อหนีไปถึงปากแพรก ตะแคงมรหน่องรู้ว่ากองทัพพม่าเสียทีแก่กองทัพไทยหมดแล้ว ก็รีบยกกำลังหนีกลับไปเมืองเมาะตะมะ พระเจ้ากรุงธนบุรีก็มีรับสั่งให้กองทัพยกติดตามไปจนสุดพระราชอาณาเขต แล้วก็ให้กองทัพกลับคืนมาพระนคร พระราชทานบำเหน็จรางวัลแก่แม่ทัพนายกองผู้ใหญ่ผู้น้อย ตามสมควรแก่ความชอบ ที่มีชัยชนะพม่าครั้งนี้โดยทั่วกัน
การรบครั้งนี้ เมื่อพิจารณาดูแล้วจะเห็นว่า พระเจ้ากรุงธนบุรี ตั้งพระทัยที่จะจับพม่า ให้ได้หมดทั้งกองทัพที่มาตั้งที่บางแก้ว ด้วยเหตุที่พม่าประกาศหมิ่นไทยประการหนึ่ง และทรงประสงค์จะปลุกใจคนไทย ให้กลับกล้าหาญดังแต่ก่อน หายครั้นคร้ามพม่า จึงทรงทนความลำบาก ใช้เวลาล้อมพม่าอยู่นาน โดยไม่รบแตกหัก ซึ่งถ้าจะทำก็ทำได้โ ดยใช้เวลาน้อยกว่านี้ แต่ผลที่ได้จะต่างกัน การจับพม่าเป็นเชลยได้เป็นจำนวนมากเช่นนี้ ให้ผลทางด้านจิตวิทยามากกว่า
อะแซหวุ่นกี้ตีหัวเมืองเหนือ
ในปีมะเมีย พ.ศ. 2317 พระเจ้ามังระเสด็จมายกฉัตรยอดพระเกศธาตุ ที่เมืองร่างกุ้ง เมื่อกลางเดือน 4 ขณะนั้น อะแซหวุ่นกี้ปราบปรามพวกมอญเสร็จสิ้นแล้ว เป็นแต่ยังรอกองทัพพม่าที่เข้ามาตามครัวมอญ อยู่เมืองเมาะตะมะ จึงได้ขึ้นไปเฝ้าพระเจ้าอังวะที่เมืองร่างกุ้ง พระเจ้ามังระเห็นว่า มีกองทัพใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองเมาะตะมะแล้ว จึงมอบการที่จะตีเมืองไทย ให้อะแซหวุ่นกี้คิดอ่านดำเนินการต่อไป พอกองทัพตะแคงมรหน่องหนีไทยกลับไปถึง อะแซหวุ่นกี้เห็นว่าไทยทำศึกเข้มแข็งกว่าเก่า เห็นว่าแนวทางที่ใช้ครั้งก่อนไม่ได้ผล จึงคิดจะใช้แบบอย่างครั้งพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง คือยกกองทัพใหญ่เข้ามาตีหัวเมืองเหนือ ตัดกำลังไทยเสียชั้นหนึ่งก่อน แล้วเอาเมืองเหนือเป็นที่มั่น ยกกำลังทั้งทางบก และทางเรือ ลงมาตีกรุงธนบุรีทางลำแม่น้ำเจ้าพระยา จึงพักบำรุงรี้พลอยู่ที่เมืองเมาะตะมะ แล้วมีคำสั่งไปยังโปสุพลา โปมะยุง่วน ซึ่งถอยหนีไทยไปอยู่ที่เมืองเชียงแสน ให้ยกกลับมาตีเมืองเชียงใหม่ให้ได้ ตั้งแต่ในฤดูฝน แล้วให้เตรียมเรือรบ เรือลำเลียง และรวบรวมเสบียงอาหาร ลงมาส่งกองทัพอะแซหวุ่นกี้ ซึ่งจะยกเข้ามาในต้นฤดูแล้ง โปสุพลา โปมะยุง่วน จึงรวบรวมกำลัง ยกลงมาตีเมืองเชียงใหม่ เมื่อเดือน 10 ปีมะแม พ.ศ. 2318
พระเจ้ากรุงธนบุรี จึงดำรัสให้มีตราสั่งเจ้าพระยาสุรสีห์ ให้ยกกองทัพเมืองเหนือ ขึ้นไปช่วยเมืองเชียงใหม่ ให้เจ้าพระยาจักรีคุมกองทัพกรุงธนบุรีหนุนขึ้นไป มอบภารกิจให้ตีพม่าถอยจากเชียงใหม่แล้ว ให้เลยตามขึ้นไปตีเอาเมืองเชียงแสน ไม่ให้พม่ามาอาศัยอีกต่อไป
โปสุพลา โปมะยุง่วน ยกกองทัพมาตีเมืองเชียงใหม่ ก่อนที่กองทัพไทยจะยกขึ้นไปถึง ครั้งได้ข่าวว่ากองทัพไทยยกขึ้นไป ก็ถอยหนีกลับไปตั้งอยู่ที่เชียงแสน แต่พงศาวดารพม่าว่าโปสุพลา ถอยกลับไปเมืองพม่าทางเมืองนาย หวังจะเข้ามาสมทบกับอะแซหวุ่นกี้ แต่มาไม่ทันทัพอะแซหวุ่นกี้
ครั้นถึงเดือน 11 ปีมะแม อะแซหวุ่นกี้ก็ให้กะละโบ่ กับมังแยยางู ผู้เป็นน้องชาย คุมกำลัง 20,000 คน เป็นกองทัพหน้า ยกออกจากเมืองเมาะตะมะ อะแซหวุ่นกี้คุมกำลัง 15,000 คน เป็นกองทัพหลวง ตามมากับตะแคงมรหน่อง และเจ้าเมืองตองอู เข้ามาทางด่านแม่ละเมา เข้ามาเมืองตาก มาถึงบ้านด่านลานหอย ตรงมาเมืองสุโขทัย ให้กองทัพหน้าตั้งอยู่ที่บ้านกงธานี ริมน้ำยมใหม่ ส่วนอะแซหวุ่นกี้ตั้งพักอยู่ที่เมืองสุโขทัย
ฝ่ายเจ้าพระยาจักรี เจ้าพระยาสุรสีห์ ตั้งทัพอยู่ที่เมืองเชียงใหม่ เมื่อได้ข่าวว่าพม่ายกกองทัพใหญ่ เข้ามาทางด่านแม่ละเมา ก็รีบยกทัพกลับมาทางเมืองสวรรคโลก เมืองพิชัย ครั้นมาถึง เมืองพิษณุโลกจึงปรึกษากันถึงการสู้ศึก เจ้าพระยาจักรีเห็นว่าพม่ายกมาเป็นกองทัพใหญ่ กำลังฝ่ายไทยทางเมืองเหนือ มีน้อยกว่าทางพม่าอยู่มาก จึงควรตั้งรับศึกในเมืองพิษณุโลก คอยกองทัพกรุงธนบุรียกขึ้นไปช่วย ด้วยเมืองพิษณุโลกอยู่ทางลำแม่น้ำแควใหญ่ (แม่น้ำน่าน) ใช้เรือขึ้นล่องกับหัวเมืองข้างใต้ได้สะดวก แต่เจ้าพระยาสุรสีห์อยากจะยกไปตีพม่าก่อน จึงรวบรวมกองทัพหัวเมือง ให้พระยาสุโขทัย พระยาอักขรวงศ์เมืองสวรรคโลก และพระยาพิชัย เป็นกองหน้า ยกไปรบพม่าที่บ้านกงธานี เจ้าพระยาสุรสีห์ยกตามไปตั้งอยู่ที่บ้านไกรป่าแฝก พม่ายกมาตีกองทัพพระยาสุโขทัยแตกถอยมา แล้วยกติดตามมาถึงค่ายเจ้าพระยาสุรสีห์ สู้รบกันอยู่สามวัน เห็นว่าพม่ามีกำลังมากกว่ามากนัก เกรงว่าจะโอบล้อมกองทัพไว้ จึงถอยกลับมาเมืองพิษณุโลก
อะแซหวุ่นกี้ แบ่งกำลังให้อยู่รักษาเมืองสุโขทัย 5,000 คน แล้วคุมกำลังพล 30,000 คน ยกตามมาถึงเมืองพิษณุโลก ในเดือนอ้าย ข้างขึ้น ให้ตั้งค่ายรายล้อมเมืองทั้งสองฟากแม่น้ำ เจ้าพระยาทั้งสองก็จัดการป้องกันเมืองเป็นสามารถ เมืองพิษณุโลกนั้นแนวปราการตั้งทั้งสองฟาก เอาลำน้ำไว้กลาง จึงให้ทำสะพานเรือกข้ามแม่น้ำสองแห่ง สำหรับส่งกำลังไปมาให้ช่วยเหลือกันได้ กำลังที่อยู่รักษาเมืองพิษณุโลก ประมาณว่าไม่เกิน 10,000 คน อะแซหวุ่นกี้ออกเลียบค่าย เที่ยวตรวจหาชัยภูมิทุกวัน เจ้าพระยาสุรสีห์คุมพลออกโจมตี แต่ต้องถอยกลับมา เจ้าพระยาจักรีคุมพลออกโจมตีบ้าง พม่าต้องถอยหนีกลับเข้าค่ายหลายครั้ง
อะแซหวุ่นกี้ยกย่องฝีมือ เจ้าพระยาจักรี วันหนึ่งจึงนัดเจรจากัน เมื่อพบกันแล้วได้สอบถามอายุกัน ปรากฎว่า เจ้าพระยาจักรีอายุ 30 ปีเศษ อะแซหวุ่นกี้อายุ 72 ปี อะแซหวุ่นกี้สรรเสริญเจ้าพระยาจักรีว่า รูปก็งาม ฝีมือก็เข้มแข็ง สามารถสู้รบกับตนได้ ขอให้รักษาตัวไว้ ภายหน้าจะได้เป็นกษัตริย์ ต่อไปภายหน้าพม่าจะตีเมืองไทยไม่ได้อีกแล้ว
ฝ่ายกรุงธนบุรี ได้ข่าวว่า อะแซหวุ่นกี้ยกกองทัพใหญ่เข้ามาทางหัวเมืองเหนือ และขณะเดียวกัน ก็จะยกมาจากเมืองตะนาวศรี เข้ามาทางใต้อีกด้วย จึงมีดำรัสสั่งให้เกณฑ์กองทัพ ให้เจ้ารามลักษณ์หลานเธอ ซึ่งเป็นกรมขุนอนุรักษ์สงคราม คุมกำลังออกไปรักษาเมืองเพชรบุรี คอยป้องกันพม่าที่จะยกเข้ามาทางด่านสิงขร แล้วพระเจ้ากรุงธนบุรีก็เสด็จยกทัพหลวง มีกำลังพล 12,000 เศษ ออกจากกรุงธนบุรี เมื่อวันอังคาร แรม 11 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะแม ขึ้นไปรับศึกที่ยกมาทางหัวเมืองเหนือ
กระบวนศึกตอนที่ 1
เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรี เสด็จขึ้นไปถึงเมืองนครสวรรค์ ในชั้นต้น ทรงจัดวางระบบการคมนาคม ที่จะให้กองทัพหลวง กับกองทัพที่เมืองพิษณุโลก ไปมาถึงกันได้สะดวก มีรับสั่งให้พระยาราชาเศรษฐี คุมกำลังชาวจีน จำนวน 3,000 คน ไปตั้งอยู่ที่เมืองนครสวรรค์ คอยระวังรักษาเส้นทางลำเลียง และระวังข้าศึกที่จะยกมาทางลำน้ำโขง แล้วพระองค์เสด็จยกกองทัพหลวง ขึ้นไปทางลำน้ำแควใหญ่ ไปถึงปากพิง แขวงเมืองพิษณุโลก เมื่อวันเสาร์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 3 ให้ตั้งค่ายหลวงอยู่ที่ปากพิง ด้วยเป็นปากคลองลัดทางเรือไปมา ระหว่างลำน้ำแควใหญ่ที่ตั้งเมืองพิษณุโลก กับลำน้ำยมที่ตั้งเมืองสุโขทัย อยู่ได้เมืองพิษณุโลกลงมาเป็นระยะทางเดินหนึ่งวัน แล้วให้แม่ทัพนายกอง คุมกำลังไปตั้งค่ายสองฟากลำแม่น้ำ เป็นระยะขึ้นไป แต่กองทัพหลวงถึงเมืองพิษณุโลก ดังนี้
ระยะที่ 1 ตั้งที่บางทราย มีพระยาราชสุภาวดี เป็นนายทัพ
ระยะที่ 2 ตั้งที่ท่าโรง มีเจ้าพระยา อินทรอภัย เป็นนายทัพ
ระยะที่ 3 ตั้งที่บ้านกระดาษ มีพระยาราชภักดี เป็นนายทัพ
ระยะที่ 4 ตั้งที่วัดจุฬามณี มีจมื่นเสนอในราช เป็นนายทัพ
ระยะที่ 5 ตั้งที่วัดจันทร์ ท้ายเมืองพิษณุโลก มีพระยานครสวรรค์ เป็นนายทัพ
ให้จัดกองตระเวณรักษาเส้นทางคมนาคมทุกระยะ และให้มีกองปืนใหญ่ ทหารเกณฑ์หัด เตรียมไว้เป็นกองหน้า สำหรับสนับสนุนทั่วไป ในเวลาที่ต้องการได้ทันท่วงที ให้พระศรีไกรลาศคุมพล 500 คน ทำทางริมลำน้ำ สำหรับเดินกองทัพแต่ปากพิง ผ่านไปตามค่ายที่ตั้งอยู่ ตลอดถึงเมืองพิษณุโลก
ครั้นถึงวันอังคาร ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 3 อะแซหวุ่นกี้ก็ให้กองทัพพม่ากองหนึ่ง มาตั้งค่ายตรงวัดจุฬามณีข้างฝั่งตะวันตกสามค่าย แล้วให้อีกกองหนึ่ง ยกลงมาลาดตระเวณทางฝั่งตะวันตก ได้รบกับไทยตั้งแต่ค่ายระยะที่สาม ที่บ้านกระดาษลงมา จนถึงค่ายระยะที่หนึ่งที่บางทราย ให้กองเกณฑ์หัดคุมปืนใหญ่รางเกวียน 30 กระบอก ขึ้นไปช่วยรักษาค่ายที่บางทราย พม่ารบพุ่งอยู่จนค่ำจึงถอยกลับไป
ครั้นถึงวันพฤหัสบดี ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 3 พระเจ้ากรุงธนบุรี มีพระราชดำรัสให้พระยาธรรมไตรโลก พระยารัตนพิมล พระยาชลบุรี คุมพลอยู่รักษาค่ายหลวงที่ปากน้ำพิง แล้วพระองค์เสด็จยกกองทัพหลวง ขึ้นไปตั้งที่บางทราย ฝั่งตะวันออก ในค่ำวันนั้น พม่ายกมาทางฝั่งตะวันตก เข้าปล้นค่ายระยะที่สองที่ท่าโรง พระเจ้ากรุงธนบุรีให้กองเกณฑ์หัด 200 คน คุมปืนใหญ่ขึ้นไปช่วย พม่าต้องถอยกำลังกลับไป อะแซหวุ่นกี้จึงสั่งให้กองหนุนที่ตั้งอยู่ที่เมืองสุโขทัย ให้ยกกำลังลงมา ตีตัดเส้นทางลำเลียงของกองทัพกรุงธนบุรี 3,000 คน อีก 2,000 คน ให้ยกไปเสริมกำลังทางด้านเมืองพิษณุโลก
กระบวนศึกตอนที่ 2
พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงเตรียมเข้าตีกองทัพพม่าที่ล้อมเมืองพิษณุโลก ครั้นถึงวันพุธ ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 3 มีรับสั่งให้พระยารามัญวงศ์ คุมพลกองมอญผ่านทางในเมืองพิษณุโลก ขึ้นไปตั้งค่ายประชิดพม่าข้างด้านเหนือ ให้เจ้าพระยาจักรี เจ้าพระยาสุรสีห์ เพิ่มกำลังออกไป ตั้งค่ายประชิดพม่าทางด้านตะวันออก ทางด้านใต้ ให้พระยานครสวรรค์ ซึ่งตั้งอยู่ที่วัดจันทร์ท้ายเมืองพิษณุโลก ตั้งค่ายชักปีกกาประชิดค่ายพม่า ออกไปเป็นหลายค่าย พม่าขุดคูเข้ามาเป็นหลายสาย เอาคูบังตัวเข้ามาตีค่ายไทย ฝ่ายไทยก็ขุดคูออกไป ให้ทะลุถึงคูพม่า รบพุ่งกันในคูทุกค่ายหลายวัน ไม่แพ้ชนะกัน
ครั้นถึงวันอังคาร แรม 2 ค่ำ เดือน 3 พระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จไปถึงค่ายวัดจันทร์ เมื่อเวลา ค่ำ 22 นาฬิกา ให้กองทัพพระยายมราช พระยานครราชสีมา พระยาพิชัยสงครามยกหนุนไปช่วย พระยานครสวรรค์ด้านใต้ ครั้นถึงเวลาดึก 5 นาฬิกา ก็บอกสัญญาณให้กองทัพไทย เข้าระดมตีค่ายพม่า ที่ล้อมเมืองอยู่ทางด้านตะวันออก พร้อมกันทุกค่าย รบกันอยู่จนเช้าก็ยังเข้าค่ายพม่าไม่ได้ ต้องถอยกลับมา ครั้นวันรุ่งขึ้น จึงมีรับสั่งให้ประชุมแม่ทัพนายกอง เห็นว่าการเข้าตีประจัญหน้าไม่สำเร็จ ด้วยพม่ามีกำลังมากกว่า จึงตกลงในเปลี่ยนวิธีการรบ ให้เจ้าพระยาจักรี เจ้าพระยาสุรสีห์ รวมกำลังในเมืองยกออกตีค่ายพม่า โดยให้ตีเฉพาะแต่ค่ายทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ และให้กำลังส่วนหนึ่งจากกองทัพหลวง ตีกระหนาบข้าศึกทางด้านหลัง ให้ข้าศึกแตกโดยกระบวนตีโอบ เป็นลำดับไป วันรุ่งขึ้นได้มีรับสั่งให้กองทัพพระยานครสวรรค์ ที่ตั้งอยู่ที่วัดจันทร์ ถอยลงมายังกองทัพหลวง และให้กองทัพพระยาโหราธิบดี และกองมอญ พระยากลางเมืองขึ้นมาจากค่ายบางทราย รวมกำลังจัดเป็นกองทัพเดียว มีกำลังพล 5,000 คน ในพระยานครสวรรค์เป็นกองหน้า พระยามหามณเฑียรเป็นแม่ทัพ หลวงดำเกิงรณภพหลวงรักษโยธา เป็นกองหนุน ยกกำลังไปซุ่มอยู่ด้านหลังค่ายพม่าทางฝั่งตะวันตก ถ้าเห็นข้าศึกรบพุ่งติดพัน กับกองทัพเจ้าพระยาจักรี เจ้าพระยาสุรสีห์เมื่อใดก็ให้ตีกระหนาบเข้าไป แล้วให้พระราชสงคราม ลงมาเอาปืนใหญ่ที่กรุงธนบุรี เพิ่มเติมขึ้นไปอีกด้วย
ฝ่ายเจ้าพระยาจักรี เจ้าพระยาสุรสีห์ ยกกำลังออกไปตีค่ายพม่า ที่ล้อมเมืองอยู่ทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ เมื่อวันเสาร์ แรม 6 ค่ำ เดือน 3 เจ้าพระยาสุรสีห์ให้เอาไม้ทำคบ ปลายผูกผ้าชุบน้ำมันยาง เอาต้นคบยัดใส่ในกระบอกปืนใหญ่ เอาไฟจุดปลายคบ แล้วยิงเข้าไปในค่ายพม่า เผาค่ายพม่าไหม้ไปค่ายหนึ่ง และถูกหอรบไหม้ทำลายลงหลายหอ แต่ยังตีค่ายพม่าไม่ได้ เนื่องจากกองทัพที่จะยกไปช่วยตีกระหนาบ ยกไปไม่ถึงตามกำหนด เพราะไปพบข้าศึกต้องต่อสู้ติดพันกันอยู่
กระบวนศึกตอนที่ 3
ฝ่ายอะแซหวุ่นกี้ เห็นกองทัพไทยตั้งค่ายตามริมแม่น้ำใต้เมืองพิษณุโลก ย้ายถอนออกไปหลายกอง ทำให้กำลังที่รักษาเส้นทางคมนาคม ระหว่างกองทัพหลวงกับกองทัพเมืองพิษณุโลกอ่อนลง จึงให้กะละโบ่ คุมกำลังมาตั้งสกัด ตัดทางลำเลียงเสบียงอาหาร ที่ส่งเข้าไปเมืองพิษณุโลก
ครั้นถึงวันศุกร์ แรม 12 ค่ำ เดือน 3 ได้มีใบบอกขึ้นไปจากกรุงธนบุรีว่า พม่ายกกำลังเข้ามาทางด่านสิงขร ขึ้นมาตีเมืองกุยเมืองปราณแตก กรมขุนอนุรักษ์สงครามซึ่งรักษาเมืองเพชรบุรี ส่งกำลังออกไปขัดตาทัพอยู่ที่ด่านช่องแคบแขวงเมืองเพชรบุรี พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงทราบเรื่องก็ไม่ไว้พระทัย เกรงพม่าจะยกกำลังเข้ามาตีกรุงธนบุรีอีกทางหนึ่ง จึงมีรับสั่งให้เจ้าประทุมไพจิตร คุมกำลังกลับลงมารักษาพระนครส่วนหนึ่ง กองทัพหลวงก็ถอยกำลังลงไปอีก
ฝ่ายกองมอญที่พระยาเจ่งคุมไปดักพม่าที่เมืองกำแพงเพชร ได้ซุ่มสกัดทางพม่าที่ยกไปจากเมืองสุโขทัย พม่าไม่รู้ตัวก็แตกหนี ยึดได้เครื่องศัตราวุธของข้าศึกมาได้ แต่พม่ามีกำลังมากกว่า พอกองหลังตามมาทัน พระยาเจ่งก็ต้องล่าถอย กองทัพพม่าที่ยกมาเมืองกำแพงเพชรนั้น อะแซหวุ่นกี้สั่งให้ลงมาตีเมืองนครสวรรค์ อันเป็นที่รวบรวมเสบียงอาหารของกองทัพไทย และได้ตัดกำลังฝ่ายไทย ที่จะยกไปช่วย เมืองพิษณุโลกด้วย พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงให้กองทัพพระยาราชภักดี และพระยาพิพัฒน์โกษาถอยลงมาสมทบกองทัพพระยาราชาเศรษฐี รักษาเมืองนครสวรรค์ เมื่อกองทัพพม่าทราบว่า กองทัพไทยตั้งรักษาเมืองนครสวรรค์แข็งแรง จึงยับยั้งตั้งค่ายอยู่ที่เมืองกำแพงเพชร แล้วแต่งกองโจรเดินลัดป่าด้านตะวันตก อ้อมหลังเมืองนครสวรรค์ ลงไปเมืองอุทัยธานี (เก่า)
พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงทราบความเคลื่อนไหวของข้าศึกว่า พม่าที่เมืองกำแพงเพชร ตั้งค่ายอยู่ที่บ้านโนนศาลาค่ายหนึ่ง บ้านถลกบาตรค่ายหนึ่ง บ้านหลวงค่ายหนึ่ง แล้วแยกกำลังลงไปทางเมืองอุทัยธานีกองหนึ่ง ทรงเกรงว่าข้าศึกจะไปซุ่มดักทาง คอยตีกองลำเลียงข้างใต้เมืองนครสวรรค์ลงมา จึงโปรดให้แบ่งกำลังพลในกองทัพหลวง จำนวน 1,000 คน ให้เจ้าอนิรุทธเทวาบัญชาการทั่วไป แล้วแยกออกเป็นกองน้อยสามกอง กองที่หนึ่งให้ขุนอินทรเดช กองที่สองให้หลวงปลัด กับหลวงสรวิชิต นายด่านเมืองอุทัยธานีบังคับ กองที่สามให้เจ้าเชษฐกุมารบังคับ ยกกำลังลงมาคอยป้องกันการลำเลียงเสบียงอาหาร และเครื่องอาวุธยุทธภัณฑ์ซึ่งส่งขึ้นไปจากทางใต้ แล้วแบ่งคนกองอาจารย์ ลงมาช่วยที่เมืองนครสวรรค์ กับให้ลงไปตั้งอยู่ที่บ้านคุ้งสำเภา แขวงเมืองชัยนาทอีกกองหนึ่ง ทางใต้เมืองพิษณุโลก ก็ให้ถอนกองทัพพระยาโหราธิบดี หลวงรักษ์มณเฑียรจากบ้านท่าโรง ลงมาตั้งค่ายที่โคกสลุตในแขวงเมืองพิจิตร ให้พระยานครชัยศรีลงมาตั้งที่โพธิประทับช้าง คอยป้องกันการลำเลียงที่จะขึ้นไปตามลำน้ำแขวงเมืองพิจิตร
ครั้นถึงวันอาทิตย์ แรม 13 ค่ำ เดือน 3 มีรับสั่งให้เจ้าพระยาจักรี เจ้าพระยาสุรสีห์ ลงมาเฝ้าที่ท่าโรง ทรงพระราชดำริจะเปลี่ยนวิธีการรบ คิดรักษาแต่ชัยภูมิที่สำคัญไว้ให้มั่น แล้วดำเนินการตัดเสบียงข้าศึกให้อดอยาก แล้วจึงเข้าตีซ้ำเติม ให้เจ้าพระยาทั้งสองรักษาเมืองพิษณุโลกไว้ ฝ่ายอะแซหวุ่นกี้เห็นได้ท่วงที ด้วยไทยถอนกำลังลงมาข้างใต้เสียมาก จึงคิดเปลี่ยนวิธีการรบ โดยคิดรวบรวมกำลังลงมาโจมตีกองทัพกรุงธนบุรีให้แตก หรือให้ต้องทิ้งเมืองพิษณุโลก พม่าได้ยกมาตั้งค่ายประชิดค่ายพระยาธรรมา และพระยานครสวรรค์ ซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านแขก แล้วกรุยทางจะตั้งค่ายโอบต่อลงมา พระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จตรวจแนวรบ ตั้งแต่ค่ายบ้านท่าโรงไปจนถึงบ้านแขก มีรับสั่งให้กองทัพพระยาสีหราชเดโชชัย กับกองจมื่นทิพเสนา ยกไปช่วยสมทบพระยานครสวรรค์รักษาค่าย มีรับสั่งให้เจ้าพระยาจักรีอยู่รักษาค่ายหลวง ส่วนพระองค์เสด็จยกกำลังทางเรือลงมาจากท่าโรง ลงมาช่วยรักษาค่ายปากพิง ที่ถูกพม่ายกกำลังเข้าปล้นค่าย ฝ่ายเจ้าพระยาจักรี เมื่อเห็นว่าพม่าไม่ได้ยกกำลังมาตีค่ายหลวง จึงให้พระยาเทพอรชุน กับพระพิชิตณรงค์อยู่รักษาการ แล้วกลับขึ้นไปเมืองพิษณุโลก
ในห้วงเวลาตั้งแต่วันพุธ ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 4 ถึงวันพฤหัสบดี แรม 10 ค่ำ เดือน 4 เป็นระยะเวลาเกือบหนึ่งเดือน ได้มีการต่อสู้ติดพันกันกับข้าศึกตลอดแนวรบ จากบ้านแขก ท่าโรง ปากพิง โดยเฉพาะที่ปากพิงที่ค่ายคลองกระพวง พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงจัดกำลังลงไปช่วย ให้พระยาสุโขทัยยกหนุนไปตั้งค่ายชักปีกกาถึงกัน และขุดสนามเพลาะให้ติดต่อกับค่ายที่พม่าตี ให้พวกอาจารย์เก่าใหม่และให้หลวงดำเกิงรณภพ คุมกองเกณฑ์หัดไปสมทบพระยาสุโขทัย ให้กองหลวงรักษโยธา หลวงภักดีสงคราม ยกกำลังไปตั้งค่ายประชิดพม่าข้างปากคลองกระพวง ให้หลวงเสนาภักดีคุมพลกองแก้วจินดา ยกไปกระหนาบหลังข้าศึกอีกด้านหนึ่ง กองทัพพระยาสุโขทัย กองหลวงรักษโยธา กองหลวงเสนาภักดี ยกเข้าตีค่ายพม่าที่คลองกระพวงพร้อมกัน ได้รบพุ่งกันเป็นสามารถไม่แพ้ชนะกัน พระเจ้ากรุงธนบุรีได้มีรับสั่งให้กองทัพเจ้าพระยาอินทรอภัย ซึ่งตั้งอยู่ที่ท่าโรง และกองมอญพระยากลางเมือง ยกลงมาช่วยรบพม่าที่ปากพิงอีกสองกอง ให้ตั้งค่ายชักปีกกาออกไปจากค่ายใหญ่อีก เป็นระยะทาง 22 เส้น พม่ายกกำลังเข้าตีค่ายไทยแต่ไม่สำเร็จ ทั้งสองฝ่ายจึงตั้งประจัญหน้ากันอยู่ พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงมีรับสั่งให้ พระยายมราชลงมาจากค่ายวัดจันทร์ โปรดให้ถืออาญาสิทธิ์ บังคับกองทัพไทยที่ตั้งรบกับข้าศึกที่คลองกระพวงทั้งหมด
อะแซหวุ่นกี้ ให้กะละโบ่คุมกำลังมาตีค่ายไทยที่ตั้งอยู่เหนือปากพิง ให้มังแยยางูน้องชาย คุมกำลังข้ามฟาก มาโอบหลังกองทัพหลวงที่ปากพิง ทางด้านตะวันออก ตั้งค่ายรายประชิดกองทัพหลวงหลายค่าย สู้รบกันอยู่หลายวัน พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงพระราชดำริเห็นว่า ข้าศึกมีกำลังมากนัก จะตั้งสู้รบอยู่ที่ปากพิงต่อไปจะเสียที ครั้นถึงวันพฤหัสบดี แรม 10 ค่ำ เดือน 4 จึงให้ถอยทัพหลวงจากปากพิง มาตั้งมั่นอยู่ที่บางข้าวตอก แขวงเมืองพิจิตร กองทัพที่ตั้งรักษาตามระยะต่าง ๆ ก็ถอยตามทัพหลวงลงมาโดยสำดับหมดทุกกอง
กระบวนศึกตอนที่ 4
ฝ่ายเจ้าพระยาจักรี กับ เจ้าพระยาสุรสีห์ เห็นว่าจะรักษาเมืองพิษณุโลกต่อไปไม่ได้ เพราะขัดสนเสบียงอาหาร ถ้าอยู่ช้าไปจะเสียทีแก่พม่า จึงตกลงให้เตรียมการทิ้งเมืองพิษณุโลก ให้ทหารที่ออกไปตั้งค่ายประชิดพม่า ถอยกลับเข้าเมือง ครั้นทราบว่ากองทัพหลวงล่าถอยไปแล้ว จึงให้เจ้าหน้าที่ระดมยิงปืนใหญ่น้อย หนาแน่นกว่าทุกวัน ตั้งแต่เช้าถึงค่ำของวันศุกร์ แรม 11 ค่ำ เดือน 4 แล้วให้เอาปี่พาทย์ขึ้นไปประโคมตามป้อม ลวงข้าศึกว่าจะเตรียมต่อสู้ในเมืองให้นานวัน แล้วให้จัดกระบวนทัพเป็นสามกอง กองหน้าเลือกพลรบที่มีกำลังแข็งแรง สำหรับตีฝ่าข้าศึก กองกลางคุมครอบครัวราษฎรที่ฉกรรจ์ แม้ผู้หญิงก็ให้มีเครื่องศัตราวุธ สำหรับต่อสู้ทุกคน กองหลังไว้ป้องกันท้ายกระบวน
ครั้นเวลาค่ำ 21 นาฬิกา ให้เปิดประตูเมือง ยกกำลังออกตีค่ายพม่าทางด้านตะวันออก ตีหักออกไปได้แล้วรีบเดินกองทัพไปทางบ้านมุงดอนชมพู ยกกำลังข้ามเขาบรรทัดไปตั้งรวบรวมรี้พลอยู่ที่เมืองเพชรบูรณ์ พม่าล้อมเมืองพิษณุโลกอยู่ 4 เดือน จึงได้เมือง
อะแซหวุ่นกี้ก็ยกกำลังเข้าไปตั้งอยู่ในเมืองพิษณุโลก และได้ออกประกาศแก่บรรดานายทัพนายกองทั้งปวงว่า ไทยเดี๋ยวนี้ฝีมือเข้มแข็งนัก ไม่เหมือนไทยแต่ก่อน การที่เมืองพิษณุโลกเสียครั้งนี้ จะเสียเพราะฝีมือแกล้วทหารแพ้เรานั้นหามิได้ เขาเหตุอดข้าวขาดเสบียงจึงเสียเมือง และการที่จะมารบเมืองไทยสืบไปภายหน้านั้น แม่ทัพที่มีสติปัญญาแลฝีมือ เพียงเสมอเราและต่ำกว่า อย่ามาทำสงครามตีเมืองไทยเลย จะเอาชนะเขามิได้ แม้นดีกว่าเรา จึงจะมาทำศึกกับไทยได้ชัยชนะ
เมื่ออะแซหวุ่นกี้ได้เมืองพิษณุโลกแล้ว เห็นว่าเสบียงอาหารอัตคัดมาก จึงจัดกำลังสองกอง ให้มังแยยางูคุมมาทางเมืองเพชรบูรณ์ทัพหนึ่ง ให้ไปรวบรวมเอาเสบียงอาหารที่เมืองเพชรบูรณ์ และเมืองหล่มศักดิ์ส่งไป ให้กะละโบ่คุมกำลังอีกกองหนึ่ง ยกมาทางเมืองกำแพงเพชร เพื่อแสวงหาเสบียงอาหารเช่นเดียวกัน เมื่อกำลังทั้งสองกองยกไปแล้ว อะแซหวุ่นกี้ได้รับท้องตราว่า พระเจ้ามังระสิ้นพระชนม์ จิงกูจาราชบุตรได้รับราชสมบัติ มีรับสั่งให้กองทัพกลับไปเมืองอังวะโดยเร็ว อะแซหวุ่นกี้จึงยกกองทัพกลับไปทางเมืองสุโขทัย เมืองตาก ไปออกทางด่านแม่ละเมา และสั่งให้กองทัพกะละโบ่ คอยกลับไปพร้อมกับมังแยยางู
พระเจ้ากรุงธนบุรี เมื่อทราบข่าวว่า อะแซหวุ่นกี้ได้เมืองพิษณุโลกแล้วเลิกทัพกลับไป ก็ทรงโทมนัสพระทัยยิ่งนัก คงเป็นเพราะหวังพระทัยว่า เมื่อทัพพม่าสิ้นเสบียงหมดกำลัง ก็เหมือนอยู่ในเงื้อมมือไทย พระเจ้ากรุงธนบุรีได้ให้กองทัพติดตามตีข้าศึกเป็นหลายกอง ให้พระยาพิชัย กับพระยาพิชัยสงครามยกไปกองหนึ่ง ให้พระยาทุกขราษฎรเมืองพิษณุโลก หลวงรักษโยธา หลวงอัคเนศรเป็นกองหน้า พระยาสุรบดินทรเป็นกองหลวงยกไปกองหนึ่ง ให้พระยาเทพอรชุน พระยารัตนพิมล พระยานครชัยศรี ยกไปกองหนึ่ง ให้พระยาธิเบศรบดีคุมพลอาสาจาม ยกไปกองหนึ่ง ทั้ง 4 กองนี้ ให้ไปตามตีกองทัพอะแซหวุ่นกี้ ที่กลับไปทางเมืองตาก แล้วให้พระยาพลเทพ จมื่นเสมอใจราษฎร์ หลวงเนาวโชติ ยกไปกองหนึ่ง พระยาราชภักดี ยกไปกองหนึ่ง ไปตามกองทัพมังแยยางู ซึ่งยกไปทางเพชรบูรณ์ ให้พระยานครสวรรค์กับพระยาสวรรคโลก ยกไปตามกองทัพกาละโบ่ ซึ่งยกไปทางเมืองกำแพงเพชร ส่วนกองทัพหลวงอยู่รอรับครอบครัวราษฎร ที่หนีออกมาจากเมืองพิษณุโลก อยู่ 11 วัน แล้วมีรับสั่งให้พระยายมราช มารักษาค่ายที่บางข้าวตอก คอยรวบรวมครอบครัวราษฎรต่อไป ครั้นถึงวันพฤหัสบดี แรม 14 ค่ำ เดือนหก ปีวอก พ.ศ. 2319 ก็เสด็จยกทัพหลวงมาประทับอยู่ที่ค่ายบางแขม แขวงเมืองนครสวรรค์
กองทัพไทยที่ยกติดตามกองทัพมังแยยางูไปที่บ้านนายม ใต้เมืองเพชรบูรณ์ก็เข้าโจมตี ฝ่ายข้าศึกหนีขึ้นไปทางเหนือ เข้าไปในแดนล้านช้าง แล้วกลับพม่าทางเมืองเชียงแสน กองทัพเจ้าพระยาจักรี เจ้าพระยาสุรสีห์ เมื่อทราบว่าพม่าเลิกทัพกลับไป ก็ยกกำลังจากเพชรบูรณ์ไปทางป่าพระพุทธบาท ผ่านแขวงลพบุรี ขึ้นไปตามตีพม่า พระเจ้ากรุงธนบุรีประทับอยู่ที่ค่ายหลวงตำบลบางแขม ครั้นถึงเดือน 7 ปีวอก พ.ศ. 2319 ทรงทราบว่ามีพม่าตั้งอยู่ที่กำแพงเพชร ประมาณ 2,000 คน จึงมีรับสั่งให้กองทัพพระยายมราช เดินบกไปทางฝั่งแม่น้ำด้านทิศตะวันตกกองหนึ่ง ให้กองทัพพระยาราชสุภาวดี ยกขึ้นไปทางฟากตะวันออกกองหนึ่ง ให้พระยานครสวรรค์ ซึ่งตั้งค่ายอยู่ ณ บ้านโคน ใต้เมืองกำแพงเพชร ยกกำลังขึ้นไปสมทบกัน ตีทัพพม่าที่เมืองกำแพงเพชร ส่วนพระเจ้ากรุงธนบุรี เสด็จยกกองทัพหลวงขึ้นไปตั้งอยู่ที่ปากคลองขลุง ฝ่ายพม่าได้ยกหนีขึ้นไปทางเหนือ พระเจ้ากรุงธนบุรีก็เสด็จกลับคืนพระนคร เมื่อวันเสาร์ ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 7 กองทัพไทยไล่ตามตี กำลังพม่าที่ยังตกค้างอยู่ในไทยจนถึงเดือน 10 ปีวอก จึงขับไล่พม่าออกไปจากบ้านเดิมบางนางบวช แขวงเมืองสุพรรณบุรีต่อกับเมืองนครสวรรค์ หนีออกไปทางด่านเจดีย์สามองค์ สงครามครั้งนี้ได้รบกันตั้งแต่เดือนอ้าย ปีมะแม พ.ศ. 2318 ถึงเดือน 10 ปีวอก พ.ศ. 2319 เป็นเวลา 10 เดือน
พม่าตีเมืองเชียงใหม่
ทางพม่า เมื่อพระเจ้าจิงกูจาขึ้นครองราชย์แล้ว เห็นว่าแคว้นลานนาไทย 57 หัวเมือง มีเมืองเชียงใหม่เป็นต้น ยังถือว่าเป็นเมืองขึ้นสำคัญของพม่า พม่าได้อาศัยแว่นแคว้นลานนาไทย จึงสามารถเอาเมืองหลวงพระบาง และเมืองเวียงจันทน์มาอยู่ในอำนาจได้ พระเจ้าจิงกูจาเห็นว่า ไทยชิงเอาหัวเมืองในแว่นแคว้นลานนามาเกือบหมด ยังเหลือเป็นของพม่าอยู่แต่หัวเมืองในลุ่มน้ำโขง คือหัวเมืองเชียงราย และเมืองเชียงแสนเป็นต้น พระเจ้าจิงกูจาจึงให้เกณฑ์กองทัพพม่ามอญ มีกำลังพล 6,000 คน ให้อำมลอกหวุ่นเป็นแม่ทัพ ให้ต่อหวุ่น กับพระยาอู่มอญเป็นปลัดทัพ ยกมาตีเมืองเชียงใหม่ เมื่อปีวอก พ.ศ. 2319 ให้มาสมทบกับ กองทัพโปมะยุง่วนซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองเชียงแสน พร้อมกับลงมาตีเมืองเชียงใหม่
พระยาจ่าบ้าน ผู้ครองเมืองเชียงใหม่ และได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระยาวชิรปราการ เห็นกองทัพพม่ายกมามีมาก เหลือกำลังที่จะต่อสู้ได้ ดังนั้น เมื่อได้มีใบบอกมายังกรุงธนบุรีแล้ว ก็อพยพครอบครัวทิ้งเมืองเชียงใหม่ หนีลงมาเมืองสวรรคโลก พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงให้มีตราสั่งเจ้าพระยาสุรสีห์ ให้คุมกองทัพหัวเมืองเหนือ ขึ้นไปสมทบกับพระยากาวิละเจ้าเมืองนครลำปาง ยกไปตีเอาเมืองเชียงใหม่คืน เมื่อได้เมืองเชียงใหม่คืนแล้ว พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงพระราชดำริว่า เมืองเชียงใหม่นั้นผู้คนมีไม่พอที่จะรักษาเมืองได้ เมื่อกองทัพไทยยกกลับลงมาแล้ว พม่ายกทัพกลับมา ก็จะเสียเมืองเชียงใหม่อีก จึงมีรับสั่งให้ทิ้งเมืองเชียงใหม่เสีย เมืองเชียงใหม่จึงถูกทิ้งร้างไปเป็นเวลา 15 ปี จนในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงได้กลับตั้งขึ้นอีก
สงครามครั้งนี้นับเป็นสงครามครั้งที่ 10 และเป็นครั้งสุดท้ายที่ไทยรบกับพม่าในสมัยกรุงธนบุรี ต่อมาไทยกับพม่าได้ว่างเว้นสงครามต่อกัน ถึง 8 ปี
การปราบปรามหัวเมืองด้านตะวันออกเฉียงเหนือ
ในระหว่างที่พระเจ้ากรุงธนบุรี ติดรบพุ่งอยู่กับอะแซหวุ่นกี้นั้น พระยาเจ้าเมืองนางรอง ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของเมืองนครราชสีมา เกิดวิวาทกับพระยานครราชสีมา แล้วเอาเมืองนางรองไปขอขึ้นกับเจ้าโอ เจ้าเมืองนครจำปาศักดิ์ ซึ่งตั้งตัวเป็นอิสระอยู่ในสมัยนั้น พระยานครราชสีมาจึงบอกเข้ามายังกรุงธนบุรีว่า พระยานางรองเป็นกบฎ เมื่อเดือน 4 ปีวอก พ.ศ. 2319
พระเจ้ากรุงธนบุรี จึงมีรับสั่งให้เจ้าพระยาจักรี ยกกำลังไปปราบเมืองนางรอง เจ้าพระยาจักรีขึ้นไปถึงเมืองนครราชสีมา ให้กองทัพหน้ายกออกไปตีเมืองนางรอง จับตัวพระยานางรองได้ พิจารณาความเป็นสัตย์ ก็ให้ประหารชีวิตเสีย เมื่อปราบปรามเมืองนางรองเสร็จแล้ว เจ้าพระยาจักรีได้ทราบความว่า เจ้าโอกับเจ้าอินทร์อุปราชเมืองจำปาศักดิ์ เตรียมกองทัพมีกำลังพล 10,000 คนเศษ จะยกมาตีเมืองนครราชสีมา จึงบอกความเข้ามายังกรุงธนบุรี เมื่อต้นปีระกา พ.ศ. 2320 พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงมีรับสั่งให้เจ้าพระยาสุรสีห์ ยกกองทัพหนุนขึ้นไป แล้วให้เจ้าพระยาทั้งสองไปปราบปรามเมืองนครจำปาศักดิ์เสียด้วย เจ้าโอกับเจ้าอินทร์สู้ไม่ได้ก็หนีลงไปทางใต้ กองทัพไทยตามไปจับได้ที่เมืองโขง (เมืองสีทันดรในปัจจุบัน) คนหนึ่ง ที่เมืองอัตปือ อีกคนหนึ่ง จึงได้เมืองโขลงและเมืองอัตปือมาเป็นของไทยในครั้งนั้น
เมื่อเจ้าพระยาทั้งสองได้เมืองนครจำปาศักดิ์แล้ว จึงให้ไปเกลี้ยกล่อมหัวเมืองเขมรป่าดง ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างเมืองนครจำปาศักดิ์ กับเมืองนครราชสีมาทางตอนใต้ ได้แก่ เมืองสุรินทร์ เมืองสังขะ และเมืองขุขัน ทั้งสามเมืองได้พากันมาอ่อนน้อม ยอมเป็นข้าขอบขัณฑสีมาของไทยตั้งแต่นั้นมา เมื่อเสร็จราชการกองทัพกลับมาถึงกรุงธนบุรี พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงปูนบำเหน็จแก่แม่ทัพนายกองที่มีความชอบ เลื่อนยศเจ้าพระยาจักรีขึ้นเป็นสมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึก มีเครื่องยศอย่างเจ้ากรม และคงตำแหน่งเป็นสมุหนายกอย่างเดิม
ตีกรุงศรีสัตนาคนหุต
ในปีจอ พ.ศ. 2321 พระวอ เสนาบดีเมืองเวียงจันทน์ เกิดวิวาทรบพุ่งกับเจ้าเวียงจันทน์ พระวอสู้ไม่ได้จึงหนีมาอาศัยอยู่กับเจ้านครจำปาศักดิ์ แล้วพาสมัคพรรคพวกมาตั้งภูมิลำเนาอยู่ที่ดอนมดแดงริมแม่น้ำมูล เหนือเมืองนครจำปาศักดิ์ อันเป็นที่ตั้งของจังหวัดอุบลราชธานีในปัจจุบัน เมื่อไทยไปตีเมืองจำปาศักดิ์ พระวอได้มาอ่อนน้อมขอขึ้นต่อกรุงธนบุรี ครั้งกองทัพไทยยกทัพมาแล้ว เจ้าเวียงจันทน์ให้พระยาสุโพ ยกกำลังลงมาตีเมืองดอนมดแดง แล้วจับพระวอฆ่าเสีย พระเจ้ากรุงธนบุรีทราบก็ทรงขัดเคือง จึงมีรับสั่งให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกกับเจ้าพระยาสุรสีห์ ยกกองทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์ เมื่อเดือนอ้าย ปีจอ พ.ศ. 2321
กองทัพไทยยกออกจากกรุงธนบุรี ขึ้นไปตั้งประชุมพลที่เมืองนครราชสีมา รวบรวมกำลังพลได้ 20,000 คน สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกยกไปทางหนึ่ง ให้เจ้าพระยาสุรสีห์ลงไปเกณฑ์กองทัพเรือที่กรุงกัมพูชา มีกำลังพล 10,000 คน ยกไปทางแม่น้ำโขงอีกทางหนึ่ง โดยขุดคลองอ้อมลีผี มาถึงนครจำปาศักดิ์แล้วเข้าตีเมืองนครพนม และเมืองหนองคาย ส่วนกำลังทางบกก็เข้าตีหัวเมืองรายทางที่ขึ้นกรุงศรีสัตนาคนหุต ไปตามลำดับ แล้วบรรจบกำลังกันที่เมืองเวียงจันทน์
ครั้งนั้น เจ้าหลวงพระบางได้ทราบว่าไทยยกกำลังทางบกทางเรือ ขึ้นไปตีเมืองเวียงจันทน์ พิจารณาแล้วเห็นว่า ถ้านิ่งเฉยอยู่ ถ้าไทยได้เมืองเวียงจันทน์แล้ว คงจะเลยไปตีเมืองหลวงพระบางด้วย และด้วยเหตุอีกประการหนึ่งคือ เจ้าหลวงพระบางนั้นเป็นอริกับเจ้าเวียงจันทน์มาแต่ก่อน ดังนั้นจึงได้แต่งทูตมาหาสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก รับอาสาจะให้กองทัพหลวงพระบาง ลงมาตีเมืองเวียงจันทน์ด้านเหนือ และจะขอเอากรุงธนบุรีเป็นที่พึ่งต่อไป สมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึก จึงให้กองกำลังของพระยาเพชรบูรณ์กำกับทัพเมืองหลวงพระบาง เข้าตีทางด้านเหนือของเมืองเวียงจันทน์
ฝ่ายเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต ตั้งแต่ทราบว่ากองทัพไทยยกขึ้นไปก็เตรียมต่อสู้ โดยได้แต่งกองทัพ ให้มาคอยยับยั้งกองทัพไทย ตามหัวเมืองและตามด่านที่สำคัญหลายแห่ง แต่ก็พ่ายแก่ไทยแตกหนีไปตามลำดับ จนกองทัพกรุงธนบุรีขึ้นไปถึงเมืองเวียงจันทน์ แล้วเข้าล้อมเมืองไว้ ได้รบพุ่งกันอยู่ถึง 4 เดือน เห็นเหลือกำลังจะรักษาเมืองเวียงจันทน์ไว้ได้ จึงพาเจ้าอินท์เจ้าพรหมราชบุตร และคนสนิทหนีไปเมืองคำเกิด ทางต่อแดนญวน กองทัพไทยก็เข้าเมืองเวียงจันทน์ได้ จับได้เจ้าอุปราช เจ้านันทเสน และญาติวงศ์เจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต กับทั้งผู้คนพาหนะเครื่องศัตราวุธ และทรัพย์สิ่งของทั้งปวงเป็นอันมาก
ฝ่ายชนะศึกครั้งนี้ได้เมืองหลวงพระบาง เมืองเวียงจันทน์กับหัวเมืองทั้งปวง มาเป็นข้าขอบขัณฑสีมา ขยายพระราชอาณาเขตทางด้านทิศตะวันออก และด้านทิศเหนือออกไปจนจดเขตแดนญวน และเขตแดนเมืองตังเกี๋ย และเมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ยกกองทัพกลับมากรุงธนบุรี ก็ให้อัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฎิมากร แก้วมรกตกับพระบาง จากเมืองเวียงจันทน์มายังกรุงธนบุรีด้วย
ตีกรุงกัมพูชา
ในปีชวด พ.ศ. 2323 กรุงกัมพูชาเกิดเป็นจลาจล เนื่องด้วยเดิมนักองตนกับองค์นนท์ ชิงราชสมบัติกัน ต่อมาปรองดองกันได้ พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงทรงตั้งนักองนนท์ เป็นสมเด็จพระรามราชาครองกรุงกัมพชา ให้นักองตนเป็นมหาอุปโยราช และให้นักองธรรมเป็นมหาอุปราช ต่อมามหาอุปราชถูกลอบฆ่าตาย และมหาอุปโยราช ก็เป็นโรคปัจจุบัน สิ้นชีพลงอีกองค์หนึ่ง บรรดาขุนนางเขมรที่เป็นพวกของมหาอุปโยราช พากันเข้าใจว่า สมเด็จพระรามราชาเป็นผู้ฆ่าทั้งสององค์นั้น จึงคบคิดกันเป็นกบฎ จับสมเด็จพระรามราชาถ่วงน้ำเสีย กรุงกัมพูชาก็สิ้นเจ้านายที่จะปกครอง คงเหลือแต่นักองเองบุตรของนักองตนที่เป็นมหาอุปโยราชยังเล็ก อายุได้ 4 ขวบ ฟ้าทะละหะชื่อมู จึงว่าราชการกรุงกัมพูชาแทนนักองเองต่อมา ในตอนแรก็ยอมขึ้นอยู่กับไทยเหมือนก่อน ครั้งต่อมา ฟ้าทะละหะตั้งตัวเป็นเจ้ามหาอุปราช แล้วฝักฝ่ายกับญวน ประสงค์จะเป็นเจ้ากรุงกัมพูชาเสียเอง
พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงพระราชดำริว่า จะปล่อยกรุงกัมพูชาไว้ไม่ได้ จึงมีรับสั่งให้เเกณฑ์กองทัพมีกำลังพล 10,000 คน ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ถืออาญาสิทธิเป็นแม่ทัพใหญ่ เจ้าพระยาสุรสีห์เป็นแม่ทัพหน้า เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์เป็นกองหนุน พระยากำแหงสงคราม พระยานครราชสีมา เป็นเกียกกาย พระยานครสวรรค์เป็นยกกระบัตร กรมขุนรามภูเบศรเป็นกองหลัง พระยาธรรมาเป็นกองลำเลียง ยกกำลังไปตีกรุงกัมพูชา และมีรับสั่งว่า เมื่อตีกรุงกัมพูชาได้แล้ว ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก อภิเษกเจ้าฟ้ากรมขุมอินทรพิทักษ์ ให้ครองกรุงกัมพูชาต่อไป
การเดินทัพไปครั้งนี้ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก นำกำลังไปตั้งอยู่ที่เมืองเสียมราฐ ให้เจ้าพระยาสุรสีห์ยกกำลังไปทางทะเลสาบ ด้านตะวันตกไปตีเมืองบันทายเพชร อันเป็นราชธานีกรุงกัมพูชา ให้กองทัพเจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ กองทัพพระยากำแหงสงครามยกหนุนไปด้วย ให้กองทัพกรมขุนรามภูเบศร์ กองทัพพระยาธรรมายกไปทางริมทะเลสาบฟากตะวันออก ไปตั้งอยู่ที่เมืองกำปงสวาย
ฝ่ายฟ้าทะละหะ รู้ว่ากองทัพไทยยกลงไป เห็นเหลือกำลังที่จะต่อสู้ จึงทิ้งเมืองบันทายเพชร อพยพครอบครัวไปอยู่เมืองพนมเปญ แล้วไปขอกองทัพญวนที่เมืองไซ่ง่อน ญวนได้ยกทัพเรือมาที่เมืองพนมเปญ กองทัพเจ้าพระยาสุรสีห์ยกตามลงไป ทราบว่ากองทัพญวนมาตั้งอยู่ที่เมืองพนมเปญ จึงบอกมายังสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก แล้วตั้งค่ายคอยคำสั่งแม่ทัพใหญ่อยู่ ยังไม่ได้รบกับญวน ส่วนเจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ ก็ยกกำลังไปตั้งอยู่ที่เมืองบันทายเพชร
การสงครามด้านเขมรได้หยุดอยู่เพียงนี้ ด้วยทางกรุงธนบุรีเกิดเป็นจลาจล สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ต้องเลิกทัพกลับมาปราบยุคเข็ญ
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้อิสรภาพของไทยจากข้าศึกที่มาย่ำยีไทยอย่างยับเยินที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย ได้ระยะเวลาอันรวดเร็ว นับเป็นพระอัจฉริยภาพอันสูงส่ง ทรงรวบรวมไทยให้กลับเป็นปึกแผ่นอันหนึ่งอันเดียวกัน ขยายขอบขัณฑสีมาออกไปทั่วทุกทิศเป็นที่คร้ามเกรงของบรรดาประเทศต่าง ๆ ที่มีอาณาเขตติดต่อกับไทย เป็นรากฐานให้ไทยดำรงความยิ่งใหญ่ในแหลมทอง ตราบเท่าทุกวันนี้
พระเจ้ากรุงธนบุรี เสด็จยกทัพหลวงกลับลงมาจากเชียงใหม่ถึงเมืองตาก เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 3 พอดีกองทัพพม่าที่ยกตามครัวมอญมาทางด่านแม่ละเมา ใกล้จะยกมาถึงเมืองตาก จึงมีรับสั่งให้หลวงมหาเทพ กับจมื่นไวยวรนาถ คุมกำลัง 2,000 คน ยกไปตีทัพพม่า และได้ปะทะกันในวันนั้น พอตกค่ำฝ่ายพม่าก็ถอยหนีไป จึงมีรับสั่งให้ยกกำลังสวนทางที่พม่าถอยหนีไปนั้น ให้พระยากำแหงวิชิตรีบยกกำลังออกไปก้าวสกัดตัดหลังกองทัพพม่า เพื่อตัดรอนกำลังส่วนนี้ให้หมดสภาพไป เมื่อทรงทราบว่า กองทัพพระยากำแหงวิชิต ตีทัพพม่าที่ยกเข้ามาทางด่านแม่ละเมา ให้ถอยหนีกลับไปโดยสิ้นเชิงแล้ว พอกรุงธนบุรีมีใบบอกขึ้นไปว่า มีครัวมอญเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์เป็นอันมาก ก็ทรงประมาณสถานการณ์ได้ว่า คงมีกองทัพพม่า ติดตามครัวมอญเข้ามาทางนั้นอีก ก็เสด็จยกกองทัพหลวงโดยชลมารค ลงมาจากบ้านระแหง เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 3 รีบมาทั้งกลางวันกลางคืน สิ้นเวลา 5 วันก็ถึงกรุงธนบุรี เมื่อพระองค์เสด็จมาถึง พวกครัวมอญได้อพยพมาถึงกรุงธนบุรี ก่อนหน้านั้นแล้ว พระยามอญที่เป็นหัวหน้ามี 4 คน คือ พระยาเจ่ง พระยากลางเมือง ตละเซี่ยง และตละเกล็บ พระเจ้ากรุงธนบุรีมีรับสั่งให้ครัวมอญ ไปตั้งภูมิลำเนาอยู่ที่ปากเกร็ด แขวงเมืองนนทบุรี และที่สามโคก แขวงเมืองปทุมธานี และสำรวจได้ชายฉกรรจ์ที่เข้ามาครั้งนั้น จำนวน 3,000 คนเศษ แล้วทรงตั้งพระยาบำเรอภักดิ์ครั้งกรุงเก่า มีเชื้อสายมอญ ให้เป็นที่พระยารามัญวงศ์ มียศเสมอจตุสดมภ์ เป็นหัวหน้าควบคุมกองมอญทั่วไป ส่วนพระยามอญ และพวกหัวหน้า ก็ทรงตั้งให้มียศศักดิ์เป็นข้าราชการทุกคน
ทางด้านพม่า อะแซหวุ่นกี้ยกกองทัพตามพวกมอญมาถึงเมืองเมาะตะมะ เมื่อเดือนอ้าย ปีมะเมีย พ.ศ. 2317 แล้วให้งุยอคงหวุ่น คุมกำลังพล 5,000 คน ยกกำลังตามครัวมอญมาทางด่านเจดีย์สามองค์ ด้วยเห็นว่า เมื่อครั้งเป็นที่ฉับกุงโบ เคยรบชนะไทยครั้งที่เข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา ครั้งยกมาถึงท่าดินแดงเห็นไทยตั้งค่ายอยู่ ก็เข้าตีค่ายไทย กองทัพของพระยายมราชมีกำลังน้อยกว่า ก็แตกถอยหนีมาอยู่ที่ปากแพรก พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงมีรับสั่งให้รีบเกณฑ์กองทัพในกรุงธนบุรี ให้พระองค์เจ้าจุ้ยลูกเธอ กับพระยาธิเบศร์บดีจางวางมหาดเล็ก นำกำลังพล 3,000 คน ออกไปตั้งรักษาเมืองราชบุรี แล้วให้เจ้ารามลักษณ์หลานเธอนำกำลังพล 1,000 คน ยกขึ้นไปหนุน และให้มีตราขึ้นไปยังกองทัพหัวเมืองเหนือ ให้ยกลงมาด้วย แล้วมีรับสั่งให้เรือเร็ว ขึ้นไปเร่งกองทัพกรุงธนบุรี ที่กำลังเดินทางกลับจากเมืองเหนือ ให้รีบเดินทางกลับมาโดยเร็ว เนื่องจากยังไม่รู้ว่า กองทัพพม่าจะยกกำลังเข้ามามากน้อยเพียงใด
ครั้นถึงวันจันทร์ แรม 4 ค่ำ เดือน 3 พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงทราบว่า กองทัพกรุง ฯ จะลงมาถึงในวันนี้ จึงเสด็จลงประทับอยู่ที่ตำหนักแพ แล้วให้ตำรวจลงเรือเร็วขึ้นไปคอยสั่งกองทัพ ให้เลยออกไปเมืองราชบุรีทีเดียว อย่าให้ผู้ใดแวะบ้านเป็นอันขาด เรือในกองทัพเมื่อมาถึง ได้ทราบกระแสรับสั่ง ก็เลยมาหน้าตำหนักแพ ถวายบังคมลา แล้วเลี้ยวเข้าคลองบางกอกใหญ่ไปทุกลำ มีพระเทพโยธาคนเดียวที่แวะเข้าที่บ้าน เมื่อทรงทราบก็ทรงพิโรธ และได้ทรงประหารชีวิตพระเทพโยธาด้วยพระหัตถ์ พวกกองทัพทั้งปวงก็เกรงพระราชอาชญา พากันรีบยกกำลังออกไปเมืองราชบุรีตามรับสั่ง
การที่พม่ายกกำลังเข้ามาครั้งนี้ อะแซหวุ่นกี้ประสงค์จะให้ตามมานำครัวมอญกลับไป แต่งุยอคงหวุ่นถือตัวว่าเคยชนะไทยมาก่อน ดังนั้น เมื่อตีกองทัพพระยายมราชแขกแตก ถอยลงมาทางท่าดินแดงแล้ว ก็ยกกำลังเข้ามาถึงปากแพรก พระยายมราชก็ถอยร่นมาตั้งอยู่ที่ดงรังหนองขาว งุยอคงหวุ่นจึงแบ่งกำลังออกเป็นสองส่วน ให้มองจายิด คุมกำลัง 2,000 คน ตั้งค่ายอยู่ที่ปากแพรก เที่ยวปล้นทรัพย์จับผู้คนในแขวงเมืองกาญจนบุรี เมืองสุพรรณบุรีและเมืองนครชัยศรี ตัวงูยอคงหวุ่นเองมีกำลัง 3,000 คน ยกลงมาทางฝั่งตะวันตก เพื่อไปปฏิบัติการในแขวงเมืองราชบุรี เมืองสมุทรสงคราม และเมืองเพชรบุรี ครั้นยกกำลังมาถึงบางแก้ว ทราบว่ามีกำลังของฝ่ายไทย ยกออกไปตั้งอยู่ที่เมืองราชบุรี จึงให้ตั้งค่ายมั่นลงที่บางแก้ว 3 ค่าย ชัยภูมิที่ตั้งค่ายนี้เป็นที่ดอน อยู่ชายป่าด้านตะวันตก ไม่ได้ลงมาตั้งทางริมแม่น้ำ เช่นที่บ้านลุกแก หรือตอกละออม เช่นที่พม่าเคยมาตั้งครั้งตีกรุงศรีอยุธยา ทั้งนี้ เพื่อให้สะดวกต่อการปฏิบัติภารกิจในครั้งนี้ และยังป้องกันตัวจากฝ่ายไทยได้ดีกว่า นอกจากนั้น ก็ยังสามารถตั้งอยู่ได้จนถึงฤดูฝน
ฝ่ายไทย พระองค์เจ้าจุ้ยตั้งอยู่ที่เมืองราชบุรี เมื่อทราบว่าพม่าตั้งค่ายอยู่ที่บางแก้ว ด้วยกำลังพล 3,000 คน จึงยกกำลังไปตั้งที่ตำบลโคกกระต่าย ในทุ่งธรรมเสน ห่างจากค่ายพม่าประมาณ 80 เส้น แล้วให้หลวงมหาเทพ คุมกองหน้า ไปตั้งค่ายโอบพม่าทางด้านตะวันตก และให้เจ้ารามลักษณ์นำกำลังยกไปตั้งค่าย โอบทางด้านตะวันออก แล้วบอกความเข้ามายังกรุงธนบุรี
ครั้นถึงวันอังคาร แรม 6 ค่ำ เดือน 3 เมืองนครชัยศรีบอกมาว่า มีพวกพม่ามาปฏิบัติการถึงแขวงเมืองสุพรรณบุรี เมืองนครชัยศรี พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงมีรับสั่งให้พระยาพิชัยไอศวรรย์ ผู้ว่าที่โกษาธิบดียกกำลัง 1,000 คน ไปรักษาเมืองนครชัยศรี จากนั้นให้เตรียมทัพหลวงมีกำลังพล 9,000 คน เมื่อทรงทราบว่า พม่ายกกำลังมาตั้งค่ายอยู่ที่แขวงเมืองราชบุรี จึงเสด็จยกกำลังออกจากพระนคร เมื่อวันอาทิตย์ แรม 11 ค่ำ เดือน 3 ปีมะเมีย พ.ศ. 2317 เมื่อเสด็จถึงเมืองราชบุรี ทรงทราบว่า พม่ากระทำการดูหมิ่นไทย ก็ทรงขัดเคือง เมื่อได้ข่าวว่า มีกำลังพม่าเพิ่มเติมมาที่ปากแพรกอีก 1,000 คน จึงมีรับสั่งให้พระยาสีหราชเดโชชัย กับพระยาวิเศษชัยชาญ ยกกำลัง 2,000 คน ขึ้นไปช่วย พระยายมราชแขกที่หนองขาว จากนั้นจึงเสด็จยกกองทัพหลวงจากเมืองราชบุรี ไปตามทางฟากตะวันตก ไปตั้งค่ายหลวงที่ตำบลเขาพระ เหนือค่ายโคกกระต่ายขึ้นไปประมาณ 40 เส้น ครั้นทราบว่ามีกำลังพม่ายกเข้ามาทางด่านประตูสามบาน ด่านประตูเจ้าขว้างอีกทางหนึ่ง จึงเกรงว่าข้าศึกจะตีตัดทางลำเลียงด้านหลัง จึงมีรับสั่งให้พระองค์เจ้าจุ้ย กับพระยาราชาเศรษฐี ยกกำลังลงมารักษาเมืองราชบุรี
ครั้นถึงวันพฤหัสบดี ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 4 พระเจ้ากรุงธนบุรี เสด็จไปทอดพระเนตรค่ายทหารไทย ที่ตั้งโอบทหารพม่าที่บางแก้ว เมื่อทรงพิจารณาภูมิประเทศแล้ว จึงมีรับสั่งให้ไปตั้งค่ายล้อมพม่าเพิ่มเติมอีกจนรอบ แล้วให็เจ้าพระยาอินทรอภัย ไปตั้งรักษาหนองน้ำที่เขาช่องพราน อันเป็นที่ข้าศึกอาศัยเลี้ยงช้างม้าพาหนะ และเป็นเส้นทางเดินลำเลียงเสบียงอาหารของข้าศึกแห่งหนึ่ง ให้พระยารามัญวงศ์คุมกองมอญที่เข้ามาใหม่ ไปรักษาหนองน้ำที่เขาชะงุ้ม ซึ่งอยู่ในเส้นทางลำเลียงของข้าศึก ด้านเหนือขึ้นไป ระยะทางประมาณ 100 เส้น
ฝ่ายงุยอคงหวุ่น เห็นการปฏิบัติการของฝ่ายไทยเข้มแข็งรัดกุม จะนิ่งเฉยอยู่ต่อไปไม่ได้ จึงให้ยกกำลังมาปล้นค่าย เจ้าพระยาอินทรอภัยที่เขาช่องพรานถึงสามครั้ง แต่ก็แตกกลับไปทุกครั้งในคืนเดียวกัน เห็นจะเป็นอันตราย จึงให้คนเร็วเล็ดลอดไปบอกกองทัพที่ปากแพรก ให้ยกมาช่วย
พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงมีพระราชดำริว่า ถ้าล้อมค่ายบางแก้วไว้ ให้พม่าสิ้นเสบียงอาหาร ก็จะยอมแพ้ ออกมาให้จับเป็นเชลยทั้งหมด จึงมีรับสั่งมิให้เข้าตีค่ายพม่า แต่ให้ล้อมไว้ให้มั่น แล้วให้พระยาเทพอรชุน กับพระดำเกิงรณภพ คุมกองอาจารย์ และทนายเลือก รวม 745 คน เป็นกองโจร ไปช่วยเจ้าพระยาอินทรอภัย ตีตัดกำลังข้าศึกที่เขาช่องพรานอีกกองหนึ่ง
ด้านพม่า อะแซหวุ่นกี้คอยอยู่ที่เมืองเมาะตะมะ เห็นกองทัพงุยอคงหวุ่นหายไปนาน จึงให้ตะแคงมรหน่อง ยกกำลัง 3,000 คน ตามเข้ามา เมื่อมาถึงปากแพรก ได้ทราบว่า งุยอคงหวุ่นถูกฝ่ายไทยล้อมไว้ที่บางแก้ว จึงให้มองจายิดยกกำลัง 2,000 คน ลงมาช่วยงุยอคงหวุ่นที่บางแก้ว ส่วนตนเองยกกำลังลงมาตีค่าย พระยายมราชแขกที่หนองขาว ไม่สามารถเอาชนะฝ่ายไทยได้ จึงถอยกำลังไปตั้งอยู่ที่ปากแพรก
ฝ่ายมองจายิด เมื่อมาถึงเขาชะงุ้ม เห็นกองมอญมีกำลังน้อยกว่า ก็เข้าล้อมไว้ พอตกค่ำ งุยอคงหวุ่นทราบว่า มีกำลังฝ่ายตนยกมาช่วย ก็ยกกำลังออกปล้นค่ายหลวงมหาเทพ หมายจะตีหักออกไป แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ ต้องถอยกลับเข้าค่าย พระยาธิเบศร์บดีซึ่งตั้งอยู่ทางด้านเหนือ ก็ยกไปช่วยแก้กองมอญ ออกมาจากที่ล้อมได้ แต่กำลังไม่พอจะต่อสู้พม่าได้ ก็พากันล่าถอยลงมา มองจายิดจึงเข้าไปรวมกำลังกับฝ่ายตน ที่ค่ายเขาชะงุ้มได้ ในวันนั้น พระยานครสวรรค์ยกกำลังไปถึงเมืองราชบุรี จึงมีรับสั่งให้ขึ้นไปช่วยพระยาธิเบศร์บดีในค่ำวันนั้น แล้วให้กำลังทั้ง 3 กอง ไปตั้งค่ายล้อมพม่าทางด้านเหนือ ป้องกันพม่าทั้งสองพวกมิให้เข้าถึงกันได้
ในเดือน 4 เจ้าพระยาจักรียกกองทัพกลับจากเมืองเชียงใหม่ และได้ตามออกไป พร้อมทั้งพาทูตเมืองน่าน มาถวายต้นไม้ทองเงิน เครื่องราชบรรณาการของเจ้าฟ้าเมืองน่าน ซึ่งมาอ่อนน้อม ยอมเป็นข้าขอบขัณฑสีมา ออกไปเฝ้าด้วย พระเจ้ากรุงธนบุรีสรรเสริญความชอบเจ้าพระยาจักรี พระราชทานบำเหน็จ แล้วมีรับสั่งให้เจ้าพระยาจักรี ถืออาญาสิทธิ์ไปบัญชาการล้อมพม่าที่บางแก้ว เจ้าพระยาจักรีจึงยกกำลังไปตั้งค่ายมั่นอยู่ที่เหนือพระมหาธาตุเขาพระ อยู่เหนือค่ายหลวงขึ้นไป ส่วนพระเจ้ากรุงธนบุรี เสด็จถอยมาประทับอยู่ที่ค่ายโคกกระต่าย ด้วยเหมาะที่จะให้การสนับสนุนได้ทุกด้าน แล้วมีรับสั่งให้หลวงบำเรอภักดิ์ คุมกองกำลังทหารกองนอก 400 คน เป็นกองโจรไปคอยตีสะกัด ไม่ให้พม่าที่เขาชะงุ้ม ออกลาดตระเวณหาอาหารและน้ำใช้ได้สะดวก
ในคืนวันข้างขึ้น เดือน 4 พม่าในค่ายบางกุ้ง ยกกำลังออกปล้นค่ายพระยาพิพัฒน์โกษา แล้วปล้นค่ายหลวงราชนิกุลอีก แต่ก็ไม่เป็นผลเช่นเคย พม่าขัดสนเสบียงอาหาร ต้องกินเนื้อสัตว์พาหนะแต่น้ำในบ่อยังมีอยู่ พม่าต้องอาวุธปืนใหญ่น้อยของไทย เจ็บป่วยล้มตาย จนต้องขุดหลุมลงอาศัยกันโดยมาก ครั้นถึงวันพฤหัสบดี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 เวลาบ่าย พระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จทรงม้าไปที่ค่ายหลวงมหาเทพ ซึ่งตั้งล้อมพม่าอยู่ทางด้านตะวันตก มีรับสั่งให้จักกายเทวะมอญเข้าไปร้องบอกแก่พม่าในค่าย ให้ออกมายอมอ่อนน้อมแต่โดยดี งุยอคงหวุ่นจึงขอเจรจากับ ตละเกล็บหัวหน้ามอญที่มาอยู่กับไทย และได้เป็นที่พระยาราม แต่ก็ยังไม่เป็นผล
เมื่อเจ้าพระยาสุรสีห์กับพวกผู้ว่าราชการหัวเมืองฝ่ายเหนือ คุมกองทัพหัวเมืองลงไปถึง จึงรับสั่งให้เจ้าพระยาสุรสีห์ คุมกองทัพหัวเมืองทั้งปวง ไปตั้งประชิดค่ายพม่าที่เขาชะงุ้มกันไว้ ไม่ให้เข้ามาช่วยพม่าที่ค่ายบางแก้วได้ ทั้งนี้เพื่อคิดจะจับพวกพม่าที่ค่ายบางแก้ว ให้ได้เสียก่อนภารกิจอื่น แม้จะมีข่าวคราวความเคลื่อนไหวของข้าศึก ณ ที่แห่งอื่น ๆ เช่น เมืองคลองวาฬหรือเมืองกุย บอกเข้ามาว่า พวกพม่าที่ยกเข้ามาจากเมืองมะริด ตีบ้านทับสะแกได้แล้ว ลงไปตีเมืองกำเนิดนพคุณ ผู้รั้งกรมการเมืองนำกำลังราษฎรเข้าต่อสู้ ข้าศึกได้เผาเมืองกำเนิดนพคุณ แล้วยกเลยไปทางเมืองปะทิว ซึ่งขึ้นแก่เมืองชุมพร ในกรณีนี้ ได้มีรับสั่งให้มีตราตอบไปว่า ให้ทำลายหนองน้ำและบ่อน้ำ ตามเส้นทางที่จะขึ้นมาเมืองเพชรบุรีให้หมด แห่งใดทำลายไม่ได้ ก็ให้เอาของโสโครก และของที่มีพิษ ใส่ในแหล่งน้ำดังกล่าว อย่าให้ข้าศึกอาศัยใช้ได้
ต่อมา เมื่อทราบเรื่องจากเชลยที่จับมาได้ ว่าพม่าที่เขาชะงุ้มพยายามเล็ดลอด ขนเสบียงมาให้พม่าในค่ายบางแก้ว และได้บอกไปยังตะแคงมรหน่อง ขอกำลังมาเพิ่มเติมให้ทางค่ายเขาชะงุ้ม เพื่อจะได้ตีหักมาช่วยที่ค่ายบางแก้ว จึงมีรับสั่งให้เพิ่มเติมกองโจรให้มากยิ่งขึ้น แล้วให้หลวงภักดีสงคราม นายกองนอกซึ่งอยู่ในกองเจ้าพระยาอินทรอภัย คุมกำลังกองนอก ลอบขึ้นไปทำลายหนองและบ่อน้ำ ในเส้นทางที่จะมาจากปากแพรกเสีย อย่าให้ข้าศึกเพิ่มกำลังเข้ามาได้
ต่อมาพม่าในค่ายเขาชะงุ้ม ก็ทำค่ายวิหลั่น บังตัวออกมาปล้นค่ายเจ้าพระยาสุรสีห์ในเวลาเที่ยงคืน แต่ถูกฝ่ายไทยตีแตกกลับไป จากนั้นก็ไปปล้นค่ายจมื่นศรีสรรักษ์แต่ไม่เป็นผล ต้องถอยกลับเข้าค่ายไป ต่อมาเมื่อวันอังคาร แรม 5 ค่ำ เดือน 4 ก็ยกกำลังออกมาปล้นค่ายพระยานครสวรรค์ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านใต้ ตั้งแต่เวลา 3 นาฬิกาจนรุ่งสว่าง พระเจ้ากรุงธนบุรีรีบเสด็จขึ้นไป มีรับสั่งให้กองอาจารย์และทนายเลือก เข้าช่วยรบ จนถึงเวลา 8 นาฬิกา พม่าจึงถอยหนีกลับเข้าค่ายไป
งุยอคงหวุ่น เห็นสภาพการณ์เช่นนั้น จึงขอเจรจากับฝ่ายไทยอีก โดยให้นายทัพคนหนึ่งออกมาหาพระยาราม พระยารามจึงพาไปที่เจ้ารามลักษณ์ และเจ้าพระยาจักรี วิงวอนขอให้ปล่อยทัพพม่ากลับไป แต่ฝ่ายไทยไม่ยินยอม ฝ่ายพม่า จึงขอกลับไปปรึกษากันก่อน ต่อมาเมื่อวันศุกร์ แรม 8 ค่ำ เดือน 4 งุยอคงหวุ่นให้พม่าตัวนาย 7 คน ออกมาเจรจาอีกว่า พวกพม่าจะยอมอ่อนน้อม ถวายช้างม้าพาหนะ และเครื่องศัตราวุธทั้งหมด ของเพียงให้ปล่อยตัวกลับไป ทางฝ่ายไทยตอบว่า ถ้าออกมาอ่อนน้อมจะยอมไว้ชีวิต แต่จะปล่อยกลับไปไม่ได้ ในวันนั้นอุตมสิงหจอจัว ปลัดทัพของยุงอคงหวุ่น ได้พานายหมวดนายกองพม่ารวม 14 คน นำเครื่องศัตราวุธของตนออกมาส่งให้ไทย จึงได้นำไปเฝ้าพระเจ้ากรุงธนบุรี อุตมสิงหจอจัวกราบทูลว่า จะขอถือน้ำทำราชการกับไทยต่อไปจนชีวิตจะหาไม่ จึงมีรับสั่งให้อุตมสิงหจอจัว ออกไปพูดเกลี้ยกล่อม ให้พวกพม่าออกมาอ่อนน้อม พวกพม่าในค่ายก็ขอปรึกษากันก่อน
ครั้นถึงวันเสาร์ แรม 9 ค่ำ เดือน 4 พระเจ้ากรุงธนบุรีมีรับสั่งให้พระยานครราชสีมา ซึ่งยกกำลังเดินทางมาถึง ให้ไปตั้งค่ายประชิดพม่าที่เขาชะงุ้ม และมีการเจรจาอีกครั้งระหว่างยุงอคงหวุ่น กับอุตมสิงหจอจัว แต่ก็ยังไม่ได้ข้อยุติ จากการประมาณสถานการณ์เห็นว่า พม่าจะยังไม่ยกเข้ามาในปีนี้ ด้วยจวนจะเข้าฤดูฝน ยังไม่จำเป็นต้องเกณฑ์กองทัพหัวเมือง จึงเป็นแต่ให้มีตราเกณฑ์ข้าวสาร เมืองนครศรีธรรมราช 600 เกวียน เมืองไชยา เมืองพัทลุง และเมืองจันทบุรี เป็นข้าวสารเมืองละ 400 เกวียน ให้ส่งมาขึ้นฉางไว้สำรองราชการสงคราม ถ้าหาข้าวได้ไม่ครบตามจำนวนเกณฑ์ ก็ให้ส่งเป็นเงินแทน โดยคิดราคาข้าวสารเกวียนละ 40 บาท ข้าวเปลือกเกวียนละ 20 บาท
ในที่สุดเมื่อวันแรม 15 ค่ำ เดือน 4 งุยอคงหวุ่น และพวกนายทัพนายกองพม่าในค่ายบางแก้ว ก็ออกมายอมอ่อนน้อมทั้งหมด หลังจากที่ฝ่ายไทยล้อมค่ายพม่าได้ 47 วัน ก็ได้ค่ายพม่าทั้ง 3 ค่าย ได้เชลยรวม 1,328 คน ที่ตายไปเสียเมื่อถูกล้อมอีกกว่า 1,600 คน
เมื่อได้ค่ายพม่าที่บางแก้วแล้ว รุ่งขึ้น ณ วันเสาร์ ขึ้นค่ำ 1 เดือน 5 ปีมะแม พ.ศ. 2318 พระเจ้ากรุงธนบุรีก็มีรับสั่งให้ พระยาอนุชิตราชายกกำลังพล 1,000 คน ขึ้นไปทางริมน้ำฟากตะวันตก ให้หลวงมหาเทพยกกำลังพล 1,000 ขึ้นไปทางริมน้ำฟากตะวันออก ให้ไปตีค่ายพม่าที่ปากแพรก พร้อมกับกองทัพของพระยายมราชแขก แล้วมีรับสั่งให้เจ้าพระยาจักรีขึ้นไปตีค่ายพม่าที่เขาชะงุ้ม ในค่ำวันนั้นเวลาเที่ยงคืน พม่าในค่ายเขาชะงุ้ม ยกค่ายวิหลั่นออกมาปล้นค่ายพระมหาสงคราม หมายจะเข้ามาช่วยพวกของตนที่ค่ายบางแก้ว พม่าเอาไฟเผาค่ายพระมหาสงคราม เจ้าพระยาจักรีไปช่วยทันชิงเอาค่ายกลับคืนมาได้ พม่าย้ายไปปล้นค่ายจมื่นศรีสรรักษ์แต่ถูกฝ่ายไทยต่อสู้ จนต้องล่าถอยกลับเข้าค่าย
ต่อมาเมื่อวันอังคาร ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 5 เวลากลางคืน พม่าในค่ายเขาชะงุ้มก็ทิ้งค่ายหนีกลับไปทางเหนือ กองทัพไทยไล่ติดตามไปฆ่าฟันพม่าล้มตาย และจับเป็นเชลยได้เป็นอันมาก เมื่อหนีไปถึงปากแพรก ตะแคงมรหน่องรู้ว่ากองทัพพม่าเสียทีแก่กองทัพไทยหมดแล้ว ก็รีบยกกำลังหนีกลับไปเมืองเมาะตะมะ พระเจ้ากรุงธนบุรีก็มีรับสั่งให้กองทัพยกติดตามไปจนสุดพระราชอาณาเขต แล้วก็ให้กองทัพกลับคืนมาพระนคร พระราชทานบำเหน็จรางวัลแก่แม่ทัพนายกองผู้ใหญ่ผู้น้อย ตามสมควรแก่ความชอบ ที่มีชัยชนะพม่าครั้งนี้โดยทั่วกัน
การรบครั้งนี้ เมื่อพิจารณาดูแล้วจะเห็นว่า พระเจ้ากรุงธนบุรี ตั้งพระทัยที่จะจับพม่า ให้ได้หมดทั้งกองทัพที่มาตั้งที่บางแก้ว ด้วยเหตุที่พม่าประกาศหมิ่นไทยประการหนึ่ง และทรงประสงค์จะปลุกใจคนไทย ให้กลับกล้าหาญดังแต่ก่อน หายครั้นคร้ามพม่า จึงทรงทนความลำบาก ใช้เวลาล้อมพม่าอยู่นาน โดยไม่รบแตกหัก ซึ่งถ้าจะทำก็ทำได้โ ดยใช้เวลาน้อยกว่านี้ แต่ผลที่ได้จะต่างกัน การจับพม่าเป็นเชลยได้เป็นจำนวนมากเช่นนี้ ให้ผลทางด้านจิตวิทยามากกว่า
อะแซหวุ่นกี้ตีหัวเมืองเหนือ
ในปีมะเมีย พ.ศ. 2317 พระเจ้ามังระเสด็จมายกฉัตรยอดพระเกศธาตุ ที่เมืองร่างกุ้ง เมื่อกลางเดือน 4 ขณะนั้น อะแซหวุ่นกี้ปราบปรามพวกมอญเสร็จสิ้นแล้ว เป็นแต่ยังรอกองทัพพม่าที่เข้ามาตามครัวมอญ อยู่เมืองเมาะตะมะ จึงได้ขึ้นไปเฝ้าพระเจ้าอังวะที่เมืองร่างกุ้ง พระเจ้ามังระเห็นว่า มีกองทัพใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองเมาะตะมะแล้ว จึงมอบการที่จะตีเมืองไทย ให้อะแซหวุ่นกี้คิดอ่านดำเนินการต่อไป พอกองทัพตะแคงมรหน่องหนีไทยกลับไปถึง อะแซหวุ่นกี้เห็นว่าไทยทำศึกเข้มแข็งกว่าเก่า เห็นว่าแนวทางที่ใช้ครั้งก่อนไม่ได้ผล จึงคิดจะใช้แบบอย่างครั้งพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง คือยกกองทัพใหญ่เข้ามาตีหัวเมืองเหนือ ตัดกำลังไทยเสียชั้นหนึ่งก่อน แล้วเอาเมืองเหนือเป็นที่มั่น ยกกำลังทั้งทางบก และทางเรือ ลงมาตีกรุงธนบุรีทางลำแม่น้ำเจ้าพระยา จึงพักบำรุงรี้พลอยู่ที่เมืองเมาะตะมะ แล้วมีคำสั่งไปยังโปสุพลา โปมะยุง่วน ซึ่งถอยหนีไทยไปอยู่ที่เมืองเชียงแสน ให้ยกกลับมาตีเมืองเชียงใหม่ให้ได้ ตั้งแต่ในฤดูฝน แล้วให้เตรียมเรือรบ เรือลำเลียง และรวบรวมเสบียงอาหาร ลงมาส่งกองทัพอะแซหวุ่นกี้ ซึ่งจะยกเข้ามาในต้นฤดูแล้ง โปสุพลา โปมะยุง่วน จึงรวบรวมกำลัง ยกลงมาตีเมืองเชียงใหม่ เมื่อเดือน 10 ปีมะแม พ.ศ. 2318
พระเจ้ากรุงธนบุรี จึงดำรัสให้มีตราสั่งเจ้าพระยาสุรสีห์ ให้ยกกองทัพเมืองเหนือ ขึ้นไปช่วยเมืองเชียงใหม่ ให้เจ้าพระยาจักรีคุมกองทัพกรุงธนบุรีหนุนขึ้นไป มอบภารกิจให้ตีพม่าถอยจากเชียงใหม่แล้ว ให้เลยตามขึ้นไปตีเอาเมืองเชียงแสน ไม่ให้พม่ามาอาศัยอีกต่อไป
โปสุพลา โปมะยุง่วน ยกกองทัพมาตีเมืองเชียงใหม่ ก่อนที่กองทัพไทยจะยกขึ้นไปถึง ครั้งได้ข่าวว่ากองทัพไทยยกขึ้นไป ก็ถอยหนีกลับไปตั้งอยู่ที่เชียงแสน แต่พงศาวดารพม่าว่าโปสุพลา ถอยกลับไปเมืองพม่าทางเมืองนาย หวังจะเข้ามาสมทบกับอะแซหวุ่นกี้ แต่มาไม่ทันทัพอะแซหวุ่นกี้
ครั้นถึงเดือน 11 ปีมะแม อะแซหวุ่นกี้ก็ให้กะละโบ่ กับมังแยยางู ผู้เป็นน้องชาย คุมกำลัง 20,000 คน เป็นกองทัพหน้า ยกออกจากเมืองเมาะตะมะ อะแซหวุ่นกี้คุมกำลัง 15,000 คน เป็นกองทัพหลวง ตามมากับตะแคงมรหน่อง และเจ้าเมืองตองอู เข้ามาทางด่านแม่ละเมา เข้ามาเมืองตาก มาถึงบ้านด่านลานหอย ตรงมาเมืองสุโขทัย ให้กองทัพหน้าตั้งอยู่ที่บ้านกงธานี ริมน้ำยมใหม่ ส่วนอะแซหวุ่นกี้ตั้งพักอยู่ที่เมืองสุโขทัย
ฝ่ายเจ้าพระยาจักรี เจ้าพระยาสุรสีห์ ตั้งทัพอยู่ที่เมืองเชียงใหม่ เมื่อได้ข่าวว่าพม่ายกกองทัพใหญ่ เข้ามาทางด่านแม่ละเมา ก็รีบยกทัพกลับมาทางเมืองสวรรคโลก เมืองพิชัย ครั้นมาถึง เมืองพิษณุโลกจึงปรึกษากันถึงการสู้ศึก เจ้าพระยาจักรีเห็นว่าพม่ายกมาเป็นกองทัพใหญ่ กำลังฝ่ายไทยทางเมืองเหนือ มีน้อยกว่าทางพม่าอยู่มาก จึงควรตั้งรับศึกในเมืองพิษณุโลก คอยกองทัพกรุงธนบุรียกขึ้นไปช่วย ด้วยเมืองพิษณุโลกอยู่ทางลำแม่น้ำแควใหญ่ (แม่น้ำน่าน) ใช้เรือขึ้นล่องกับหัวเมืองข้างใต้ได้สะดวก แต่เจ้าพระยาสุรสีห์อยากจะยกไปตีพม่าก่อน จึงรวบรวมกองทัพหัวเมือง ให้พระยาสุโขทัย พระยาอักขรวงศ์เมืองสวรรคโลก และพระยาพิชัย เป็นกองหน้า ยกไปรบพม่าที่บ้านกงธานี เจ้าพระยาสุรสีห์ยกตามไปตั้งอยู่ที่บ้านไกรป่าแฝก พม่ายกมาตีกองทัพพระยาสุโขทัยแตกถอยมา แล้วยกติดตามมาถึงค่ายเจ้าพระยาสุรสีห์ สู้รบกันอยู่สามวัน เห็นว่าพม่ามีกำลังมากกว่ามากนัก เกรงว่าจะโอบล้อมกองทัพไว้ จึงถอยกลับมาเมืองพิษณุโลก
อะแซหวุ่นกี้ แบ่งกำลังให้อยู่รักษาเมืองสุโขทัย 5,000 คน แล้วคุมกำลังพล 30,000 คน ยกตามมาถึงเมืองพิษณุโลก ในเดือนอ้าย ข้างขึ้น ให้ตั้งค่ายรายล้อมเมืองทั้งสองฟากแม่น้ำ เจ้าพระยาทั้งสองก็จัดการป้องกันเมืองเป็นสามารถ เมืองพิษณุโลกนั้นแนวปราการตั้งทั้งสองฟาก เอาลำน้ำไว้กลาง จึงให้ทำสะพานเรือกข้ามแม่น้ำสองแห่ง สำหรับส่งกำลังไปมาให้ช่วยเหลือกันได้ กำลังที่อยู่รักษาเมืองพิษณุโลก ประมาณว่าไม่เกิน 10,000 คน อะแซหวุ่นกี้ออกเลียบค่าย เที่ยวตรวจหาชัยภูมิทุกวัน เจ้าพระยาสุรสีห์คุมพลออกโจมตี แต่ต้องถอยกลับมา เจ้าพระยาจักรีคุมพลออกโจมตีบ้าง พม่าต้องถอยหนีกลับเข้าค่ายหลายครั้ง
อะแซหวุ่นกี้ยกย่องฝีมือ เจ้าพระยาจักรี วันหนึ่งจึงนัดเจรจากัน เมื่อพบกันแล้วได้สอบถามอายุกัน ปรากฎว่า เจ้าพระยาจักรีอายุ 30 ปีเศษ อะแซหวุ่นกี้อายุ 72 ปี อะแซหวุ่นกี้สรรเสริญเจ้าพระยาจักรีว่า รูปก็งาม ฝีมือก็เข้มแข็ง สามารถสู้รบกับตนได้ ขอให้รักษาตัวไว้ ภายหน้าจะได้เป็นกษัตริย์ ต่อไปภายหน้าพม่าจะตีเมืองไทยไม่ได้อีกแล้ว
ฝ่ายกรุงธนบุรี ได้ข่าวว่า อะแซหวุ่นกี้ยกกองทัพใหญ่เข้ามาทางหัวเมืองเหนือ และขณะเดียวกัน ก็จะยกมาจากเมืองตะนาวศรี เข้ามาทางใต้อีกด้วย จึงมีดำรัสสั่งให้เกณฑ์กองทัพ ให้เจ้ารามลักษณ์หลานเธอ ซึ่งเป็นกรมขุนอนุรักษ์สงคราม คุมกำลังออกไปรักษาเมืองเพชรบุรี คอยป้องกันพม่าที่จะยกเข้ามาทางด่านสิงขร แล้วพระเจ้ากรุงธนบุรีก็เสด็จยกทัพหลวง มีกำลังพล 12,000 เศษ ออกจากกรุงธนบุรี เมื่อวันอังคาร แรม 11 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะแม ขึ้นไปรับศึกที่ยกมาทางหัวเมืองเหนือ
กระบวนศึกตอนที่ 1
เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรี เสด็จขึ้นไปถึงเมืองนครสวรรค์ ในชั้นต้น ทรงจัดวางระบบการคมนาคม ที่จะให้กองทัพหลวง กับกองทัพที่เมืองพิษณุโลก ไปมาถึงกันได้สะดวก มีรับสั่งให้พระยาราชาเศรษฐี คุมกำลังชาวจีน จำนวน 3,000 คน ไปตั้งอยู่ที่เมืองนครสวรรค์ คอยระวังรักษาเส้นทางลำเลียง และระวังข้าศึกที่จะยกมาทางลำน้ำโขง แล้วพระองค์เสด็จยกกองทัพหลวง ขึ้นไปทางลำน้ำแควใหญ่ ไปถึงปากพิง แขวงเมืองพิษณุโลก เมื่อวันเสาร์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 3 ให้ตั้งค่ายหลวงอยู่ที่ปากพิง ด้วยเป็นปากคลองลัดทางเรือไปมา ระหว่างลำน้ำแควใหญ่ที่ตั้งเมืองพิษณุโลก กับลำน้ำยมที่ตั้งเมืองสุโขทัย อยู่ได้เมืองพิษณุโลกลงมาเป็นระยะทางเดินหนึ่งวัน แล้วให้แม่ทัพนายกอง คุมกำลังไปตั้งค่ายสองฟากลำแม่น้ำ เป็นระยะขึ้นไป แต่กองทัพหลวงถึงเมืองพิษณุโลก ดังนี้
ระยะที่ 1 ตั้งที่บางทราย มีพระยาราชสุภาวดี เป็นนายทัพ
ระยะที่ 2 ตั้งที่ท่าโรง มีเจ้าพระยา อินทรอภัย เป็นนายทัพ
ระยะที่ 3 ตั้งที่บ้านกระดาษ มีพระยาราชภักดี เป็นนายทัพ
ระยะที่ 4 ตั้งที่วัดจุฬามณี มีจมื่นเสนอในราช เป็นนายทัพ
ระยะที่ 5 ตั้งที่วัดจันทร์ ท้ายเมืองพิษณุโลก มีพระยานครสวรรค์ เป็นนายทัพ
ให้จัดกองตระเวณรักษาเส้นทางคมนาคมทุกระยะ และให้มีกองปืนใหญ่ ทหารเกณฑ์หัด เตรียมไว้เป็นกองหน้า สำหรับสนับสนุนทั่วไป ในเวลาที่ต้องการได้ทันท่วงที ให้พระศรีไกรลาศคุมพล 500 คน ทำทางริมลำน้ำ สำหรับเดินกองทัพแต่ปากพิง ผ่านไปตามค่ายที่ตั้งอยู่ ตลอดถึงเมืองพิษณุโลก
ครั้นถึงวันอังคาร ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 3 อะแซหวุ่นกี้ก็ให้กองทัพพม่ากองหนึ่ง มาตั้งค่ายตรงวัดจุฬามณีข้างฝั่งตะวันตกสามค่าย แล้วให้อีกกองหนึ่ง ยกลงมาลาดตระเวณทางฝั่งตะวันตก ได้รบกับไทยตั้งแต่ค่ายระยะที่สาม ที่บ้านกระดาษลงมา จนถึงค่ายระยะที่หนึ่งที่บางทราย ให้กองเกณฑ์หัดคุมปืนใหญ่รางเกวียน 30 กระบอก ขึ้นไปช่วยรักษาค่ายที่บางทราย พม่ารบพุ่งอยู่จนค่ำจึงถอยกลับไป
ครั้นถึงวันพฤหัสบดี ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 3 พระเจ้ากรุงธนบุรี มีพระราชดำรัสให้พระยาธรรมไตรโลก พระยารัตนพิมล พระยาชลบุรี คุมพลอยู่รักษาค่ายหลวงที่ปากน้ำพิง แล้วพระองค์เสด็จยกกองทัพหลวง ขึ้นไปตั้งที่บางทราย ฝั่งตะวันออก ในค่ำวันนั้น พม่ายกมาทางฝั่งตะวันตก เข้าปล้นค่ายระยะที่สองที่ท่าโรง พระเจ้ากรุงธนบุรีให้กองเกณฑ์หัด 200 คน คุมปืนใหญ่ขึ้นไปช่วย พม่าต้องถอยกำลังกลับไป อะแซหวุ่นกี้จึงสั่งให้กองหนุนที่ตั้งอยู่ที่เมืองสุโขทัย ให้ยกกำลังลงมา ตีตัดเส้นทางลำเลียงของกองทัพกรุงธนบุรี 3,000 คน อีก 2,000 คน ให้ยกไปเสริมกำลังทางด้านเมืองพิษณุโลก
กระบวนศึกตอนที่ 2
พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงเตรียมเข้าตีกองทัพพม่าที่ล้อมเมืองพิษณุโลก ครั้นถึงวันพุธ ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 3 มีรับสั่งให้พระยารามัญวงศ์ คุมพลกองมอญผ่านทางในเมืองพิษณุโลก ขึ้นไปตั้งค่ายประชิดพม่าข้างด้านเหนือ ให้เจ้าพระยาจักรี เจ้าพระยาสุรสีห์ เพิ่มกำลังออกไป ตั้งค่ายประชิดพม่าทางด้านตะวันออก ทางด้านใต้ ให้พระยานครสวรรค์ ซึ่งตั้งอยู่ที่วัดจันทร์ท้ายเมืองพิษณุโลก ตั้งค่ายชักปีกกาประชิดค่ายพม่า ออกไปเป็นหลายค่าย พม่าขุดคูเข้ามาเป็นหลายสาย เอาคูบังตัวเข้ามาตีค่ายไทย ฝ่ายไทยก็ขุดคูออกไป ให้ทะลุถึงคูพม่า รบพุ่งกันในคูทุกค่ายหลายวัน ไม่แพ้ชนะกัน
ครั้นถึงวันอังคาร แรม 2 ค่ำ เดือน 3 พระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จไปถึงค่ายวัดจันทร์ เมื่อเวลา ค่ำ 22 นาฬิกา ให้กองทัพพระยายมราช พระยานครราชสีมา พระยาพิชัยสงครามยกหนุนไปช่วย พระยานครสวรรค์ด้านใต้ ครั้นถึงเวลาดึก 5 นาฬิกา ก็บอกสัญญาณให้กองทัพไทย เข้าระดมตีค่ายพม่า ที่ล้อมเมืองอยู่ทางด้านตะวันออก พร้อมกันทุกค่าย รบกันอยู่จนเช้าก็ยังเข้าค่ายพม่าไม่ได้ ต้องถอยกลับมา ครั้นวันรุ่งขึ้น จึงมีรับสั่งให้ประชุมแม่ทัพนายกอง เห็นว่าการเข้าตีประจัญหน้าไม่สำเร็จ ด้วยพม่ามีกำลังมากกว่า จึงตกลงในเปลี่ยนวิธีการรบ ให้เจ้าพระยาจักรี เจ้าพระยาสุรสีห์ รวมกำลังในเมืองยกออกตีค่ายพม่า โดยให้ตีเฉพาะแต่ค่ายทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ และให้กำลังส่วนหนึ่งจากกองทัพหลวง ตีกระหนาบข้าศึกทางด้านหลัง ให้ข้าศึกแตกโดยกระบวนตีโอบ เป็นลำดับไป วันรุ่งขึ้นได้มีรับสั่งให้กองทัพพระยานครสวรรค์ ที่ตั้งอยู่ที่วัดจันทร์ ถอยลงมายังกองทัพหลวง และให้กองทัพพระยาโหราธิบดี และกองมอญ พระยากลางเมืองขึ้นมาจากค่ายบางทราย รวมกำลังจัดเป็นกองทัพเดียว มีกำลังพล 5,000 คน ในพระยานครสวรรค์เป็นกองหน้า พระยามหามณเฑียรเป็นแม่ทัพ หลวงดำเกิงรณภพหลวงรักษโยธา เป็นกองหนุน ยกกำลังไปซุ่มอยู่ด้านหลังค่ายพม่าทางฝั่งตะวันตก ถ้าเห็นข้าศึกรบพุ่งติดพัน กับกองทัพเจ้าพระยาจักรี เจ้าพระยาสุรสีห์เมื่อใดก็ให้ตีกระหนาบเข้าไป แล้วให้พระราชสงคราม ลงมาเอาปืนใหญ่ที่กรุงธนบุรี เพิ่มเติมขึ้นไปอีกด้วย
ฝ่ายเจ้าพระยาจักรี เจ้าพระยาสุรสีห์ ยกกำลังออกไปตีค่ายพม่า ที่ล้อมเมืองอยู่ทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ เมื่อวันเสาร์ แรม 6 ค่ำ เดือน 3 เจ้าพระยาสุรสีห์ให้เอาไม้ทำคบ ปลายผูกผ้าชุบน้ำมันยาง เอาต้นคบยัดใส่ในกระบอกปืนใหญ่ เอาไฟจุดปลายคบ แล้วยิงเข้าไปในค่ายพม่า เผาค่ายพม่าไหม้ไปค่ายหนึ่ง และถูกหอรบไหม้ทำลายลงหลายหอ แต่ยังตีค่ายพม่าไม่ได้ เนื่องจากกองทัพที่จะยกไปช่วยตีกระหนาบ ยกไปไม่ถึงตามกำหนด เพราะไปพบข้าศึกต้องต่อสู้ติดพันกันอยู่
กระบวนศึกตอนที่ 3
ฝ่ายอะแซหวุ่นกี้ เห็นกองทัพไทยตั้งค่ายตามริมแม่น้ำใต้เมืองพิษณุโลก ย้ายถอนออกไปหลายกอง ทำให้กำลังที่รักษาเส้นทางคมนาคม ระหว่างกองทัพหลวงกับกองทัพเมืองพิษณุโลกอ่อนลง จึงให้กะละโบ่ คุมกำลังมาตั้งสกัด ตัดทางลำเลียงเสบียงอาหาร ที่ส่งเข้าไปเมืองพิษณุโลก
ครั้นถึงวันศุกร์ แรม 12 ค่ำ เดือน 3 ได้มีใบบอกขึ้นไปจากกรุงธนบุรีว่า พม่ายกกำลังเข้ามาทางด่านสิงขร ขึ้นมาตีเมืองกุยเมืองปราณแตก กรมขุนอนุรักษ์สงครามซึ่งรักษาเมืองเพชรบุรี ส่งกำลังออกไปขัดตาทัพอยู่ที่ด่านช่องแคบแขวงเมืองเพชรบุรี พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงทราบเรื่องก็ไม่ไว้พระทัย เกรงพม่าจะยกกำลังเข้ามาตีกรุงธนบุรีอีกทางหนึ่ง จึงมีรับสั่งให้เจ้าประทุมไพจิตร คุมกำลังกลับลงมารักษาพระนครส่วนหนึ่ง กองทัพหลวงก็ถอยกำลังลงไปอีก
ฝ่ายกองมอญที่พระยาเจ่งคุมไปดักพม่าที่เมืองกำแพงเพชร ได้ซุ่มสกัดทางพม่าที่ยกไปจากเมืองสุโขทัย พม่าไม่รู้ตัวก็แตกหนี ยึดได้เครื่องศัตราวุธของข้าศึกมาได้ แต่พม่ามีกำลังมากกว่า พอกองหลังตามมาทัน พระยาเจ่งก็ต้องล่าถอย กองทัพพม่าที่ยกมาเมืองกำแพงเพชรนั้น อะแซหวุ่นกี้สั่งให้ลงมาตีเมืองนครสวรรค์ อันเป็นที่รวบรวมเสบียงอาหารของกองทัพไทย และได้ตัดกำลังฝ่ายไทย ที่จะยกไปช่วย เมืองพิษณุโลกด้วย พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงให้กองทัพพระยาราชภักดี และพระยาพิพัฒน์โกษาถอยลงมาสมทบกองทัพพระยาราชาเศรษฐี รักษาเมืองนครสวรรค์ เมื่อกองทัพพม่าทราบว่า กองทัพไทยตั้งรักษาเมืองนครสวรรค์แข็งแรง จึงยับยั้งตั้งค่ายอยู่ที่เมืองกำแพงเพชร แล้วแต่งกองโจรเดินลัดป่าด้านตะวันตก อ้อมหลังเมืองนครสวรรค์ ลงไปเมืองอุทัยธานี (เก่า)
พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงทราบความเคลื่อนไหวของข้าศึกว่า พม่าที่เมืองกำแพงเพชร ตั้งค่ายอยู่ที่บ้านโนนศาลาค่ายหนึ่ง บ้านถลกบาตรค่ายหนึ่ง บ้านหลวงค่ายหนึ่ง แล้วแยกกำลังลงไปทางเมืองอุทัยธานีกองหนึ่ง ทรงเกรงว่าข้าศึกจะไปซุ่มดักทาง คอยตีกองลำเลียงข้างใต้เมืองนครสวรรค์ลงมา จึงโปรดให้แบ่งกำลังพลในกองทัพหลวง จำนวน 1,000 คน ให้เจ้าอนิรุทธเทวาบัญชาการทั่วไป แล้วแยกออกเป็นกองน้อยสามกอง กองที่หนึ่งให้ขุนอินทรเดช กองที่สองให้หลวงปลัด กับหลวงสรวิชิต นายด่านเมืองอุทัยธานีบังคับ กองที่สามให้เจ้าเชษฐกุมารบังคับ ยกกำลังลงมาคอยป้องกันการลำเลียงเสบียงอาหาร และเครื่องอาวุธยุทธภัณฑ์ซึ่งส่งขึ้นไปจากทางใต้ แล้วแบ่งคนกองอาจารย์ ลงมาช่วยที่เมืองนครสวรรค์ กับให้ลงไปตั้งอยู่ที่บ้านคุ้งสำเภา แขวงเมืองชัยนาทอีกกองหนึ่ง ทางใต้เมืองพิษณุโลก ก็ให้ถอนกองทัพพระยาโหราธิบดี หลวงรักษ์มณเฑียรจากบ้านท่าโรง ลงมาตั้งค่ายที่โคกสลุตในแขวงเมืองพิจิตร ให้พระยานครชัยศรีลงมาตั้งที่โพธิประทับช้าง คอยป้องกันการลำเลียงที่จะขึ้นไปตามลำน้ำแขวงเมืองพิจิตร
ครั้นถึงวันอาทิตย์ แรม 13 ค่ำ เดือน 3 มีรับสั่งให้เจ้าพระยาจักรี เจ้าพระยาสุรสีห์ ลงมาเฝ้าที่ท่าโรง ทรงพระราชดำริจะเปลี่ยนวิธีการรบ คิดรักษาแต่ชัยภูมิที่สำคัญไว้ให้มั่น แล้วดำเนินการตัดเสบียงข้าศึกให้อดอยาก แล้วจึงเข้าตีซ้ำเติม ให้เจ้าพระยาทั้งสองรักษาเมืองพิษณุโลกไว้ ฝ่ายอะแซหวุ่นกี้เห็นได้ท่วงที ด้วยไทยถอนกำลังลงมาข้างใต้เสียมาก จึงคิดเปลี่ยนวิธีการรบ โดยคิดรวบรวมกำลังลงมาโจมตีกองทัพกรุงธนบุรีให้แตก หรือให้ต้องทิ้งเมืองพิษณุโลก พม่าได้ยกมาตั้งค่ายประชิดค่ายพระยาธรรมา และพระยานครสวรรค์ ซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านแขก แล้วกรุยทางจะตั้งค่ายโอบต่อลงมา พระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จตรวจแนวรบ ตั้งแต่ค่ายบ้านท่าโรงไปจนถึงบ้านแขก มีรับสั่งให้กองทัพพระยาสีหราชเดโชชัย กับกองจมื่นทิพเสนา ยกไปช่วยสมทบพระยานครสวรรค์รักษาค่าย มีรับสั่งให้เจ้าพระยาจักรีอยู่รักษาค่ายหลวง ส่วนพระองค์เสด็จยกกำลังทางเรือลงมาจากท่าโรง ลงมาช่วยรักษาค่ายปากพิง ที่ถูกพม่ายกกำลังเข้าปล้นค่าย ฝ่ายเจ้าพระยาจักรี เมื่อเห็นว่าพม่าไม่ได้ยกกำลังมาตีค่ายหลวง จึงให้พระยาเทพอรชุน กับพระพิชิตณรงค์อยู่รักษาการ แล้วกลับขึ้นไปเมืองพิษณุโลก
ในห้วงเวลาตั้งแต่วันพุธ ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 4 ถึงวันพฤหัสบดี แรม 10 ค่ำ เดือน 4 เป็นระยะเวลาเกือบหนึ่งเดือน ได้มีการต่อสู้ติดพันกันกับข้าศึกตลอดแนวรบ จากบ้านแขก ท่าโรง ปากพิง โดยเฉพาะที่ปากพิงที่ค่ายคลองกระพวง พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงจัดกำลังลงไปช่วย ให้พระยาสุโขทัยยกหนุนไปตั้งค่ายชักปีกกาถึงกัน และขุดสนามเพลาะให้ติดต่อกับค่ายที่พม่าตี ให้พวกอาจารย์เก่าใหม่และให้หลวงดำเกิงรณภพ คุมกองเกณฑ์หัดไปสมทบพระยาสุโขทัย ให้กองหลวงรักษโยธา หลวงภักดีสงคราม ยกกำลังไปตั้งค่ายประชิดพม่าข้างปากคลองกระพวง ให้หลวงเสนาภักดีคุมพลกองแก้วจินดา ยกไปกระหนาบหลังข้าศึกอีกด้านหนึ่ง กองทัพพระยาสุโขทัย กองหลวงรักษโยธา กองหลวงเสนาภักดี ยกเข้าตีค่ายพม่าที่คลองกระพวงพร้อมกัน ได้รบพุ่งกันเป็นสามารถไม่แพ้ชนะกัน พระเจ้ากรุงธนบุรีได้มีรับสั่งให้กองทัพเจ้าพระยาอินทรอภัย ซึ่งตั้งอยู่ที่ท่าโรง และกองมอญพระยากลางเมือง ยกลงมาช่วยรบพม่าที่ปากพิงอีกสองกอง ให้ตั้งค่ายชักปีกกาออกไปจากค่ายใหญ่อีก เป็นระยะทาง 22 เส้น พม่ายกกำลังเข้าตีค่ายไทยแต่ไม่สำเร็จ ทั้งสองฝ่ายจึงตั้งประจัญหน้ากันอยู่ พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงมีรับสั่งให้ พระยายมราชลงมาจากค่ายวัดจันทร์ โปรดให้ถืออาญาสิทธิ์ บังคับกองทัพไทยที่ตั้งรบกับข้าศึกที่คลองกระพวงทั้งหมด
อะแซหวุ่นกี้ ให้กะละโบ่คุมกำลังมาตีค่ายไทยที่ตั้งอยู่เหนือปากพิง ให้มังแยยางูน้องชาย คุมกำลังข้ามฟาก มาโอบหลังกองทัพหลวงที่ปากพิง ทางด้านตะวันออก ตั้งค่ายรายประชิดกองทัพหลวงหลายค่าย สู้รบกันอยู่หลายวัน พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงพระราชดำริเห็นว่า ข้าศึกมีกำลังมากนัก จะตั้งสู้รบอยู่ที่ปากพิงต่อไปจะเสียที ครั้นถึงวันพฤหัสบดี แรม 10 ค่ำ เดือน 4 จึงให้ถอยทัพหลวงจากปากพิง มาตั้งมั่นอยู่ที่บางข้าวตอก แขวงเมืองพิจิตร กองทัพที่ตั้งรักษาตามระยะต่าง ๆ ก็ถอยตามทัพหลวงลงมาโดยสำดับหมดทุกกอง
กระบวนศึกตอนที่ 4
ฝ่ายเจ้าพระยาจักรี กับ เจ้าพระยาสุรสีห์ เห็นว่าจะรักษาเมืองพิษณุโลกต่อไปไม่ได้ เพราะขัดสนเสบียงอาหาร ถ้าอยู่ช้าไปจะเสียทีแก่พม่า จึงตกลงให้เตรียมการทิ้งเมืองพิษณุโลก ให้ทหารที่ออกไปตั้งค่ายประชิดพม่า ถอยกลับเข้าเมือง ครั้นทราบว่ากองทัพหลวงล่าถอยไปแล้ว จึงให้เจ้าหน้าที่ระดมยิงปืนใหญ่น้อย หนาแน่นกว่าทุกวัน ตั้งแต่เช้าถึงค่ำของวันศุกร์ แรม 11 ค่ำ เดือน 4 แล้วให้เอาปี่พาทย์ขึ้นไปประโคมตามป้อม ลวงข้าศึกว่าจะเตรียมต่อสู้ในเมืองให้นานวัน แล้วให้จัดกระบวนทัพเป็นสามกอง กองหน้าเลือกพลรบที่มีกำลังแข็งแรง สำหรับตีฝ่าข้าศึก กองกลางคุมครอบครัวราษฎรที่ฉกรรจ์ แม้ผู้หญิงก็ให้มีเครื่องศัตราวุธ สำหรับต่อสู้ทุกคน กองหลังไว้ป้องกันท้ายกระบวน
ครั้นเวลาค่ำ 21 นาฬิกา ให้เปิดประตูเมือง ยกกำลังออกตีค่ายพม่าทางด้านตะวันออก ตีหักออกไปได้แล้วรีบเดินกองทัพไปทางบ้านมุงดอนชมพู ยกกำลังข้ามเขาบรรทัดไปตั้งรวบรวมรี้พลอยู่ที่เมืองเพชรบูรณ์ พม่าล้อมเมืองพิษณุโลกอยู่ 4 เดือน จึงได้เมือง
อะแซหวุ่นกี้ก็ยกกำลังเข้าไปตั้งอยู่ในเมืองพิษณุโลก และได้ออกประกาศแก่บรรดานายทัพนายกองทั้งปวงว่า ไทยเดี๋ยวนี้ฝีมือเข้มแข็งนัก ไม่เหมือนไทยแต่ก่อน การที่เมืองพิษณุโลกเสียครั้งนี้ จะเสียเพราะฝีมือแกล้วทหารแพ้เรานั้นหามิได้ เขาเหตุอดข้าวขาดเสบียงจึงเสียเมือง และการที่จะมารบเมืองไทยสืบไปภายหน้านั้น แม่ทัพที่มีสติปัญญาแลฝีมือ เพียงเสมอเราและต่ำกว่า อย่ามาทำสงครามตีเมืองไทยเลย จะเอาชนะเขามิได้ แม้นดีกว่าเรา จึงจะมาทำศึกกับไทยได้ชัยชนะ
เมื่ออะแซหวุ่นกี้ได้เมืองพิษณุโลกแล้ว เห็นว่าเสบียงอาหารอัตคัดมาก จึงจัดกำลังสองกอง ให้มังแยยางูคุมมาทางเมืองเพชรบูรณ์ทัพหนึ่ง ให้ไปรวบรวมเอาเสบียงอาหารที่เมืองเพชรบูรณ์ และเมืองหล่มศักดิ์ส่งไป ให้กะละโบ่คุมกำลังอีกกองหนึ่ง ยกมาทางเมืองกำแพงเพชร เพื่อแสวงหาเสบียงอาหารเช่นเดียวกัน เมื่อกำลังทั้งสองกองยกไปแล้ว อะแซหวุ่นกี้ได้รับท้องตราว่า พระเจ้ามังระสิ้นพระชนม์ จิงกูจาราชบุตรได้รับราชสมบัติ มีรับสั่งให้กองทัพกลับไปเมืองอังวะโดยเร็ว อะแซหวุ่นกี้จึงยกกองทัพกลับไปทางเมืองสุโขทัย เมืองตาก ไปออกทางด่านแม่ละเมา และสั่งให้กองทัพกะละโบ่ คอยกลับไปพร้อมกับมังแยยางู
พระเจ้ากรุงธนบุรี เมื่อทราบข่าวว่า อะแซหวุ่นกี้ได้เมืองพิษณุโลกแล้วเลิกทัพกลับไป ก็ทรงโทมนัสพระทัยยิ่งนัก คงเป็นเพราะหวังพระทัยว่า เมื่อทัพพม่าสิ้นเสบียงหมดกำลัง ก็เหมือนอยู่ในเงื้อมมือไทย พระเจ้ากรุงธนบุรีได้ให้กองทัพติดตามตีข้าศึกเป็นหลายกอง ให้พระยาพิชัย กับพระยาพิชัยสงครามยกไปกองหนึ่ง ให้พระยาทุกขราษฎรเมืองพิษณุโลก หลวงรักษโยธา หลวงอัคเนศรเป็นกองหน้า พระยาสุรบดินทรเป็นกองหลวงยกไปกองหนึ่ง ให้พระยาเทพอรชุน พระยารัตนพิมล พระยานครชัยศรี ยกไปกองหนึ่ง ให้พระยาธิเบศรบดีคุมพลอาสาจาม ยกไปกองหนึ่ง ทั้ง 4 กองนี้ ให้ไปตามตีกองทัพอะแซหวุ่นกี้ ที่กลับไปทางเมืองตาก แล้วให้พระยาพลเทพ จมื่นเสมอใจราษฎร์ หลวงเนาวโชติ ยกไปกองหนึ่ง พระยาราชภักดี ยกไปกองหนึ่ง ไปตามกองทัพมังแยยางู ซึ่งยกไปทางเพชรบูรณ์ ให้พระยานครสวรรค์กับพระยาสวรรคโลก ยกไปตามกองทัพกาละโบ่ ซึ่งยกไปทางเมืองกำแพงเพชร ส่วนกองทัพหลวงอยู่รอรับครอบครัวราษฎร ที่หนีออกมาจากเมืองพิษณุโลก อยู่ 11 วัน แล้วมีรับสั่งให้พระยายมราช มารักษาค่ายที่บางข้าวตอก คอยรวบรวมครอบครัวราษฎรต่อไป ครั้นถึงวันพฤหัสบดี แรม 14 ค่ำ เดือนหก ปีวอก พ.ศ. 2319 ก็เสด็จยกทัพหลวงมาประทับอยู่ที่ค่ายบางแขม แขวงเมืองนครสวรรค์
กองทัพไทยที่ยกติดตามกองทัพมังแยยางูไปที่บ้านนายม ใต้เมืองเพชรบูรณ์ก็เข้าโจมตี ฝ่ายข้าศึกหนีขึ้นไปทางเหนือ เข้าไปในแดนล้านช้าง แล้วกลับพม่าทางเมืองเชียงแสน กองทัพเจ้าพระยาจักรี เจ้าพระยาสุรสีห์ เมื่อทราบว่าพม่าเลิกทัพกลับไป ก็ยกกำลังจากเพชรบูรณ์ไปทางป่าพระพุทธบาท ผ่านแขวงลพบุรี ขึ้นไปตามตีพม่า พระเจ้ากรุงธนบุรีประทับอยู่ที่ค่ายหลวงตำบลบางแขม ครั้นถึงเดือน 7 ปีวอก พ.ศ. 2319 ทรงทราบว่ามีพม่าตั้งอยู่ที่กำแพงเพชร ประมาณ 2,000 คน จึงมีรับสั่งให้กองทัพพระยายมราช เดินบกไปทางฝั่งแม่น้ำด้านทิศตะวันตกกองหนึ่ง ให้กองทัพพระยาราชสุภาวดี ยกขึ้นไปทางฟากตะวันออกกองหนึ่ง ให้พระยานครสวรรค์ ซึ่งตั้งค่ายอยู่ ณ บ้านโคน ใต้เมืองกำแพงเพชร ยกกำลังขึ้นไปสมทบกัน ตีทัพพม่าที่เมืองกำแพงเพชร ส่วนพระเจ้ากรุงธนบุรี เสด็จยกกองทัพหลวงขึ้นไปตั้งอยู่ที่ปากคลองขลุง ฝ่ายพม่าได้ยกหนีขึ้นไปทางเหนือ พระเจ้ากรุงธนบุรีก็เสด็จกลับคืนพระนคร เมื่อวันเสาร์ ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 7 กองทัพไทยไล่ตามตี กำลังพม่าที่ยังตกค้างอยู่ในไทยจนถึงเดือน 10 ปีวอก จึงขับไล่พม่าออกไปจากบ้านเดิมบางนางบวช แขวงเมืองสุพรรณบุรีต่อกับเมืองนครสวรรค์ หนีออกไปทางด่านเจดีย์สามองค์ สงครามครั้งนี้ได้รบกันตั้งแต่เดือนอ้าย ปีมะแม พ.ศ. 2318 ถึงเดือน 10 ปีวอก พ.ศ. 2319 เป็นเวลา 10 เดือน
พม่าตีเมืองเชียงใหม่
ทางพม่า เมื่อพระเจ้าจิงกูจาขึ้นครองราชย์แล้ว เห็นว่าแคว้นลานนาไทย 57 หัวเมือง มีเมืองเชียงใหม่เป็นต้น ยังถือว่าเป็นเมืองขึ้นสำคัญของพม่า พม่าได้อาศัยแว่นแคว้นลานนาไทย จึงสามารถเอาเมืองหลวงพระบาง และเมืองเวียงจันทน์มาอยู่ในอำนาจได้ พระเจ้าจิงกูจาเห็นว่า ไทยชิงเอาหัวเมืองในแว่นแคว้นลานนามาเกือบหมด ยังเหลือเป็นของพม่าอยู่แต่หัวเมืองในลุ่มน้ำโขง คือหัวเมืองเชียงราย และเมืองเชียงแสนเป็นต้น พระเจ้าจิงกูจาจึงให้เกณฑ์กองทัพพม่ามอญ มีกำลังพล 6,000 คน ให้อำมลอกหวุ่นเป็นแม่ทัพ ให้ต่อหวุ่น กับพระยาอู่มอญเป็นปลัดทัพ ยกมาตีเมืองเชียงใหม่ เมื่อปีวอก พ.ศ. 2319 ให้มาสมทบกับ กองทัพโปมะยุง่วนซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองเชียงแสน พร้อมกับลงมาตีเมืองเชียงใหม่
พระยาจ่าบ้าน ผู้ครองเมืองเชียงใหม่ และได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระยาวชิรปราการ เห็นกองทัพพม่ายกมามีมาก เหลือกำลังที่จะต่อสู้ได้ ดังนั้น เมื่อได้มีใบบอกมายังกรุงธนบุรีแล้ว ก็อพยพครอบครัวทิ้งเมืองเชียงใหม่ หนีลงมาเมืองสวรรคโลก พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงให้มีตราสั่งเจ้าพระยาสุรสีห์ ให้คุมกองทัพหัวเมืองเหนือ ขึ้นไปสมทบกับพระยากาวิละเจ้าเมืองนครลำปาง ยกไปตีเอาเมืองเชียงใหม่คืน เมื่อได้เมืองเชียงใหม่คืนแล้ว พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงพระราชดำริว่า เมืองเชียงใหม่นั้นผู้คนมีไม่พอที่จะรักษาเมืองได้ เมื่อกองทัพไทยยกกลับลงมาแล้ว พม่ายกทัพกลับมา ก็จะเสียเมืองเชียงใหม่อีก จึงมีรับสั่งให้ทิ้งเมืองเชียงใหม่เสีย เมืองเชียงใหม่จึงถูกทิ้งร้างไปเป็นเวลา 15 ปี จนในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงได้กลับตั้งขึ้นอีก
สงครามครั้งนี้นับเป็นสงครามครั้งที่ 10 และเป็นครั้งสุดท้ายที่ไทยรบกับพม่าในสมัยกรุงธนบุรี ต่อมาไทยกับพม่าได้ว่างเว้นสงครามต่อกัน ถึง 8 ปี
การปราบปรามหัวเมืองด้านตะวันออกเฉียงเหนือ
ในระหว่างที่พระเจ้ากรุงธนบุรี ติดรบพุ่งอยู่กับอะแซหวุ่นกี้นั้น พระยาเจ้าเมืองนางรอง ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของเมืองนครราชสีมา เกิดวิวาทกับพระยานครราชสีมา แล้วเอาเมืองนางรองไปขอขึ้นกับเจ้าโอ เจ้าเมืองนครจำปาศักดิ์ ซึ่งตั้งตัวเป็นอิสระอยู่ในสมัยนั้น พระยานครราชสีมาจึงบอกเข้ามายังกรุงธนบุรีว่า พระยานางรองเป็นกบฎ เมื่อเดือน 4 ปีวอก พ.ศ. 2319
พระเจ้ากรุงธนบุรี จึงมีรับสั่งให้เจ้าพระยาจักรี ยกกำลังไปปราบเมืองนางรอง เจ้าพระยาจักรีขึ้นไปถึงเมืองนครราชสีมา ให้กองทัพหน้ายกออกไปตีเมืองนางรอง จับตัวพระยานางรองได้ พิจารณาความเป็นสัตย์ ก็ให้ประหารชีวิตเสีย เมื่อปราบปรามเมืองนางรองเสร็จแล้ว เจ้าพระยาจักรีได้ทราบความว่า เจ้าโอกับเจ้าอินทร์อุปราชเมืองจำปาศักดิ์ เตรียมกองทัพมีกำลังพล 10,000 คนเศษ จะยกมาตีเมืองนครราชสีมา จึงบอกความเข้ามายังกรุงธนบุรี เมื่อต้นปีระกา พ.ศ. 2320 พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงมีรับสั่งให้เจ้าพระยาสุรสีห์ ยกกองทัพหนุนขึ้นไป แล้วให้เจ้าพระยาทั้งสองไปปราบปรามเมืองนครจำปาศักดิ์เสียด้วย เจ้าโอกับเจ้าอินทร์สู้ไม่ได้ก็หนีลงไปทางใต้ กองทัพไทยตามไปจับได้ที่เมืองโขง (เมืองสีทันดรในปัจจุบัน) คนหนึ่ง ที่เมืองอัตปือ อีกคนหนึ่ง จึงได้เมืองโขลงและเมืองอัตปือมาเป็นของไทยในครั้งนั้น
เมื่อเจ้าพระยาทั้งสองได้เมืองนครจำปาศักดิ์แล้ว จึงให้ไปเกลี้ยกล่อมหัวเมืองเขมรป่าดง ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างเมืองนครจำปาศักดิ์ กับเมืองนครราชสีมาทางตอนใต้ ได้แก่ เมืองสุรินทร์ เมืองสังขะ และเมืองขุขัน ทั้งสามเมืองได้พากันมาอ่อนน้อม ยอมเป็นข้าขอบขัณฑสีมาของไทยตั้งแต่นั้นมา เมื่อเสร็จราชการกองทัพกลับมาถึงกรุงธนบุรี พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงปูนบำเหน็จแก่แม่ทัพนายกองที่มีความชอบ เลื่อนยศเจ้าพระยาจักรีขึ้นเป็นสมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึก มีเครื่องยศอย่างเจ้ากรม และคงตำแหน่งเป็นสมุหนายกอย่างเดิม
ตีกรุงศรีสัตนาคนหุต
ในปีจอ พ.ศ. 2321 พระวอ เสนาบดีเมืองเวียงจันทน์ เกิดวิวาทรบพุ่งกับเจ้าเวียงจันทน์ พระวอสู้ไม่ได้จึงหนีมาอาศัยอยู่กับเจ้านครจำปาศักดิ์ แล้วพาสมัคพรรคพวกมาตั้งภูมิลำเนาอยู่ที่ดอนมดแดงริมแม่น้ำมูล เหนือเมืองนครจำปาศักดิ์ อันเป็นที่ตั้งของจังหวัดอุบลราชธานีในปัจจุบัน เมื่อไทยไปตีเมืองจำปาศักดิ์ พระวอได้มาอ่อนน้อมขอขึ้นต่อกรุงธนบุรี ครั้งกองทัพไทยยกทัพมาแล้ว เจ้าเวียงจันทน์ให้พระยาสุโพ ยกกำลังลงมาตีเมืองดอนมดแดง แล้วจับพระวอฆ่าเสีย พระเจ้ากรุงธนบุรีทราบก็ทรงขัดเคือง จึงมีรับสั่งให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกกับเจ้าพระยาสุรสีห์ ยกกองทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์ เมื่อเดือนอ้าย ปีจอ พ.ศ. 2321
กองทัพไทยยกออกจากกรุงธนบุรี ขึ้นไปตั้งประชุมพลที่เมืองนครราชสีมา รวบรวมกำลังพลได้ 20,000 คน สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกยกไปทางหนึ่ง ให้เจ้าพระยาสุรสีห์ลงไปเกณฑ์กองทัพเรือที่กรุงกัมพูชา มีกำลังพล 10,000 คน ยกไปทางแม่น้ำโขงอีกทางหนึ่ง โดยขุดคลองอ้อมลีผี มาถึงนครจำปาศักดิ์แล้วเข้าตีเมืองนครพนม และเมืองหนองคาย ส่วนกำลังทางบกก็เข้าตีหัวเมืองรายทางที่ขึ้นกรุงศรีสัตนาคนหุต ไปตามลำดับ แล้วบรรจบกำลังกันที่เมืองเวียงจันทน์
ครั้งนั้น เจ้าหลวงพระบางได้ทราบว่าไทยยกกำลังทางบกทางเรือ ขึ้นไปตีเมืองเวียงจันทน์ พิจารณาแล้วเห็นว่า ถ้านิ่งเฉยอยู่ ถ้าไทยได้เมืองเวียงจันทน์แล้ว คงจะเลยไปตีเมืองหลวงพระบางด้วย และด้วยเหตุอีกประการหนึ่งคือ เจ้าหลวงพระบางนั้นเป็นอริกับเจ้าเวียงจันทน์มาแต่ก่อน ดังนั้นจึงได้แต่งทูตมาหาสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก รับอาสาจะให้กองทัพหลวงพระบาง ลงมาตีเมืองเวียงจันทน์ด้านเหนือ และจะขอเอากรุงธนบุรีเป็นที่พึ่งต่อไป สมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึก จึงให้กองกำลังของพระยาเพชรบูรณ์กำกับทัพเมืองหลวงพระบาง เข้าตีทางด้านเหนือของเมืองเวียงจันทน์
ฝ่ายเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต ตั้งแต่ทราบว่ากองทัพไทยยกขึ้นไปก็เตรียมต่อสู้ โดยได้แต่งกองทัพ ให้มาคอยยับยั้งกองทัพไทย ตามหัวเมืองและตามด่านที่สำคัญหลายแห่ง แต่ก็พ่ายแก่ไทยแตกหนีไปตามลำดับ จนกองทัพกรุงธนบุรีขึ้นไปถึงเมืองเวียงจันทน์ แล้วเข้าล้อมเมืองไว้ ได้รบพุ่งกันอยู่ถึง 4 เดือน เห็นเหลือกำลังจะรักษาเมืองเวียงจันทน์ไว้ได้ จึงพาเจ้าอินท์เจ้าพรหมราชบุตร และคนสนิทหนีไปเมืองคำเกิด ทางต่อแดนญวน กองทัพไทยก็เข้าเมืองเวียงจันทน์ได้ จับได้เจ้าอุปราช เจ้านันทเสน และญาติวงศ์เจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต กับทั้งผู้คนพาหนะเครื่องศัตราวุธ และทรัพย์สิ่งของทั้งปวงเป็นอันมาก
ฝ่ายชนะศึกครั้งนี้ได้เมืองหลวงพระบาง เมืองเวียงจันทน์กับหัวเมืองทั้งปวง มาเป็นข้าขอบขัณฑสีมา ขยายพระราชอาณาเขตทางด้านทิศตะวันออก และด้านทิศเหนือออกไปจนจดเขตแดนญวน และเขตแดนเมืองตังเกี๋ย และเมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ยกกองทัพกลับมากรุงธนบุรี ก็ให้อัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฎิมากร แก้วมรกตกับพระบาง จากเมืองเวียงจันทน์มายังกรุงธนบุรีด้วย
ตีกรุงกัมพูชา
ในปีชวด พ.ศ. 2323 กรุงกัมพูชาเกิดเป็นจลาจล เนื่องด้วยเดิมนักองตนกับองค์นนท์ ชิงราชสมบัติกัน ต่อมาปรองดองกันได้ พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงทรงตั้งนักองนนท์ เป็นสมเด็จพระรามราชาครองกรุงกัมพชา ให้นักองตนเป็นมหาอุปโยราช และให้นักองธรรมเป็นมหาอุปราช ต่อมามหาอุปราชถูกลอบฆ่าตาย และมหาอุปโยราช ก็เป็นโรคปัจจุบัน สิ้นชีพลงอีกองค์หนึ่ง บรรดาขุนนางเขมรที่เป็นพวกของมหาอุปโยราช พากันเข้าใจว่า สมเด็จพระรามราชาเป็นผู้ฆ่าทั้งสององค์นั้น จึงคบคิดกันเป็นกบฎ จับสมเด็จพระรามราชาถ่วงน้ำเสีย กรุงกัมพูชาก็สิ้นเจ้านายที่จะปกครอง คงเหลือแต่นักองเองบุตรของนักองตนที่เป็นมหาอุปโยราชยังเล็ก อายุได้ 4 ขวบ ฟ้าทะละหะชื่อมู จึงว่าราชการกรุงกัมพูชาแทนนักองเองต่อมา ในตอนแรก็ยอมขึ้นอยู่กับไทยเหมือนก่อน ครั้งต่อมา ฟ้าทะละหะตั้งตัวเป็นเจ้ามหาอุปราช แล้วฝักฝ่ายกับญวน ประสงค์จะเป็นเจ้ากรุงกัมพูชาเสียเอง
พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงพระราชดำริว่า จะปล่อยกรุงกัมพูชาไว้ไม่ได้ จึงมีรับสั่งให้เเกณฑ์กองทัพมีกำลังพล 10,000 คน ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ถืออาญาสิทธิเป็นแม่ทัพใหญ่ เจ้าพระยาสุรสีห์เป็นแม่ทัพหน้า เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์เป็นกองหนุน พระยากำแหงสงคราม พระยานครราชสีมา เป็นเกียกกาย พระยานครสวรรค์เป็นยกกระบัตร กรมขุนรามภูเบศรเป็นกองหลัง พระยาธรรมาเป็นกองลำเลียง ยกกำลังไปตีกรุงกัมพูชา และมีรับสั่งว่า เมื่อตีกรุงกัมพูชาได้แล้ว ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก อภิเษกเจ้าฟ้ากรมขุมอินทรพิทักษ์ ให้ครองกรุงกัมพูชาต่อไป
การเดินทัพไปครั้งนี้ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก นำกำลังไปตั้งอยู่ที่เมืองเสียมราฐ ให้เจ้าพระยาสุรสีห์ยกกำลังไปทางทะเลสาบ ด้านตะวันตกไปตีเมืองบันทายเพชร อันเป็นราชธานีกรุงกัมพูชา ให้กองทัพเจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ กองทัพพระยากำแหงสงครามยกหนุนไปด้วย ให้กองทัพกรมขุนรามภูเบศร์ กองทัพพระยาธรรมายกไปทางริมทะเลสาบฟากตะวันออก ไปตั้งอยู่ที่เมืองกำปงสวาย
ฝ่ายฟ้าทะละหะ รู้ว่ากองทัพไทยยกลงไป เห็นเหลือกำลังที่จะต่อสู้ จึงทิ้งเมืองบันทายเพชร อพยพครอบครัวไปอยู่เมืองพนมเปญ แล้วไปขอกองทัพญวนที่เมืองไซ่ง่อน ญวนได้ยกทัพเรือมาที่เมืองพนมเปญ กองทัพเจ้าพระยาสุรสีห์ยกตามลงไป ทราบว่ากองทัพญวนมาตั้งอยู่ที่เมืองพนมเปญ จึงบอกมายังสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก แล้วตั้งค่ายคอยคำสั่งแม่ทัพใหญ่อยู่ ยังไม่ได้รบกับญวน ส่วนเจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ ก็ยกกำลังไปตั้งอยู่ที่เมืองบันทายเพชร
การสงครามด้านเขมรได้หยุดอยู่เพียงนี้ ด้วยทางกรุงธนบุรีเกิดเป็นจลาจล สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ต้องเลิกทัพกลับมาปราบยุคเข็ญ
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้อิสรภาพของไทยจากข้าศึกที่มาย่ำยีไทยอย่างยับเยินที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย ได้ระยะเวลาอันรวดเร็ว นับเป็นพระอัจฉริยภาพอันสูงส่ง ทรงรวบรวมไทยให้กลับเป็นปึกแผ่นอันหนึ่งอันเดียวกัน ขยายขอบขัณฑสีมาออกไปทั่วทุกทิศเป็นที่คร้ามเกรงของบรรดาประเทศต่าง ๆ ที่มีอาณาเขตติดต่อกับไทย เป็นรากฐานให้ไทยดำรงความยิ่งใหญ่ในแหลมทอง ตราบเท่าทุกวันนี้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)